ระบบภูมิคุ้มกัน..สาระน่ารู้เกี่ยวกับสารอาหารที่ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน

ระบบภูมิคุ้มกัน

 

ระบบภูมิคุ้มกัน สาระน่ารู้เกี่ยวกับสารอาหารที่ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน

 

          ระบบภูมิคุ้มกัน สาระน่ารู้เกี่ยวกับสารอาหารที่ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ลดการอักเสบ และต้านมะเร็ง สารสกัดเบต้ากลูแคนจากยีสต์ ผสมสารสกัดจากเห็ด ,ซิตรัสไบโอฟลาโวนอยด์, สังกะสี, อะเซโรลา เชอร์รี่สกัด และวิตามินซี

ระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย

 

           สิ่งแวดล้อมรอบตัวเราเต็มไปด้วยเชื้อโรคต่างๆที่ตามองไม่เห็น เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และปรสิต ซึ่งในแต่ละวันเราต้องสัมผัสกับเชื้อโรคมากมายนับไม่ถ้วน จึงมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยจากเชื้อโรคเหล่านั้น แต่ร่างกายของเรามีกลไกการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่คอยปกป้องจากสิ่งแปลกปลอมรวมทั้งเชื้อโรคเหล่านั้น โดยระบบภูมิคุ้มกันจะมีความสามารถในการทำลายเชื้อโรคโดยไม่ส่งผลต่อเซลล์ในร่างกาย แต่ถ้าหากระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถทำหน้าที่ได้ปกติหรือเสียสมดุลก็จะส่งผลให้เกิดความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่ โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง ดังนั้นจึงควรเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้มีความสมดุลและแข็งแรง โดยการรับประทานอาหารและวิตามินที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน การนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำและลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างๆเป็นต้น

 

สารอาหารที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย

 

เบต้า-กลูแคนจากยีสต์ (Yeast Beta-glucan)

 

          เบต้า-กลูเคน เป็นโพลีแซคคาไรด์ชนิดหนึ่ง มีกลูโคสเป็นโครงสร้างหลักต่อกันเป็นสายเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเบต้า-ไกลโคซิดิก(Beta-Glycosidic Bond)แบบ b-(1,3)-(1,6)ซึ่งพบได้ในผนังเซลล์ของยีสต์ เห็ดรา (Fungi) ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์

          มีคุณสมบัติในการปรับสมดุลการทำงานของภูมิคุ้มกันของร่างกาย ต้านการติดเชื้อ ลดโอกาสการเกิดโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ป่วยภูมิแพ้ รวมทั้งยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งและเสริมการออกฤทธิ์ของยาต้านมะเร็ง (อ้างอิง 1)

 

เห็ดหลินจือ, สารอาหารที่ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน, ระบบภูมิคุ้มกัน

สารสกัดจากเห็ดหลินจือ (Reishi Mushroom )

 

          เห็ดหลินจือ(Reishi Mushroom) ชื่อวิทยาศาสตร์ Ganoderma lucidum มีต้นกำเนิดอยู่ตามภูเขาที่เป็นป่าทึบในประเทศจีน ชาวจีนถือว่าเห็ดหลินจือเป็น”ยาอายุวัฒนะ”จึงถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์แผนจีนยาวนานกว่า 2000ปี (อ้างอิง2,3)

ประโยชน์ต่อสุขภาพ

          สารสำคัญในเห็ดหลินจือ คือ b-D-glucans, heteropolysaccharides, glycoprotein ซึ่งมีผลการวิจัยรองรับว่ามีสรรพคุณในการช่วยป้องกันหรือรักษามะเร็งบางชนิด โรคตับ, การติดเชื้อ HIV, โรคภูมิแพ้, หอบหืด, ปอดอักเสบ และมีส่วนใช่ในการปรับภูมิต้านทานของร่างกายให้สมดุล (อ้างอิง 4) โดยการช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน มีฤทธิ์เพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย กระตุ้นเม็ดเลือดขาว (Macrophage) ที่มีหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมและกระตุ้นกระบวนการกำจัดเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายโดยผ่านทางการกระตุ้นการปลดปล่อย (Antigen presenting cell) เพื่อให้ T cell ทำงานได้ดีขึ้น (อ้างอิง 5) และมีฤทธิ์ต้านการปลดปล่อยสารฮิสตามีนที่ก่อให้เกิดอาการแพ้จึงมีประโยชน์ในผู้ป่วยหอบหืดและภูมิแพ้ (อ้างอิง 6,7,8)

