สาระน่ารู้เกี่ยวกับเลซิติน มิกซ์แคโรทีนอยด์และวิตามิน อี

ถั่วเหลือง,สาระน่ารู้เกี่ยวกับเลซิติน

สาระน่ารู้เกี่ยวกับเลซิติน มิกซ์แคโรทีนอยด์และวิตามิน อี

          สาระน่ารู้เกี่ยวกับเลซิติน มิกซ์แคโรทีนอยด์และวิตามิน อี ตับเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่สำคัญหลายประการ เมื่อใดก็ตามที่ตับทำงานไม่เป็นปกติ เช่น ไขมันพอกตับ ตับอักเสบ ตับแข็ง จะเกิดอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ภูมิต้านทานต่ำ ขาดโปรตีน บวม เลือดออกง่าย แผลหายช้า น้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำกว่าปกติ ไขมันในเลือดสูง ท้องมาน อาการทางสมอง ไตวาย หัวใจวาย และส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของร่างกายในทุกระบบ

          ปัจจุบัน มีผู้ป่วยที่ต้องเผชิญกับปัญหาโรคเกี่ยวกับตับเป็นจำนวนมาก โดยมีงานวิจัยรายงานว่า 30% ของคนทั่วไป มีภาวะไขมันพอกตับ(ศึกษาโดยการตรวจเนื้อเยื่อ) โดยกว่า 70% ของคนอ้วน จะมีภาวะไขมันพอกตับ และมีความเสี่ยงต่อภาวะตับอักเสบและตับแข็ง และ95% ของคนอ้วนที่ดื่มสุรา จะมีภาวะไขมันพอกตับ และมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเป็นตับอักเสบและตับแข็งได้

          นอกจากนี้ ยังพบว่า โรคเรื้อรังต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคมะเร็ง ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โคเลสเตอรอลสูง ไตรกลีเซอไรด์สูง จะมีส่วนเชื่อมโยงให้เกิดโรคเกี่ยวกับตับโดยเฉพาะไขมันพอกตับได้ มีรายงานว่า 80% ของผู้ป่วยเบาหวาน มีภาวะไขมันพอกตับ และมีโอกาสเสียชีวิตจากโรคตับแข็งสูงกว่าการเสียชีวิตจากโรคหัวใจด้วยสัดส่วน 2.7 : 1.8 เลยทีเดียว

สารฟอสฟาทิดิลโคลีน ในเลซิติน มีบทบาทในการบำรุงตับ ดังนี้

  • ช่วยในการกำจัดไขมันออกจากเซลล์ตับ 
  • ยับยั้งการสะสมไขมันในเซลล์ตับ

เลซิตินที่มีฟอสฟาทิดิลโคลีนสูง จะช่วยแก้ปัญหาไขมันพอกตับได้เป็นอย่างดี

เลซิติน คืออะไร, สาระน่ารู้เกี่ยวกับเลซิติน มิกซ์แคโรทีนอยด์และวิตามิน อี 

สาระน่ารู้เกี่ยวกับเลซิติน มิกซ์แคโรทีนอยด์และวิตามิน อี 

ทำความรู้จักกับเลซิติน

          เลซิติน (Lecithin)เป็นไขมันในกลุ่มฟอสโฟไลปิด (Phospholipid)ซึ่งอุดมด้วยสารฟอสฟาทิดิล โคลีน (Phosphatidyl Choline)ที่มีคุณสมบัติเข้ากันได้กับทั้งน้ำและน้ำมัน ถือเป็นตัวทำละลายที่ดี ช่วยในการทำละลายโคเลสเตอรอลในเลือดให้แตกตัวเป็นอนุภาคขนาดเล็กๆ จึงลดการสะสมของไขมันที่ตับและลดการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือด

แหล่งของเลซิตินที่พบได้ตามธรรมชาติมีอยู่ 2 แหล่งที่สำคัญ คือ

1. ร่างกายของมนุษย์สามารถผลิตเลซิตินได้เองที่ “ตับ” แต่หากร่างกายขาดสารตั้งต้นสำหรับใช้ผลิตเลซิติน เช่น กรดไขมันจำเป็น วิตามินบี และสารอาหารสำคัญอื่นๆ ก็จะส่งผลให้ร่างกายสร้างเลซิตินได้ไม่เพียงพอ

2. แหล่งธรรมชาติพบได้ทั้งในพืชและสัตว์ โดยจะพบมากในไข่แดง ถั่วเหลือง เมล็ดทานตะวัน ถั่วลิสง จมูกข้าว เป็นต้น แต่การบริโภคอาหารเหล่านี้ในปริมาณมากมักจะให้โคเลสเตอรอลสูงตามมาด้วย

