สมุนไพรช่วยกรดไหลย้อน สมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน และโรคกระเพาะอาหาร

สมุนไพรช่วยกรดไหลย้อน สมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน และโรคกระเพาะอาหาร

โรคกรดไหลย้อน หมายถึง ภาวะที่มีน้ำย่อยในกระเพาะอาหารซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร

          สมุนไพรช่วยกรดไหลย้อน สาเหตุหลักของโรคนี้เกี่ยวข้องกับความผิดปกติในการทำหน้าที่ของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง เช่น มีการคลายตัวของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างโดยที่ไม่มีการกลืน หรือความดันของหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างลดลง ทำให้ไม่สามารถต้านแรงดันในช่องท้องและการบีบตัวของกระเพาะอาหารได้ กรดจึงไหลย้อนขึ้นมา โดยความผิดปกตินี้เกิดจากการเสื่อมของหูรูดตามอายุ หรือเกิดจากหูรูดยังเจริญไม่เต็มที่ในเด็กทารก หรืออาจมีความผิดปกติที่เป็นมาแต่กำเนิด นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ อาทิ พฤติกรรมการบริโภค และการปฏิบัติตน ได้แก่ การรับประทานอาหารรสจัดหรือรสเผ็ด อาหารประเภทไขมันสูง อาหารทอด ชา กาแฟ น้ำอัดลม การดื่มสุรา สูบบุหรี่ การนอนหรือเอนกายทันทีหลังรับประทานอาหาร ความเครียด ตลอดจนการสวมเสื้อผ้าคับและรัดเข็มขัดแน่น เป็นต้น นอกจากนี้ การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขยายหลอดลม ยาลดความดัน (กลุ่มปิดกั้นเบตาและกลุ่มต้านแคลเซียม ยาต้านคอลิเนอร์จิก) ตลอดจนฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน จะมีผลกระตุ้นการคลายตัวของหูรูดหรือมีการหลั่งกรดมากขึ้น

          อาการของโรคกรดไหลย้อน มีอาการแสบอกหรือจุกเสียดบริเวณใต้ลิ้นปี่ คล้ายอาหารไม่ย่อย เรอบ่อย และอาจมีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วย แม้ว่าโรคกรดไหลย้อนไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่เป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยมีความทุกข์ทรมาน รวมทั้งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องจนมีอาการมากและเรื้อรังอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้แก่ หลอดอาหารอักเสบ ซึ่งจะมีอาการเจ็บหน้าอกขณะกลืนอาหาร เป็นแผลที่หลอดอาหาร อาจมีเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนบน ซึ่งจะมีอาการอาเจียนเป็นเลือด หรือมีอุจจาระเป็นสีดำ หลอดอาหารตีบตัน ซึ่งจะมีอาการกลืนอาหารลำบากและอาเจียนบ่อย หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงเซลล์ของเยื่อบุหลอดอาหาร ถ้าเป็นรุนแรงอาจเกิดมะเร็งหลอดอาหาร ซึ่งจะมีอาการเจ็บขณะกลืนอาหาร กลืนลำบาก อาเจียนบ่อย และน้ำหนักลด เป็นต้น

โรคกระเพาะ

โรคกระเพาะ เกิดจากมีการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป

          ร่วมกับความต้านทานต่อกรดของเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ลดลง จึงทำให้มีแผลเกิดขึ้น โดยมีปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรค ได้แก่

          1. การติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobactor Pylori) ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ได้รับจากอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อน เมื่อเชื้อนี้เข้าสู่ร่างกายจะเข้าไปฝังตัวอยู่ใต้เยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้ผนังกระเพาะอาหารอ่อนแอลง และมีความทนต่อกรดลดลง จึงเกิดแผลได้ง่าย แผลหายช้า และเกิดแผลซ้ำได้อีก
          2. การรับประทานสิ่งที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะและลำไส้ เช่น ดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม และการรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวดจำพวกแอสไพริน ยารักษาโรคกระดูกและข้ออักเสบ ยาชุดหรือยาลูกกลอนที่มีสเตียรอยด์ เป็นต้น
          3. มีอุปนิสัยการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง เช่น การรับประทานอาหารอย่างเร่งรีบ รับประทานไม่เป็นเวลาหรืออดอาหารบางมื้อ เป็นต้น
          4. อื่นๆ เช่น การสูบบุหรี่ ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล คิดมาก นอนไม่หลับ เครียด อารมณ์หงุดหงิด พักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นต้น