 

เห็ดยามาบูชิตาเกะ, สารอาหารที่ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน

สารสกัดจากเห็ดยามาบูชิทาเกะ (Yamabushitake Mushroom)

 

           เห็ดยามาบูชิทาเกะ(Yamabushitake Mushroom) ชื่อวิทยาศาสตร์ Hericium erinaceus พบในเทือกเขาแถบเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือเห็ดยามาบูชิทาเกะถูกนำมาใช้ทางการแพทย์ในแถบประเทศจีน เกาหลีและญี่ปุ่น

ประโยชน์ต่อสุขภาพ

          สารสำคัญในเห็ดยามาบูชิทาเกะ คือ Galactoxyloglucan–Protein Complex พบว่ามีสรรพคุณมากมาย เช่น ต้านความชรา ต้านมะเร็งโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวาน ไขมัน แต่ปัจจุบันได้มีงานวิจัยหลายแห่งที่พบคุณสมบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน (อ้างอิง 9)

 

สารสกัดจากเห็ดไมทาเกะ (Maitake mushroom)

 

          เห็ดไมทาเกะ(Maitake Mushroom) ชื่อวิทยาศาสตร์ Grifola frondosa พบในแถบป่าทางตอนเหนือของเอเชีย ยุโรป และอเมริกาตะวันออกโดยแถบเอเชียเห็ดไมทาเกะถูกนำมาใช้บริโภคกว่าพันปี และนิยมนำมาใช้ในทางยาในเรื่องต้านมะเร็ง และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน

ประโยชน์ต่อสุขภาพ

          สารสำคัญในเห็ดไมทาเกะ คือ 1,3/1,6 D glucan, 1,6/1,3 D glucan มีงานวิจัยหลากหลายที่ยืนยันว่าสารสำคัญในเห็ดไมทาเกะมีส่วนช่วยในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาวหลายชนิดและช่วยเหนี่ยวนำการทำงานของระบบภูมิต้านทานในการต่อสู้กับเชื้อโรครวมทั้งเซลล์มะเร็ง (อ้างอิง 10)

 

วิตามินซีจากทั้ง 2 แหล่ง (อะเซโรลาและกรดวิตามินซี)

 

กรดวิตามินซี และ อะเซโรลาเชอร์รี่สกัด (Ascorbic Acid , Acerola Cherry Extract)

 

วิตามินซี

วิตามินซี (Ascorbic Acid)

          เป็นวิตามินที่ละลายน้ำ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงประสิทธิภาพ ช่วยเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน การสร้างคอลลาเจนและการสังเคราะห์คาร์นิทีนร่างกายของมนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์วิตามินซีเองได้ ดังนั้นจึงต้องรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีเข้าสู่ร่างกาย การรับประทานวิตามินซีพบว่ามีส่วนช่วยในเรื่องการป้องกันและรักษาโรคหวัดได้อีกด้วย

อะเซโรล่าเชอร์รี่สกัด (Acerola Cherry Extract)

          ผลอะเซโรลา เชอร์รี่ มีปริมาณวิตามินซีสูงกว่าส้มประมาณ 65เท่า โดยอะเซโรลาเชอร์รี่หนึ่งผลให้วิตามินซีเท่ากับความต้องการของร่างกายในหนึ่งวัน วิตามินซีในอะเซโรลาเชอร์รี่ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยในการทำงานของไตให้แข็งแรง เสริมสร้างการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ ดูแลสุขภาพเส้นผม ผิวพรรณ และช่องปาก ช่วยป้องกันโรคหวัด การติดเชื้อต่างๆ รวมทั้งต้านอนุมูลอิสระและชะลอวัย

