สาระน่ารู้เกี่ยวกับชามะนาว สูตรปราศจากน้ำตาลทราย ทางเลือกเพื่อเพิ่มความสดชื่น สำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
ในสภาพอากาศที่ร้อนแบบประเทศไทย หนึ่งในเครื่องดื่มดับร้อนยอดนิยมก็คือ “ชา” โดยเฉพาะชามะนาวหรือชาเลมอน จากรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ผสมผสานความหอมของใบชาและรสฝาดของชาดำ กับรสเปรี้ยวอมหวาน และกลิ่นเลมอนอย่างลงตัว จึงช่วยสร้างความสดชื่นและดับกระหายได้เป็นอย่างดี
สาระน่ารู้เกี่ยวกับชามะนาว สูตรปราศจากน้ำตาลทราย
ทางเลือกเพื่อเพิ่มความสดชื่น สำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
ในสภาพอากาศที่ร้อนแบบประเทศไทย หนึ่งในเครื่องดื่มดับร้อนยอดนิยมก็คือ “ชา” โดยเฉพาะชามะนาวหรือชาเลมอน จากรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ผสมผสานความหอมของใบชาและรสฝาดของชาดำ กับรสเปรี้ยวอมหวาน และกลิ่นเลมอนอย่างลงตัว จึงช่วยสร้างความสดชื่นและดับกระหายได้เป็นอย่างดี ทว่าชามะนาวหรือชาเลมอนโดยส่วนใหญ่ในท้องตลาดนั้น มักมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบอยู่มาก จึงทำให้มีข้อจำกัดในการดื่มสำหรับผู้ที่กังวลเรื่องพลังงานส่วนเกิน ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักตัว หรือมีปัญหาเกี่ยวกับระดับน้ำตาลในเลือด ปัจจุบันจึงมีผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชาปรุงสำเร็จชนิดผง กลิ่นเลมอน ที่ปราศจากน้ำตาล แต่ใช้สารให้ความหวานแทน ทำให้ไม่ต้องรับประทานน้ำตาล นอกจากนี้ยังเสริมคุณค่าด้วย วิตามินหลากหลายชนิด และแอล-คาร์นิทีน จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภคที่ต้องการเครื่องดื่มที่ให้ความสดชื่น และยังให้ประโยชน์กับร่างกาย ผู้บริโภคสามารถชงดื่มด้วยตนเอง เพราะสะดวกรวดเร็ว สามารถชงดื่มได้ทั้งที่บ้านหรือที่ทำงาน เพียงเติมน้ำเย็นก็จะได้สัมผัสกับกลิ่นหอมลงตัวจากชามะนาวหรือชาเลมอนที่มีรสชาติเปรี้ยวอมหวานกำลังดี อร่อยสดชื่น ช่วยดับกระหาย คลายร้อนได้เป็นอย่างดี
ชา เป็นผลผลิตทางเกษตรกรรมจากใบ ยอดอ่อน และก้านของต้นชา (Camellia sinensis) นำมาผ่านกรรมวิธีแปรรูปหลากหลาย (อ้างอิงที่ 1) กระทรวงสาธารณสุขประเทศไทย ได้ให้คำจำกัดความว่า ชา หมายความว่า ใบ ยอด และก้าน ที่ยังอ่อนอยู่ของต้นชาในสกุล Camellia ที่ทำให้แห้งแล้ว (อ้างอิงที่ 2) ชาชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมและบริโภคได้หลากหลายรูปแบบในประเทศไทย ได้แก่ ชาดำ ซึ่งสามารถนำมาดัดแปลงสูตรเป็นเครื่องดื่มชาต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น ชานม ชามะนาว
ชาดำ (Black tea)
คือชาที่ผ่านกระบวนการหมักอย่างสมบูรณ์ (Completely-fermented tea) ใบชาจะถูกผึ่งให้เอนไซม์ Polyphenol oxidase เร่งปฏิกิริยาอย่างเต็มที่ ซึ่งสารโพลีฟีนอล (Polyphenols) จะถูกออกซิไดซ์อย่างสมบรูณ์ เกิดเป็นสารประกอบกลุ่ม Theaflavins และ Thearubigins ทำให้ชาดำมีสีน้ำตาลแดง (อ้างอิงที่ 3)