          อาการของโรคกระเพาะ มักมีอาการปวดแสบ ปวดตื้อ จุกเสียดหรือจุกแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ เป็นได้ทั้งเวลาก่อนรับประทานอาหารหรือหลังรับประทานอาหารใหม่ๆ และเวลาท้องว่าง เช่น เวลาหิวข้าว ตอนเช้ามืดหรือตอนดึกๆ อาการปวดจะเป็นๆ หายๆ เป็นได้วันละหลายๆ ครั้ง หรือตามมื้ออาหาร และแต่ละครั้งที่ปวดจะนานประมาณ 15 – 30 นาที อาการปวดจะบรรเทาลงได้ถ้ารับประทานอาหาร ดื่มนมหรือรับประทานยาลดกรด โรคกระเพาะถ้าได้รับการรักษาและดูแลตนเองให้ถูกต้อง ส่วนใหญ่เป็นแล้วจะหายได้ แต่ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องจนมีอาการมากและเรื้อรัง อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ เช่น เลือดออกในกระเพาะอาหาร โดยสังเกตได้จากมีถ่ายอุจจาระสีดำหรืออาเจียนเป็นเลือด หรืออาเจียนมีลักษณะคล้ายผงกาแฟบดปนอยู่ กระเพาะลำไส้เป็นแผลทะลุ โดยสังเกตได้จากมีอาการปวดท้องรุนแรงทันทีทันใด หน้าท้องแข็ง กดเจ็บ กระเพาะลำไส้ตีบตัน โดยสังเกตได้จากมีอาการปวดท้อง รับประทานอาหารได้น้อย อิ่มเร็ว และอาเจียนเป็นอาหารที่ไม่ย่อยหลังรับประทานอาหาร

 

สมุนไพรช่วยกรดไหลย้อน สมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อโรคกรดไหลย้อนและโรคกระเพาะอาหาร

           ว่านหางจระเข้ : ช่วยสมานแผล ลดการอักเสบ กระตุ้นการสร้างเมือก ลดกรด ลดการทำงานของน้ำย่อย ต้านเชื้อ H. Pyroli จึงลดการเกิดแผลในขณะท้องว่าง อีกทั้งยังช่วยยับยั้งการหลั่งกรด รวมถึงตัววุ้นมีสาร Manuronic และ Glucuronic acid จึงช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ (อ้างอิงที่ 3, 4) นอกจากนี้ยังพบว่า Aloe Emodin ซึ่งเป็นสาร Anthraquinone ในยางของว่านหางจระเข้ สามารถยับยั้งการเจริญของ Helicobacter pylori ซึ่งเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย (อ้างอิง 3, 10)

ขมิ้นชัน, สมุนไพรช่วยกรดไหลย้อน

ขมิ้นชันและสารสกัดจากขมิ้น :

– มีฤทธิ์รักษาและสมานแผลในกระเพาะอาหาร โดยเร่งการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อบริเวณที่เป็นแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้น (อ้างอิง 15)
– มีฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร โดยการกระตุ้นการหลั่งเมือกเคลือบกระเพาะอาหาร (Mucin) และยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารลดกรดและลดการทำงานของน้ำย่อย (อ้างอิงที่ 16-18)
– มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ จึงช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคที่เกิดจากการอักเสบต่างๆ เช่น มะเร็งและแผลในกระเพาะอาหาร (อ้างอิงที่ 14)
– ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ Helicobactor Pyroli ซึ่งเป็นสาเหตุของแผลในกระเพาะอาหาร และนำไปสู่การเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ (อ้างอิงที่ 11, 19, 20)

