สาระน่ารู้เกี่ยวกับเลซิติน มิกซ์แคโรทีนอยด์และวิตามิน อี
สาระน่ารู้เกี่ยวกับเลซิติน มิกซ์แคโรทีนอยด์และวิตามิน อี ตับเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่สำคัญหลายประการ เมื่อใดก็ตามที่ตับทำงานไม่เป็นปกติ เช่น ไขมันพอกตับ ตับอักเสบ ตับแข็ง จะเกิดอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ภูมิต้านทานต่ำ ขาดโปรตีน บวม เลือดออกง่าย แผลหายช้า น้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำกว่าปกติ ไขมันในเลือดสูง ท้องมาน อาการทางสมอง ไตวาย หัวใจวาย และส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของร่างกายในทุกระบบ
ปัจจุบัน มีผู้ป่วยที่ต้องเผชิญกับปัญหาโรคเกี่ยวกับตับเป็นจำนวนมาก โดยมีงานวิจัยรายงานว่า 30% ของคนทั่วไป มีภาวะไขมันพอกตับ(ศึกษาโดยการตรวจเนื้อเยื่อ) โดยกว่า 70% ของคนอ้วน จะมีภาวะไขมันพอกตับ และมีความเสี่ยงต่อภาวะตับอักเสบและตับแข็ง และ95% ของคนอ้วนที่ดื่มสุรา จะมีภาวะไขมันพอกตับ และมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเป็นตับอักเสบและตับแข็งได้
นอกจากนี้ ยังพบว่า โรคเรื้อรังต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคมะเร็ง ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โคเลสเตอรอลสูง ไตรกลีเซอไรด์สูง จะมีส่วนเชื่อมโยงให้เกิดโรคเกี่ยวกับตับโดยเฉพาะไขมันพอกตับได้ มีรายงานว่า 80% ของผู้ป่วยเบาหวาน มีภาวะไขมันพอกตับ และมีโอกาสเสียชีวิตจากโรคตับแข็งสูงกว่าการเสียชีวิตจากโรคหัวใจด้วยสัดส่วน 2.7 : 1.8 เลยทีเดียว
สารฟอสฟาทิดิลโคลีน ในเลซิติน มีบทบาทในการบำรุงตับ ดังนี้
- ช่วยในการกำจัดไขมันออกจากเซลล์ตับ
- ยับยั้งการสะสมไขมันในเซลล์ตับ
เลซิตินที่มีฟอสฟาทิดิลโคลีนสูง จะช่วยแก้ปัญหาไขมันพอกตับได้เป็นอย่างดี
สาระน่ารู้เกี่ยวกับเลซิติน มิกซ์แคโรทีนอยด์และวิตามิน อี
ทำความรู้จักกับเลซิติน
เลซิติน (Lecithin)เป็นไขมันในกลุ่มฟอสโฟไลปิด (Phospholipid)ซึ่งอุดมด้วยสารฟอสฟาทิดิล โคลีน (Phosphatidyl Choline)ที่มีคุณสมบัติเข้ากันได้กับทั้งน้ำและน้ำมัน ถือเป็นตัวทำละลายที่ดี ช่วยในการทำละลายโคเลสเตอรอลในเลือดให้แตกตัวเป็นอนุภาคขนาดเล็กๆ จึงลดการสะสมของไขมันที่ตับและลดการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือด
แหล่งของเลซิตินที่พบได้ตามธรรมชาติมีอยู่ 2 แหล่งที่สำคัญ คือ
1. ร่างกายของมนุษย์สามารถผลิตเลซิตินได้เองที่ “ตับ” แต่หากร่างกายขาดสารตั้งต้นสำหรับใช้ผลิตเลซิติน เช่น กรดไขมันจำเป็น วิตามินบี และสารอาหารสำคัญอื่นๆ ก็จะส่งผลให้ร่างกายสร้างเลซิตินได้ไม่เพียงพอ
2. แหล่งธรรมชาติพบได้ทั้งในพืชและสัตว์ โดยจะพบมากในไข่แดง ถั่วเหลือง เมล็ดทานตะวัน ถั่วลิสง จมูกข้าว เป็นต้น แต่การบริโภคอาหารเหล่านี้ในปริมาณมากมักจะให้โคเลสเตอรอลสูงตามมาด้วย
ปัจจุบันจึงมีการสกัดเลซิตินเข้มข้นจากไข่แดงและถั่วเหลือง ซึ่งเลซิตินที่สกัดจากถั่วเหลืองจะให้ประสิทธิภาพในการป้องกันสุขภาพได้ดีกว่าแหล่งอื่นๆ เพราะมีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวมากที่สุดและปราศจากโคเลสเตอรอลนั่นเอง
คุณสมบัติของเลซิติน
- ดูแลตับปกป้องตับจากการเกิดภาวะไขมันพอกตับ บำรุงตับ ป้องกันตับอักเสบ ป้องกันตับแข็ง