 

ซิตรัสไบโอฟลาโวนอยด์ (Citrus Bioflavonoids)

 

• ไบโอฟลาโวนอยด์เป็นกลุ่มของสารสำคัญที่พบมากในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวตระกูลซิตรัส นิยมบริโภคในแถบเมดิเตอร์เรเนียน ไบโอฟลาโวนอยด์นอกจากจะอุดมไปด้วยวิตามินซีแล้วยังมีส่วนช่วยในการต้านอนุมูลอิสระ ลดโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคมะเร็ง มีคุณสมบัติในการต้านการอักเสบและยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย (อ้างอิง 11)

 

สังกะสี (Zinc)

 

• สังกะสี ช่วยประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาวจึงต้านการติดเชื้อได้ดี และยังมีคุณสมบัติในการลดการอักเสบจึงปรับสมดุลการทำงานของภูมิคุ้มกันให้กำจัดเชื้ออย่างค่อยเป็นค่อยไป

 

แอลอาร์จินีน (L-Arginine)

 

• แอลอาร์จินีน ควบคุมการสร้างไนตริกออกไซด์ (Nitric Oxide) ในร่างกายที่ก่อให้เกิดกระบวนการอักเสบจึงมีส่วนช่วยในการต้านการอักเสบ อีกทั้งช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน โดยเสริมสร้างการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ และมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นระบบภูมิต้านทานชนิดมีมาแต่กำเนิดและชนิดรับมา จึงมีส่วนช่วยในการต้านไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา ปรสิต และต้านมะเร็ง

 

เอกสารอ้างอิง

1. Hyung Sook Kim, Jin Tae Hong, Youngsoo Kim, Sang-Bae Han. (2011). Stimulatory Effect of β-glucans on Immune Cells. Immune New, 2011, 11(4):191-195.

2. Jong, S.C., et al. Medicinal Benefits of the Mushroom Ganoderma. Adv Appl Microbiol. 1992; 37:101-34

3. Herbs To The Rescue. Nutrition News, 11/30/92; V.XVI N.11; p.4

4. Jones, Kenneth, Reishi (Ganoderma): Longevity Herb of the Orient; Part 2. Townsend Letters forDoctors & Patients; 11/20/92; N.112; p.1008-1012

5. Zengtao Xu, Xiuping Chen, Zhangfeng Zhong, Lidian Cheny, Yitao Wang. (2011). The American Journal of Chinese Medicine, Vol. 39, No. 1,p. 15–27

6. Lingzhi. In Chang, H-M. and p. P-H. But, editors. 1986. Pharmacology and Applications of Chinese Materia Medica. Vol I. Singapore: World Scientific; 642-653

7. Tasaka, T., et al. 1988. Anti-allergic constitutents in the culture medium of Ganoderma lucidum(I). Inhibitory effect of oleic acid on histamine release. Agents and Actions 23 (3/4): 153-156

8. Tasaka, T., et al. 1988. Anti-allergic constitutents in the culture medium of Ganoderma lucidum(II). The Inhibitory effect of cyclooctasulpher on histamine release. Agents and Actions 23 (3/4):157-160

9. Mingxing Wang, Yang Gao, Duoduo Xu, Tetsuya Konishibd, Qipin Gao. (2014).Hericium erinaceus (Yamabushitake): a unique resource for developing functional foods and medicines. Food Funct., 2014,5, 3055-3064

10. Wasser SP. Shiitake (Lentinus edodes). Encyclopedia of dietary supplements. 2005:653-64

11. Elisa Tripoli, Maurizio La Guardia, Santo Giammanco, Danila Di Majo, Marco Giammanco. (2007). Citrus flavonoids: Molecular structure, biological activity and nutritional properties: A review. Food Chemistry, Vol. 104, Issue 2, 2007, p. 466–479

ที่มา giffarine.com