          มีการทดลองทางคลินิคใช้ขมิ้นชันรักษาผู้ป่วยมีอาการปวดท้องด้วยโรคแผลในกระเพาะอาหาร จำนวน 15 ราย โดยเปรียบเทียบกับการใช้ยาไตรซิลิเกต เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าผู้ป่วยที่รับประทานขมิ้นชันมีอาการปวดท้องดีขึ้นพอๆ กับผู้ป่วยที่รับประทานยาไตรซิลิเกต
มีการทดลองในผู้ป่วย 25 ราย ที่เป็นแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ให้รับประทานขมิ้นชันแคปซูล 300 มิลลิกรัม 5 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ เมื่อส่องกล้องดูแผล พบว่าอาการปวดท้องและไม่สบายท้องหายไป เมื่อให้ขมิ้นแคปซูลใน 1-2 สัปดาห์แรก และสามารถรับประทานอาหารได้ปกติแทนอาหารอ่อนได้ใน 4 สัปดาห์ และเมื่อวัดระดับสารต่างๆ ในเลือดของผู้ป่วยทุกราย ไม่พบการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ (อ้างอิงที่ 13)
มีการศึกษาในผู้ป่วยโรคแผลในกระเพาะอาหาร จำนวน 55 ราย (มี 35 ราย พบเชื้อ H .pylori) ให้ได้รับขมิ้นชันบรรจุแคปซูล 250 มิลลิกรัม ครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง เมื่อผ่านไป 4 สัปดาห์ พบว่าแผลที่กระเพาะอาหารหายไป 35 คนและเมื่อผ่านไป 8 สัปดาห์ เหลือผู้ป่วยที่มีแผลในกระเพาะอาหารเพียง 7 คน (อ้างอิงที่ 21)

สารสกัดจากมะขามป้อม :
          สารสกัดจากผลมะขามป้อม มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี และมีรายงานว่ามีฤทธิ์ในการป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร อีกทั้งยังป้องกันการเกิดแผลเรื้อรังโดยการลดการอักเสบ ลดปริมาณกรด ลดการทำงานของน้ำย่อยเปปซิน ช่วยกระตุ้นการสร้างเมือก และช่วยต้านเชื้อ Helicobacter pylori ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร (อ้างอิงที่ 22-25)

สารสกัดจากใบบัวบก :
          สมานแผล ลดการอักเสบ กระตุ้นการสร้างเมือก โดยมีรายงานการศึกษาในผู้ป่วยโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ จำนวน 15 ราย โดยใช้สารสกัดจากใบบัวบกขนาด 60 มิลลิกรัม พบว่าประมาณ 93 % ของผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นอย่างชัดเจน (อ้างอิงที่ 26) ซึ่งศึกษาในสัตว์ทดลองให้ผลในทางเดียวกันคือ ขนาดของแผลในสัตว์ทดลองมีขนาดเล็กลง หลังจากได้รับสารสกัดจากใบบัวบก ซึ่งเป็นผลจากความสามารถในด้านการต้านการอักเสบ (อ้างอิงที่ 27,28) และการกระตุ้นการสร้างเมือกนั่นเอง (อ้างอิงที่ 27-29)

 

ทับทิม, สมุนไพรช่วยกรดไหลย้อน

สารสกัดจากทับทิม :
กระตุ้นการสร้างเมือก ลดกรด ต้านเชื้อ H. Pylori มีรายงานว่าสารแทนนินในทับทิม มีบทบาทในการป้องกันแผลในกระเพาะอาหาร โดยไปช่วยเพิ่มการหลั่งเมือกในกระเพาะอาหาร (อ้างอิงที่ 30) จากการทดลองในหนูพบว่า สารสกัดจากทับทิมช่วยทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารน้อยลง อีกทั้งช่วยลดกรดและกระตุ้นการสร้างเมือก (อ้างอิงที่ 31) และยังมีรายงานการศึกษาว่าสารสกัดจากทับทิม สามารถช่วยต้านเชื้อ Helicobacter pylori ได้ (อ้างอิงที่ 32)

ผงขิง :
กระตุ้นการสร้างเมือก ลดกรด ลดการทำงานของน้ำย่อย ต้านเชื้อ H. Pylorii ลดอาการปวดท้องหรือปวดเกร็งในกระเพาะอาหาร ขิงมีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร โดยการศึกษาในสัตว์ทดลอง พบว่าสารสกัดจากขิงช่วยลดขนาดของแผล ลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร ลดปริมาณและความเป็นกรดของน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร เพิ่มการหลั่งเยื่อเมือกจากเยื่อบุกระเพาะอาหาร (อ้างอิงที่ 33) และช่วยต้านเชื้อ Helicobacter pylori ได้ (อ้างอิงที่ 34, 35)

