โปรตีนจากพืช ดียังไง (Plant pased protein) ประโยชน์ของโปรตีนจากพืช

โปรตีนจากพืช, Plant pased protein

โปรตีนจากพืช ดียังไง (Plant pased protein) ประโยชน์ของโปรตีนจากพืช

          โปรตีนจากพืช ดียังไง ในปัจจุบันโปรตีนจากพืช (Plant-pased protein) ที่ผลิตจากพืชตระกูลถั่วเช่น ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา กำลังได้รับความนิยมในการบริโภคเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภคของผู้คนเริ่มปรับเปลี่ยนไป โดยลดสัดส่วนการบริโภคเนื้อสัตว์ หันมาบริโภคโปรตีนจากพืชทดแทน เนื่องจากโปรตีนจากพืชให้โปรตีนสูง ไม่มีไขมัน โคเลสเตอรอล และดีต่อสุขภาพมากกว่า เมื่อเทียบเท่ากับโปรตีนจากเนื้อสัตว์ อีกทั้งเป็นทางเลือกในการเสริมโปรตีนให้กับร่างกายที่สะดวก รวดเร็ว และให้ปริมาณโปรตีนที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน

ความสำคัญของโปรตีนต่อร่างกาย

โปรตีน คือสารอาหารที่ร่างกายขาดไม่ได้ เป็นองค์ประกอบที่สำคัฐในทุกๆ เซลล์ โดยมีความสำคัญดังนี้

1. ช่วยในการเจริญเติบโต เนื่องจากโปรตีนเป็นส่วนประกอบของเซลล์และเนื้อเยื่อในส่วนต่างๆ ของร่างกาย
2. ช่วยในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ จากการได้รับบาดเจ็บ การเจ็บป่วย และภาวะเสื่อมหรือชราภาพ
3. คงประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกัน และระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกาย เนื่องจากโปรตีนเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ ฮอร์โมน และเซลล์ภูมิคุ้มกันต่างๆ

โปรตีนสำคัญต่อใครบ้าง

1. วัยเด็ก เพื่อการเจริญเติบโต ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ และระบบฮอร์โมนต่างๆ
2. วัยผู้ใหญ่ ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ดูแลผิวพรรณ เพิ่มการสร้างคอลลาเจน และกลูต้าไธโอน
3. กลุ่มคนออกกำลังกาย ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และเพิ่มกระบวนการเผาผลาญไขมันในร่างกาย
4. หญิงตั้งครรภ์ เพื่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
5. ผู้สูงอายุ และผู้ที่เจ็บป่วย ซึ่งจะมีการเสื่อมสลายของกล้ามเนื้อ และเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย การได้รับโปรตีนจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวจากอากากรเหนื่อยล้า เจ็บป่วย และช่วยให้ระบบในร่างกายของทุกส่วนทำงานเป็นปกติ (อ้างอิงที่ 1-3)

          หากร่างกายได้รับปริมาณโปรตีนไม่เพียงพอ อาจจะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย เมื่อยล้าได้ง่าย ดังนั้น ในวัยต่างๆ ร่างกายจะต้องได้รับโปรตีนในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ เพื่อสามารถนำโปรตีนไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่

          ทั้งนี้ คณะกรรมการและคณะทำงานปรับปรุงข้อกำหนดสารอาหาร สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้แนะนำ ปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย ประจำปี พ.ศ. 2563 ดังข้อมูลแสดงในตารางต่อไปนี้ (อ้างอิงที่ 4-5 )

ปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับต่อวัน

โปรตีนจากถั่วเหลือง (Isolated Soy Protein)

 

ถั่วเหลือง

          ถั่วเหลือง ถือเป็นธัญพืชมหัศจรรย์จากธรรมชาติที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง มีปริมาณโปรตีนบริสุทธิ์สูงสุดถึง 90% โดยมีค่า PDCAAS = 1 (PDCAAS ย่อมากจาก Protein Digestibility Corrected Amino Acid Score) ซึ่งเป็นค่าความสามารถในการย่อยโปรตีนให้ได้กรดอะมิโนเพื่อนำไปใช้ในร่างกาย ดังนั้นหากมีค่า PDCASS เท่ากับ 1 ซึ่งเป็นค่าสูงสุดเท่ากับ 100% จึงเป็นการการันตีได้ว่า โปรตีนจากถั่วเหลืองสามารถย่อยได้ดี และให้กรดอะมิโนสูงสุดเทียบเท่ากับไข่ขาว นมวัว และเวย์โปรตีน แสดงดังตาราง (อ้างอิงที่ 6)

ความสามารถในการย่อยโปรตีนให้ได้กรดอะมิโน, PDCAAS

 

โปรตีนถั่วลันเตาสีทอง (Isolated Gold Pea Protein)

ถั่วลันเตาสีทอง

 