ปัจจุบันจึงมีการสกัดเลซิตินเข้มข้นจากไข่แดงและถั่วเหลือง ซึ่งเลซิตินที่สกัดจากถั่วเหลืองจะให้ประสิทธิภาพในการป้องกันสุขภาพได้ดีกว่าแหล่งอื่นๆ เพราะมีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวมากที่สุดและปราศจากโคเลสเตอรอลนั่นเอง

ตับ

คุณสมบัติของเลซิติน

  • ดูแลตับปกป้องตับจากการเกิดภาวะไขมันพอกตับ บำรุงตับ ป้องกันตับอักเสบ ป้องกันตับแข็ง
  • ลดภาวะไขมันพอกตับมีการศึกษากับผู้ป่วยที่ต้องได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำโดยตรงเป็นเวลานาน  (Longterm parenteral nutrition) จำนวน 15 คน ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้มักพบปัญหาระดับโคลีนในเลือดต่ำ และพบว่าประมาณ 50% ของผู้ป่วยมีภาวะตับอักเสบ จึงทดลองให้เลซิตินในผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มที่ได้รับเลซิตินมีระดับโคลีนในเลือดเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% และมีการสะสมของไขมันที่ตับลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับก่อนการทดลอง ดังตารางนี้
กลุ่มที่ได้รับเลซิติน กลุ่มที่ไม่ได้รับเลซิติน
ระดับโคลีนในเลือด เพิ่มขึ้นมากกว่า 50% ลดลงประมาณ 25%
การสะสมไขมันที่ตับ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ไม่เปลี่ยนแปลง

          เนื่องจากเลซิตินจะลดการเกิดออกซิเดชั่นของไขมันภายในตับ ทำให้ไขมันไม่เกิดการรวมตัว จึงไม่ไปพอกที่เซลล์ตับ อีกทั้งเร่งการเผาผลาญไขมันที่ตับ จึงทำให้ไม่เกิดการสะสม และลดการดูดซึมโคเลสเตอรอลที่เป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดภาวะไขมันพอกตับนั่นเอง                            

  • ป้องกันโรคตับจากแอลกอฮอล์มีการศึกษาในลิงบาบูนพบว่า เลซิตินสามารถป้องกันการเกิดโรคตับแข็งเนื่องจากการรับประทานเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ โดยเลซิตินจะไปกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์คอลลาจีเนสในตับ จึงลดการสร้างพังผืดในตับ ลดการสะสมของไขมันในตับ ซึ่งเป็นสาเหตุของการพัฒนาไปสู่โรคตับแข็ง ป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นของไขมันบริเวณตับจึงไม่เกิดอนุมูลอิสระไปทำลายเซลล์และป้องกันภาวะจากการอักเสบของตับ

กราฟด้านซ้าย แสดงการเกิดภาวะโรคตับของลิงบาบูน ที่ได้รับเหล้าร่วมกับอาหารปกติ

กราฟด้านขวา แสดงการเกิดภาวะโรคตับของลิงบาบูน ที่ได้รับเหล้าร่วมกับฟอสฟาทิดิลโคลีน

        จากข้อมูลดังกล่าวพบว่า ลิงบาบูนที่ได้รับเหล้าจะพัฒนาไปเป็นตับแข็งเกือบทุกตัวภายใน 6 ปี แต่หากได้รับเหล้า ร่วมกับฟอสฟาทิดิลโคลีน จะไม่เป็นตับแข็งแม้แต่ตัวเดียว

  • ป้องกันตับจากสารพิษต่างๆ

               – ป้องกันตับจากพิษของยาบางประเภท ได้แก่ แอสไพริน ไอบูโพรเฟน ยาแก้อักเสบเตตร้าไซคลิน

               – ป้องกันตับจากสารเคมีหรือพิษของยากำจัดศัตรูพืชต่างๆ

               – ป้องกันตับจากพิษของเห็ดบางชนิด  

              – ป้องกันตับจากรังสี

  • บำรุงสมองช่วยพัฒนาการเรียนรู้ เสริมสร้างความจำ และลดอาการอัลไซเมอร์ในระยะเริ่มต้น

          ปัจจุบันการรักษาทางการแพทย์ได้ใช้เลซิตินในการบำบัดโรคทางสมองต่าง ๆ เช่น โรคพาร์คินสัน (Parkinson’s Disease) โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease) ซึ่งเป็นโรคทางสมองที่เกิดจากเซลล์ประสาทขาดสารอะซิทิลโคลีน (Acetylcholine) หรือคนชราที่ป่วยเป็นโรคความจำเสื่อม โดยพบว่าผู้สูงอายุที่มีภาวะความจำเสื่อมบางรายจะมีอาการดีขึ้นเมื่อได้รับประทานเลซิตินวันละ 25 กรัมติดต่อกันเป็นเวลาหลายเดือน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ระยะเริ่มแรกพบว่า เมื่อได้รับโคลีนเป็นระยะเวลา 6 เดือน จะช่วยให้ความจำดีขึ้นได้ หรือการให้โคลีนร่วมกับยาที่ใช้รักษา (Cholinesterase Inhibitors) ทำให้มีการพัฒนาความสามารถที่ต้องใช้ความจำเพิ่มขึ้นได้