- ลดภาวะไขมันพอกตับมีการศึกษากับผู้ป่วยที่ต้องได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำโดยตรงเป็นเวลานาน (Longterm parenteral nutrition) จำนวน 15 คน ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้มักพบปัญหาระดับโคลีนในเลือดต่ำ และพบว่าประมาณ 50% ของผู้ป่วยมีภาวะตับอักเสบ จึงทดลองให้เลซิตินในผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มที่ได้รับเลซิตินมีระดับโคลีนในเลือดเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% และมีการสะสมของไขมันที่ตับลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับก่อนการทดลอง ดังตารางนี้
กลุ่มที่ได้รับเลซิติน | กลุ่มที่ไม่ได้รับเลซิติน | |
ระดับโคลีนในเลือด | เพิ่มขึ้นมากกว่า 50% | ลดลงประมาณ 25% |
การสะสมไขมันที่ตับ | ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ | ไม่เปลี่ยนแปลง |
เนื่องจากเลซิตินจะลดการเกิดออกซิเดชั่นของไขมันภายในตับ ทำให้ไขมันไม่เกิดการรวมตัว จึงไม่ไปพอกที่เซลล์ตับ อีกทั้งเร่งการเผาผลาญไขมันที่ตับ จึงทำให้ไม่เกิดการสะสม และลดการดูดซึมโคเลสเตอรอลที่เป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดภาวะไขมันพอกตับนั่นเอง
- ป้องกันโรคตับจากแอลกอฮอล์มีการศึกษาในลิงบาบูนพบว่า เลซิตินสามารถป้องกันการเกิดโรคตับแข็งเนื่องจากการรับประทานเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ โดยเลซิตินจะไปกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์คอลลาจีเนสในตับ จึงลดการสร้างพังผืดในตับ ลดการสะสมของไขมันในตับ ซึ่งเป็นสาเหตุของการพัฒนาไปสู่โรคตับแข็ง ป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นของไขมันบริเวณตับจึงไม่เกิดอนุมูลอิสระไปทำลายเซลล์และป้องกันภาวะจากการอักเสบของตับ
กราฟด้านซ้าย แสดงการเกิดภาวะโรคตับของลิงบาบูน ที่ได้รับเหล้าร่วมกับอาหารปกติ
กราฟด้านขวา แสดงการเกิดภาวะโรคตับของลิงบาบูน ที่ได้รับเหล้าร่วมกับฟอสฟาทิดิลโคลีน
จากข้อมูลดังกล่าวพบว่า ลิงบาบูนที่ได้รับเหล้าจะพัฒนาไปเป็นตับแข็งเกือบทุกตัวภายใน 6 ปี แต่หากได้รับเหล้า ร่วมกับฟอสฟาทิดิลโคลีน จะไม่เป็นตับแข็งแม้แต่ตัวเดียว
- ป้องกันตับจากสารพิษต่างๆ
– ป้องกันตับจากพิษของยาบางประเภท ได้แก่ แอสไพริน ไอบูโพรเฟน ยาแก้อักเสบเตตร้าไซคลิน
– ป้องกันตับจากสารเคมีหรือพิษของยากำจัดศัตรูพืชต่างๆ
– ป้องกันตับจากพิษของเห็ดบางชนิด
– ป้องกันตับจากรังสี
- บำรุงสมองช่วยพัฒนาการเรียนรู้ เสริมสร้างความจำ และลดอาการอัลไซเมอร์ในระยะเริ่มต้น
ปัจจุบันการรักษาทางการแพทย์ได้ใช้เลซิตินในการบำบัดโรคทางสมองต่าง ๆ เช่น โรคพาร์คินสัน (Parkinson’s Disease) โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease) ซึ่งเป็นโรคทางสมองที่เกิดจากเซลล์ประสาทขาดสารอะซิทิลโคลีน (Acetylcholine) หรือคนชราที่ป่วยเป็นโรคความจำเสื่อม โดยพบว่าผู้สูงอายุที่มีภาวะความจำเสื่อมบางรายจะมีอาการดีขึ้นเมื่อได้รับประทานเลซิตินวันละ 25 กรัมติดต่อกันเป็นเวลาหลายเดือน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ระยะเริ่มแรกพบว่า เมื่อได้รับโคลีนเป็นระยะเวลา 6 เดือน จะช่วยให้ความจำดีขึ้นได้ หรือการให้โคลีนร่วมกับยาที่ใช้รักษา (Cholinesterase Inhibitors) ทำให้มีการพัฒนาความสามารถที่ต้องใช้ความจำเพิ่มขึ้นได้