          ถั่วลันเตาสีทอง (Pisum sativum L.) มีถิ่นกำเนิดในแถบทวีปยุโรป เป็นแหล่งโปรตีนจากพืชที่ให้ปริมาณโปรตีนบริสุทธิ์สูงสุดถึง 84% รองจากถั่วเหลือง ในปัจจุบันโปรตีนจากถั่วลันเตากำลังเป็นที่นิยมบริโภคในแถบทวีบยุโรป เนื่องจากไม่พบการรายงานว่ามีผู้แพ้และเกิดอันตรายต่อร่างกาย ถั่วลันเตามีหลากหลายสายพันธุ์ มีความแตกต่างกันที่สีของเยื่อหุ้มเมล็ด ซึ่งส่งผลต่อปริมาณสารพฤษเคมีที่พบ โดยถั่วลันเตาสีทองจะมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิก รวมถึงความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระที่มากกว่าถั่วลันเตาสีเขียว ดังแสดงในตาราง (อ้างอิงที่ 7,8)

 

โปรตีนจากพืช ดียังไง

คุณประโยชน์ของโปรตีนที่ได้จากพืช

1. เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดีจากพืช จึงนิยมนำมารับประทานเพื่อชดเชยโปรตีนจากเนื้อสัตว์
2. เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับกลุ่มคนที่มีอาการแพ้แลคโตส ผู้รับประทานเจและมังสวิรัส (อ้างอิงที่ 9,10)
3. โปรตีนและเส้นใยอาหารจากพืชช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลดีในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
4. โปรตีนจากถั่วลันเตามีคุณสมบัติต้านเชื้อรา และเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย (อ้างอิงที่ 11,12)
5. โปรตีนจากพืชสามารถลด LDL โคเลสเตอรอล และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
          โดยองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้ยอมรับให้กล่าวถึงประโยชน์ของโปรตีนจากถั่วเหลืองว่า สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้ โดยมีงานวิจัยศึกษาพบว่า การบริโภคถั่วเหลืองอย่างน้อยวันละ 25 กรัมต่อวัน มีส่วนช่วยลด LDL โคเลสเตอรอล เมื่อเปรียบเทียบกับการบริโภคโปรตีนจากเนื้อสัตว์ (อ้างอิงที่ 13, 14)

6. โปรตีนที่ได้จากพืชที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเสื่อมและการอักเสบของร่างกาย
          โดยสารต้านอนุมูลอิสระที่พบมากในถั่วเหลืองคือ ไอโซฟลาโวน (Isoflavone) ซึ่งมีโครงสร้างและการออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิง ในปัจจุบันจึงมีการใช้โปรตีนจากถั่วเหลืองแทนฮอร์โมนในสตรีหลังหมดประจำเดือน เพราะมีส่วนช่วยลดอาการร้อนวูบวาบและโรคกระดูกพรุนได้ อีกทั้งยังมีการวิจัยอื่นๆ ที่กล่าวอ้างคุณประโยชน์ของไอโซฟลาโวนต่อสุขภาพดังนี้

  • มีส่วนช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวจากการออกกำลังกาย และช่วยลดอาการปวดอักเสบของกล้ามเนื้อ (อ้างอิงที่ 15)
  • ช่วยให้กระดูกแข็งแรง และเพิ่มมวลและความหนาแน่นของกระดูก โดยมีงานวิจัยพบว่า การบริโภคไอโซฟลาโวนมากกว่า 2.25 มก./40 กรัม โปรตีนจากถั่วเหลืองจะช่วยเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน (อ้างอิงที่ 16,17)
  • ช่วยเพิ่มการทำงานของระบบประสาทและความจำ
  • มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมากได้ (อ้างอิงที่ 18, 19, 20)

          ดังนั้น การได้รับโปรตีนคุณภาพดีจากพืช เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการเสริมสร้างโปรตีนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เนื่องจากโปรตีนที่ได้จากพืชให้กรดอะมิโนครบถ้วน พลังงานต่ำ น้ำตาลน้อย ไม่มีไขมันและโคเลสเตอรอล อีกทั้งยังเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของผู้ที่รับประทานเจ มังวิรัติ รวมทั้งกลุ่มผู้รักสุขภาพ กลุ่มผู้ที่ต้องการลดการบริโภคเนื้อสัตว์ ผู้ป่วย ผู้สูงอายุ และสามารถบริโภคได้ทุกเพศทุกวัย

 

สนใจโปรตีนจากพืช คลิ๊ก!

วีแกนกิฟฟารีน

 

สามารถนำรหัสสมาชิก 48004219 ไปซื้อได้ที่ศูนย์ธุรกิจกิฟฟารีนทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Fanpage : WeLoveGiffarine
Email : mai-mee-jai@hotmail.com
โทร. 090-0491594
Line : @welove.giffarine

รับสมัครตัวแทนทั่วประเทศ