ชะเอมเทศสกัด :
ลดกรด กระตุ้นการสร้างเมือก ต้านเชื้อ H. Pylori จากการศึกษาในมนุษย์พบว่า ชะเอมเทศช่วยต้านเชื้อ Helicobacter pylori ได้ (อ้างอิงที่ 36) และมีรายงานว่าสารฟลาโวนอยด์ในชะเอมเทศช่วยต้านเชื้อ Helicobacter pylori ชนิดที่ทนต่อยาฆ่าเชื้ออะมอกซิลิน (Amoxicillin) และคลาริโธมัยซิน (Clarithromycin)ได้ดี (อ้างอิงที่ 37) นอกจากนี้ มีการศึกษาการใช้ยาที่ทำจากสารสกัดชะเอมเทศในหนูทดลอง พบว่า สามารถป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารโดยช่วยลดกรด (อ้างอิงที่ 38) และกระตุ้นการสร้างเมือก (อ้างอิงที่ 36, 39)

 

>> สมุนไพรช่วยกรดไหลย้อน และโรคกระเพาะ คลิ๊ก <<

 

 

สามารถนำรหัสสมาชิก 48004219 ไปซื้อได้ที่ศูนย์ธุรกิจกิฟฟารีนทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Fanpage : WeLoveGiffarine
Email : mai-mee-jai@hotmail.com
โทร. 090-0491594
Line : @welove.giffarine

รับสมัครตัวแทนทั่วประเทศ 

เอกสารอ้างอิง 

1. วิธีดูแลตนเองเมื่อเป็น…โรคกระเพาะ. สืบค้นวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 จาก RAMA Clinic เวปไซต์เพื่อประชาชน โรงพยาบาลรามาธิบดี. http://ramaclinic.ra.mahidol.ac.th/main/?q=http%3A//ramaclinic.ra.mahidol.ac.th/main/contact
2. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน เรื่อง เกิร์ด (GERD) – โรคกรดไหลย้อน. สืบค้นวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 จาก เวปไซต์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/44/เกิร์ด-GERD-โรคกรดไหลย้อน/
3. ว่านหางจระเข้ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวกับแก้โรคแผลในกระเพาะอาหาร. สืบค้นวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 จาก เวปไซต์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.http://www.medplant.mahidol.ac.th/herb_aids/data/peptic/a_vera.htm
4. Aloe vera gel in peptic ulcer therapy: preliminary report. J A O A 1963;62:731/77-735/81
5. Visuthipanich W. Histochemical and pathological changes in rat gastric mucosa following Aloe vera gel and cortisol administrations. MS Thesis Mahidol Univ 1988.
6. ฤทธิ์สมุนไพรว่านหางจระเข้ในการรักษาโรคกระเพาะอาหาร. วารสารสงขลานครินทร์ 1996 ; 18 (1) : 49-57
7. Effects of Aloe vera and sucralfate on gastric microcirculatory changes, cytokine levels and gastric ulcer healing in rats. World J Gastroenterol. 2006 Apr 7;12(13):2034-9.
8. Effects of aloe extracts, aloctin A, on gastric secretion and on experimental gastric lesions in rats. 1989 May;109(5):335-9.
9. Effects of Aloe preparation on the histamine-induced gastric secretion in rats. J Ethnopharmacol. 2004 Feb;90(2-3):239-47.
10. Aloe-emodin effects on arylamine N-acetyltransferase activity in the bacterium Helicobacter pylori. Planta Med. 1998 Mar;64(2):176-8.
11. ขมิ้น ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวกับแก้โรคแผลในกระเพาะอาหาร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
12. สารป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหารจากขมิ้นชัน วารสาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 1994 ; 36 (4) : 211-218.
13. Phase II clinical trial on effect of the long turmeric (Curcuma longa Linn) on healing of peptic ulcer. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2001 Mar;32(1):208-15.
14. Turmeric (curcumin) remedies gastroprotective action. Pharmacogn Rev. 2013 Jan;7(13):42-6. doi: 10.4103/0973-7847.112843.
15. Evaluation of turmeric (Curcuma longa) for gastric and duodenal antiulcer activity in rats. J Ethnopharmacol. 1990 Apr;29(1):25-34.
16. Pharmacological researches of curcumin solid dispersions on experimental gastric ulcer. Zhongguo Zhong Yao Za Zhi. 2009 Nov;34(22):2920-3.
17. Effects of baicalein, berberine, curcumin and hesperidin on mucin release from airway goblet cells. Planta Med. 2003 Jun;69(6):523-6.
18. Mechanisms of the protective effects of curcumin against indomethacin-induced gastric ulcer in rats. Pharmacology. 2013;91(5-6):267-74. doi: 10.1159/000350190. Epub 2013 May 15.
19. Turmeric (Curcuma longa) and curcumin inhibit the growth of Helicobacter pylori, a group 1 carcinogen. Anticancer Res. 2002 Nov-Dec;22(6C):4179-81.
20. Antimicrobial activity of curcumin against Helicobacter pylori isolates from India and during infections in mice. Antimicrob Agents Chemother. 2009 Apr;53(4):1592-7. doi: 10.1128/AAC.01242-08. Epub 2009 Feb 9.