  • ลดการดูดซึมโคเลสเตอรอล ดูแลหลอดเลือดและหัวใจละลายไขมัน ป้องกันการตกตะกอนของไขมันในผนังหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดแข็งและตีบตัน ป้องกันการเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต โดยมีการศึกษาทั้งในสัตว์ทดลองและผู้มีภาวะระดับโคเลสเตอรอลสูงพบว่า เลซิตินจะลดการดูดซึมโคเลสเตอรอล สามารถลดระดับไขมันชนิดไม่ดี (LDL) และไตรกลีเซอไรด์ได้อีกทั้งช่วยเพิ่มระดับไขมันชนิดดี (HDL)ได้อีกด้วย จากคุณสมบัติดังกล่าว จึงทำให้ลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ป้องกันภาวะหัวใจขาดเลือด อันนำไปสู่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือหัวใจวายเฉียบพลัน

          กราฟแสดงระดับโคเลสเตอรอลของผู้ป่วยที่มีระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูง เปรียบเทียบระหว่าง ก่อนรับประทานเลซิตินรับประทาน 1 เดือน และรับประทาน 2 เดือน 

จากข้อมูลดังกล่าว สรุปได้ว่า เลซิตินสามารถลดระดับไขมันชนิดเลว (LDL) ได้ถึง 56.11% ภายใน 2 เดือน

  • ลดความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี เลซิตินจะเพิ่มความสามารถในการทำละลายของน้ำดี ทำให้สารแขวนลอยใน

น้ำดีไม่จับตัวเป็นก้อนจนกลายเป็นนิ่ว เพิ่มการหลั่งและการไหลเวียนของน้ำดี และลดค่าดัชนีไขมันอิ่มตัว (Cholesterol saturation index)

  • ช่วยลดน้ำหนักลดไขมันสะสม โดยช่วยละลายไขมัน จึงเผาผลาญไขมันได้ดี

          อย่างไรก็ตาม การได้รับเลซิตินเพียงอย่างเดียว อาจแก้ปัญหาทางสุขภาพได้ไม่เพียงพอ เนื่องจากถึงแม้ว่า เลซิตินจะช่วยลดการสะสมไขมันที่ตับและผนังหลอดเลือดได้ แต่ยังคงหลงเหลือไขมันบางส่วนที่ยังสะสมอยู่ในเซลล์ดังกล่าว และยังมีไขมันบางส่วนในกระแสเลือดที่มีโอกาสเกิดการสะสมพอกพูนได้เพิ่มเติม ดังนั้น ร่างกายจึงต้องการสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูงเพิ่มเติม เพื่อปกป้องไขมันเหล่านี้ไม่ให้เกิดการออกซิเดชั่น และลดการอักเสบของเซลล์ จึงลดโอกาสการเกิดไขมันพอกตับและผนังหลอดเลือดได้อีกทางนั่นเอง

แคโรทีนอยด์

เสริมประสิทธิภาพการทำงานของเลซิตินได้อย่างเต็มที่ ด้วยแคโรทีนอยด์จากธรรมชาติ 4 ชนิด และวิตามิน อี

          กล่าวกันว่า เลซิตินเพียงอย่างเดียว แก้ปัญหาสุขภาพสมอง หัวใจ หลอดเลือด มะเร็ง และผิวพรรณ ได้เพียง 30% แต่หากได้รับเลซิตินชนิดฟอสฟาทิดิลโคลีนสูง เสริมด้วยแคโรทีนอยด์จากธรรมชาติ 4 ชนิดและวิตามิน อี จะแก้ปัญหาดังกล่าวได้ถึง 100%

แคโรทีนอยด์จากธรรมชาติ 4 ชนิด(อัลฟาแคโรทีน เบต้าแคโรทีน  แกมม่าแคโรทีน และไลโคปีน)

สารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูง ช่วยชะลอความแก่และความเสื่อมของเซลส์ ส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวม

– ดูแลปกป้องตับ โดยยับยั้งการเข้าจู่โจมของอนุมูลอิสระต่อเซลล์ตับจึงลดการสะสมของไขมันในตับ ป้องกันตับอักเสบ ป้องกันการเกิดมะเร็งตับจากพิษAflatoxin B1 (พิษจากเชื้อรา) และปกป้องตับจากเหล้า รวมทั้งภาวะน้ำตาลในเลือดสูงในคนไข้เบาหวาน