โดยชาดำจะมีรสชาติละมุนกลมกล่อม ชุ่มคอ และอาจมีรสชาติพิเศษแตกต่างไปจากปกติ โดยขึ้นอยู่กับคุณภาพของใบชาและกระบวนการหมักที่ต่างกันออกไปแล้วแต่ผู้ผลิต สำหรับคุณประโยชน์ของชาดำนั้น ยังมีสารคาเทชิน (Catechins)ซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกับชาเขียว จึงมีประโยชน์ไปในทางเดียวกัน เช่น ต้านมะเร็ง ช่วยในเรื่องโรคหลอดเลือดหัวใจ ช่วยในกระบวนการเผาผลาญ ชะลอความแก่เป็นต้น (อ้างอิงที่ 4)
แอล-คาร์นิทีน (L-carnitine)
แอล-คาร์นิทีน เป็นสารที่ร่างกายสร้างขึ้นได้เอง มีส่วนช่วยในการเผาผลาญกรดไขมัน โดยเป็นตัวนำกรดไขมันชนิด Long chain เข้ามาสู่ไมโตคอนเดรียของเซลล์กล้ามเนื้อ และนำมาสร้างเป็นพลังงานในกล้ามเนื้อ (อ้างอิงที่ 5) กล่าวคือ ทำให้กล้ามเนื้อสามารถใช้พลังงานโดยการสลายไขมันได้นั่นเอง
วิตามินบี 1(Vitamin B1) หรือ ไทอะมีน (Thiamine)
- ช่วยให้ร่างกายได้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต
- มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ (อ้างอิงที่ 6)
วิตามินบี 2 (Vitamin B2) หรือ ไรโบฟลาวิน (Riboflavin)
- ช่วยให้ร่างกายได้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน (อ้างอิงที่ 6)
วิตามินบี 3 (Vitamin B3) หรือ ไนอะซิน (Niacin)
- ช่วยให้เยื่อบุทางเดินอาหารและผิวหนังอยู่ในสภาพปกติ
- ช่วยให้ร่างกายได้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน (อ้างอิงที่ 6)
วิตามินบี 5(Vitamin B 5) หรือ กรดแพนโททีนิค (Pantothenic acid)
- ช่วยในการใช้ประโยชน์ (เมตาบอลิซึม) ของไขมัน และคาร์โบไฮเดรต
- ช่วยในการใช้ประโยชน์ของไขมันและคาร์โบไฮเดรต
- ช่วยในการเมตาบอลิซึมของไขมันและคาร์โบไฮเดรต (อ้างอิงที่ 6)
วิตามินบี 6 (Vitamin B6)หรือ ไพริดอกซีน ไฮโดรคลอไรด์ (Pyridoxine Hydrochloride)
- มีส่วนช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดงให้สมบูรณ์
- มีส่วนช่วยสร้างสารที่จำเป็นในการทำงานของระบบประสาท (อ้างอิงที่ 6)
วิตามินซี (Vitamin C) หรือ กรดแอสคอร์บิก
- ช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง
- มีส่วนช่วยในกระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระ
- มีส่วนช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจน และเนื้อเยื่อของเอ็นกระดูกอ่อน (อ้างอิงที่ 6)
การที่ไม่ใช้น้ำตาลในส่วนผสม แต่ใช้สารให้ความหวานแทน ทำให้ไม่ต้องรับประทานน้ำตาล จึงไม่ได้รับพลังงานส่วนเกิน
เอกสารอ้างอิง
1. ชา, Wikipedia https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8A%E0%B8%B2
2. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 196) พ.ศ. 2543 เรื่อง ชา
3. กระบวนการผลิตชา สถาบันชา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง http://teainstitutemfu.com/main/blog/กระบวนการผลิตชา/
4. Tea and health: studies in humans, Curr Pharm Des.2013;19(34):6141-7
5. Carnitine and physical exercise. Sports Med.1996 Aug;22(2):109-32
6. ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเรื่อง การแสดงข้อความกล่าวอ้างเกี่ยวกับหน้าที่ของสารอาหาร