- ลดการดูดซึมโคเลสเตอรอล ดูแลหลอดเลือดและหัวใจละลายไขมัน ป้องกันการตกตะกอนของไขมันในผนังหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดแข็งและตีบตัน ป้องกันการเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต โดยมีการศึกษาทั้งในสัตว์ทดลองและผู้มีภาวะระดับโคเลสเตอรอลสูงพบว่า เลซิตินจะลดการดูดซึมโคเลสเตอรอล สามารถลดระดับไขมันชนิดไม่ดี (LDL) และไตรกลีเซอไรด์ได้อีกทั้งช่วยเพิ่มระดับไขมันชนิดดี (HDL)ได้อีกด้วย จากคุณสมบัติดังกล่าว จึงทำให้ลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ป้องกันภาวะหัวใจขาดเลือด อันนำไปสู่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือหัวใจวายเฉียบพลัน
กราฟแสดงระดับโคเลสเตอรอลของผู้ป่วยที่มีระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูง เปรียบเทียบระหว่าง ก่อนรับประทานเลซิตินรับประทาน 1 เดือน และรับประทาน 2 เดือน
จากข้อมูลดังกล่าว สรุปได้ว่า เลซิตินสามารถลดระดับไขมันชนิดเลว (LDL) ได้ถึง 56.11% ภายใน 2 เดือน
- ลดความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี เลซิตินจะเพิ่มความสามารถในการทำละลายของน้ำดี ทำให้สารแขวนลอยใน
น้ำดีไม่จับตัวเป็นก้อนจนกลายเป็นนิ่ว เพิ่มการหลั่งและการไหลเวียนของน้ำดี และลดค่าดัชนีไขมันอิ่มตัว (Cholesterol saturation index)
- ช่วยลดน้ำหนักลดไขมันสะสม โดยช่วยละลายไขมัน จึงเผาผลาญไขมันได้ดี
อย่างไรก็ตาม การได้รับเลซิตินเพียงอย่างเดียว อาจแก้ปัญหาทางสุขภาพได้ไม่เพียงพอ เนื่องจากถึงแม้ว่า เลซิตินจะช่วยลดการสะสมไขมันที่ตับและผนังหลอดเลือดได้ แต่ยังคงหลงเหลือไขมันบางส่วนที่ยังสะสมอยู่ในเซลล์ดังกล่าว และยังมีไขมันบางส่วนในกระแสเลือดที่มีโอกาสเกิดการสะสมพอกพูนได้เพิ่มเติม ดังนั้น ร่างกายจึงต้องการสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูงเพิ่มเติม เพื่อปกป้องไขมันเหล่านี้ไม่ให้เกิดการออกซิเดชั่น และลดการอักเสบของเซลล์ จึงลดโอกาสการเกิดไขมันพอกตับและผนังหลอดเลือดได้อีกทางนั่นเอง
เสริมประสิทธิภาพการทำงานของเลซิตินได้อย่างเต็มที่ ด้วยแคโรทีนอยด์จากธรรมชาติ 4 ชนิด และวิตามิน อี
กล่าวกันว่า เลซิตินเพียงอย่างเดียว แก้ปัญหาสุขภาพสมอง หัวใจ หลอดเลือด มะเร็ง และผิวพรรณ ได้เพียง 30% แต่หากได้รับเลซิตินชนิดฟอสฟาทิดิลโคลีนสูง เสริมด้วยแคโรทีนอยด์จากธรรมชาติ 4 ชนิดและวิตามิน อี จะแก้ปัญหาดังกล่าวได้ถึง 100%
แคโรทีนอยด์จากธรรมชาติ 4 ชนิด(อัลฟาแคโรทีน เบต้าแคโรทีน แกมม่าแคโรทีน และไลโคปีน)
สารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูง ช่วยชะลอความแก่และความเสื่อมของเซลส์ ส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวม
– ดูแลปกป้องตับ โดยยับยั้งการเข้าจู่โจมของอนุมูลอิสระต่อเซลล์ตับจึงลดการสะสมของไขมันในตับ ป้องกันตับอักเสบ ป้องกันการเกิดมะเร็งตับจากพิษAflatoxin B1 (พิษจากเชื้อรา) และปกป้องตับจากเหล้า รวมทั้งภาวะน้ำตาลในเลือดสูงในคนไข้เบาหวาน
– ลดการทำลายผนังหลอดเลือดจากอนุมูลอิสระ ป้องกันหลอดเลือดอักเสบและลดการออกซิเดชั่นของไขมันในหลอดเลือด จึงลดการเกิดไขมันสะสมที่ผนังหลอดเลือด ป้องกันภาวะหลอดเลือดแข็งตัว ลดโอกาสการเกิดหลอดเลือดตีบตันของทุกอวัยวะ