– ลดการทำลายผนังหลอดเลือดจากอนุมูลอิสระ ป้องกันหลอดเลือดอักเสบและลดการออกซิเดชั่นของไขมันในหลอดเลือด จึงลดการเกิดไขมันสะสมที่ผนังหลอดเลือด ป้องกันภาวะหลอดเลือดแข็งตัว ลดโอกาสการเกิดหลอดเลือดตีบตันของทุกอวัยวะ

– ปกป้องสารพันธุกรรมจากการจู่โจมของอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งทุกชนิด

– ปกป้องเซลล์ผิว ช่วยให้ผิวพรรณสดใส อ่อนวัย

วิตามินอี

วิตามินอี มีชื่อเรียกว่าTocopherol ซึ่งเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญในร่างกาย แต่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ต้องได้รับจากอาหาร

  • ช่วยต้านไม่ให้หลอดเลือดแข็งตัว  ขยายหลอดเลือดฝอย
  • ป้องกันการเกาะตัวของเกร็ดเลือดที่ผนังหลอดเลือด
  • ลดโคเลสเตอรอล
  • มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ

ซึ่งการใช้แคโรทีนอยด์และวิตามินอีร่วมกัน จะส่งเสริมประสิทธิภาพการต้านออกซิเดชั่นได้ดียิ่งขึ้น โดยมีงานวิจัยรายงานว่า การเสริมแคโรทีนอยด์รวม ร่ามกับวิตามิน อี จะเสริมฤทธิ์กันในการปกป้องเซลล์ตับจากอนุมูลอิสระ และสามารถลดการเกิดมะเร็งตับในคนไข้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบได้ถึง50%

เลซิติน ชนิดฟอสฟาทิดิลโคลีนสูงเสริมด้วยแคโรทีนอยด์รวมจากธรรมชาติ 4 ชนิด และวิตามิน อี จึงเหมาะกับบุคคลดังต่อไปนี้

>       ผู้ที่มีอาการเกี่ยวกับการทำงานของตับไม่ปกติ เช่น การย่อยอาหารไม่ดี แน่นท้อง จุกเสียดเป็นประจำ อ่อนเพลียง่าย

>       ผู้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบ บี และซี

>       ผู้ที่ดื่มเหล้าเป็นประจำ

>       ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือมีประวัติคนในครอบครัวที่มีความเสี่ยงต่อการเป็น

  • โรคเกี่ยวกับตับ ไขมันพอกตับ
  • เบาหวาน
  • อ้วน
  • โรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต
  • มะเร็ง
  • ความดันโลหิตสูง
  • ไขมันในเลือดสูง โคเลสเตอรอลสูง ไตรกลีเซอไรด์สูง

>       ผู้ที่ต้องการการบำรุงตับ

>       ผู้ที่ต้องการการบำรุงสมอง ป้องกันอัลไซเมอร์

>       ผู้ที่ต้องการการบำรุงและปกป้องระบบหลอดเลือดและหัวใจ

>       ผู้ที่ต้องการการบำรุงผิวพรรณ

>       ผู้สูงอายุ(50 ปีขึ้นไป)

กิฟฟารีน เลซิติน

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เลซิติน ผสมแคโรทีนอยด์ และวิตามินอี

รายละเอียด คลิ๊ก

สามารถนำรหัสสมาชิก 48004219 ไปซื้อได้ที่ศูนย์ธุรกิจกิฟฟารีนทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Fanpage : WeLoveGiffarine
Email : mai-mee-jai@hotmail.com
โทร. 090-0491594
Line : @welove.giffarine

> สมัครสมาชิก คลิ๊ก! <

เอกสารอ้างอิง

  • Carcinogenesis,1998  Mar; 19(3): 403-411
  • Cholesterol. Vol. 2010, Article ID 824813, 4 pages
  • Current Therapeutic Research, 2004 May-June; 65(3): 266-277
  • E Encyclopedia of Natural Medicine. Revised 2nd ed. 1998, USA: Prima Publishing. pp 299, 283, 481.
  • Gastroenterology 1992; 102(4Pt1) :1363-1370, PMID : 1551541
  • Gastroenterology 1994; 106:152-159
  • Gastroenterology and Hepatology, 2007; 22: 794-800
  • Hepatology, 2003; 37(5): 1202-1219
  • International Symposium on Human Health: Favhealth 2007
  • National Cancer Center Kyoto Perfetural University of Medicine, Kyoto, Japan
  • The Am. J. of Clinical Nutrition 43: January 1986: 101
  • The natural pharmacy. 1998, USA: Prima Publishing. pp 176-177.
  • Toxical and Health, 2009 May-June; 25(4-5): 311-320
  • Sources of choline and lecithin in the Diet Choline and Lecithin in Brain Disorders Raven Press, New York 1979