21. Effects of Turmeric in Peptic Ulcer and Helicobacter pyroli. Plant Sciences Research 3 (3): 25-28, 2011.
22. The role of antioxidant activity of Phyllanthus emblica fruits on prevention from indomethacin induced gastric ulcer. J Ethnopharmacol. 2000 May;70(2):171-6.
23. Antiulcerogenic effect of methanolic extract of Emblica officinalis: an experimental study. J Ethnopharmacol. 2002 Sep;82(1):1-9.
24. Biphasic Effect of Phyllanthus emblica L. Extract on NSAID-Induced Ulcer: An Antioxidative Trail Weaved with Immunomodulatory Effect. Evid Based Complement Alternat Med. 2011;2011:146808.
25. Anti-Helicobacter pylori and antioxidant properties of Emblica officinalis pulp extract: A potential source for therapeutic use against gastric ulcer. Journal of Medicinal Plants Research Vol.5(12), pp. 2577-2583 , June 2011.
26. บัวบก – สมุนไพรแห่งปี. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กันยายน-ธันวาคม 2554
27. The healing effects of Centella extract and asiaticoside on acetic acid induced gastric ulcers in rats. Life Sci. 2004 Mar 19;74(18):2237-49.
28. Inhibitory effects of Centella asiatica water extract and asiaticoside on inducible nitric oxide synthase during gastric ulcer healing in rats. Planta Med. 2004 Dec;70(12):1150-4.
29. Effect of Centella asiatica Linn on physical and chemical factors induced gastric ulceration and secretion in rats. Indian J Exp Biol. 2001 Feb;39(2):137-42.
30. Effects of pomegranate tannins on experimental gastric damages. Zhongguo Zhong Yao Za Zhi. 2009 May;34(10):1290-4.
31. Protective effects of Punica granatum in experimentally-induced gastric ulcers. Toxicol Mech Methods. 2010 Nov;20(9):572-8.
32. In vitro antibacterial activity of some Iranian medicinal plant extracts against Helicobacter pylori. Nat Prod Res. 2011 Jul;25(11):1059-66.
33. ขิง ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร. สืบค้นวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 จาก เวปไซต์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. http://medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/zinoff_ref.html
34. A review of the gastroprotective effects of ginger (Zingiber officinale Roscoe). Food Funct. 2013 Jun;4(6):845-55. doi: 10.1039/c3fo30337c. Epub 2013 Apr 24.
35. Gastroprotective Effect of Ginger Rhizome (Zingiber officinale) Extract: Role of Gallic Acid and Cinnamic Acid in H(+), K(+)-ATPase/H. pylori Inhibition and Anti-Oxidative Mechanism. Evid Based Complement Alternat Med. 2011;2011:249487.
36. The healing effect of licorice (Glycyrrhiza glabra) on Helicobacter pylori infected peptic ulcers. J Res Med Sci. 2013 Jun; 18(6): 532–533.
37. Anti-Helicobacter pylori flavonoids from licorice extract. Life Sci. 2002 Aug 9;71(12):1449-63.
38. Anti-ulcer and antioxidant activity of GutGard. Indian J Exp Biol. 2010 Mar;48(3):269-74.
39. Review of pharmacological effects of Glycyrrhiza sp. and its bioactive compounds. Phytother Res. 2008 Jun;22(6):709-24. doi: 10.1002/ptr.2362.