– ปกป้องสารพันธุกรรมจากการจู่โจมของอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งทุกชนิด
– ปกป้องเซลล์ผิว ช่วยให้ผิวพรรณสดใส อ่อนวัย
วิตามินอี
วิตามินอี มีชื่อเรียกว่าTocopherol ซึ่งเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญในร่างกาย แต่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ต้องได้รับจากอาหาร
- ช่วยต้านไม่ให้หลอดเลือดแข็งตัว ขยายหลอดเลือดฝอย
- ป้องกันการเกาะตัวของเกร็ดเลือดที่ผนังหลอดเลือด
- ลดโคเลสเตอรอล
- มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ
ซึ่งการใช้แคโรทีนอยด์และวิตามินอีร่วมกัน จะส่งเสริมประสิทธิภาพการต้านออกซิเดชั่นได้ดียิ่งขึ้น โดยมีงานวิจัยรายงานว่า การเสริมแคโรทีนอยด์รวม ร่ามกับวิตามิน อี จะเสริมฤทธิ์กันในการปกป้องเซลล์ตับจากอนุมูลอิสระ และสามารถลดการเกิดมะเร็งตับในคนไข้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบได้ถึง50%
เลซิติน ชนิดฟอสฟาทิดิลโคลีนสูงเสริมด้วยแคโรทีนอยด์รวมจากธรรมชาติ 4 ชนิด และวิตามิน อี จึงเหมาะกับบุคคลดังต่อไปนี้
> ผู้ที่มีอาการเกี่ยวกับการทำงานของตับไม่ปกติ เช่น การย่อยอาหารไม่ดี แน่นท้อง จุกเสียดเป็นประจำ อ่อนเพลียง่าย
> ผู้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบ บี และซี
> ผู้ที่ดื่มเหล้าเป็นประจำ
> ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือมีประวัติคนในครอบครัวที่มีความเสี่ยงต่อการเป็น
- โรคเกี่ยวกับตับ ไขมันพอกตับ
- เบาหวาน
- อ้วน
- โรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต
- มะเร็ง
- ความดันโลหิตสูง
- ไขมันในเลือดสูง โคเลสเตอรอลสูง ไตรกลีเซอไรด์สูง
> ผู้ที่ต้องการการบำรุงตับ
> ผู้ที่ต้องการการบำรุงสมอง ป้องกันอัลไซเมอร์
> ผู้ที่ต้องการการบำรุงและปกป้องระบบหลอดเลือดและหัวใจ
> ผู้ที่ต้องการการบำรุงผิวพรรณ
> ผู้สูงอายุ(50 ปีขึ้นไป)
สามารถนำรหัสสมาชิก 48004219 ไปซื้อได้ที่ศูนย์ธุรกิจกิฟฟารีนทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Fanpage : WeLoveGiffarine
Email : mai-mee-jai@hotmail.com
โทร. 090-0491594
Line : @welove.giffarine
> สมัครสมาชิก คลิ๊ก! <
เอกสารอ้างอิง
- Carcinogenesis,1998 Mar; 19(3): 403-411
- Cholesterol. Vol. 2010, Article ID 824813, 4 pages
- Current Therapeutic Research, 2004 May-June; 65(3): 266-277
- E Encyclopedia of Natural Medicine. Revised 2nd ed. 1998, USA: Prima Publishing. pp 299, 283, 481.
- Gastroenterology 1992; 102(4Pt1) :1363-1370, PMID : 1551541
- Gastroenterology 1994; 106:152-159
- Gastroenterology and Hepatology, 2007; 22: 794-800
- Hepatology, 2003; 37(5): 1202-1219
- International Symposium on Human Health: Favhealth 2007
- National Cancer Center Kyoto Perfetural University of Medicine, Kyoto, Japan
- The Am. J. of Clinical Nutrition 43: January 1986: 101
- The natural pharmacy. 1998, USA: Prima Publishing. pp 176-177.
- Toxical and Health, 2009 May-June; 25(4-5): 311-320
- Sources of choline and lecithin in the Diet Choline and Lecithin in Brain Disorders Raven Press, New York 1979