เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพลูคาวกับภูมิคุ้มกัน

 

พลูคาวกับภูมิคุ้มกัน

 

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพลูคาวกับภูมิคุ้มกัน

 

ปกติแล้วรอบๆ ตัวเรามีเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมมากมายหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นชนิดที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ หรือชนิดที่เกาะอยู่กับตัวมนุษย์ สัตว์และสิ่งของ หรืออยู่ในอาหารที่เรารับประทานเข้าไป เชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้จะจู่โจมร่างกายของพวกเราตลอดเวลา แต่เหตุที่เราไม่เจ็บป่วยก็เพราะร่างกายมีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงคอยช่วยต่อสู้ แต่ถ้าเมื่อใดที่ภูมิคุ้มกันภายในตัวเราอ่อนกำลังลงแล้ว เราก็จะแสดงอาการเจ็บป่วยทันทีดังนั้น
ผู้ที่มีปัญหาภูมิคุ้มกันภายในบกพร่องมักจะป่วยด้วยโรคต่างๆ และอาจเสียชีวิตก่อนวันอันควร ขณะเดียวกันถ้าภูมิคุ้มกันไวเกิน ก็จะป่วยไปอีกแบบได้แก่ เป็นโรคภูมิแพ้ เช่น ลมพิษ หอบหืด จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล รวมถึงโรคที่ร้ายแรงมากขึ้นไปอีก เช่น โรค SLE (เอส แอล อี หรือโรคพุ่มพวง) และรูมาตอยด์ เป็นต้น

ร่างกายมนุษย์มีระบบการป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างการเบื้องต้น เช่น ผิวหนังทำหน้าที่ป้องกันการผ่านของเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจากการสัมผัสขน จมูกและขนตาทำหน้าที่ดักจับสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้าสู่ร่ายกาย แต่หากมีเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่สามารถผ่านเข้ามาในร่างกาย หรือที่เรียกว่า แอนติเจน (Antigen) ร่างกายจะมีระบบภูมิคุ้มกันทำงานร่วมกันหลายแบบโดยเซลล์ที่ทำหน้าที่ในระบบ ภูมิคุ้มกันของร่างกายสร้างมาจากสเตมเซลล์ (Stem cells) ที่อยู่ในไขกระดูก เช่น

  • เซลล์ที่ทำหน้าที่จับกินสิ่งแปลกปลอม เช่น Macrophage, Monocyte, Neutrophil
  • เซลล์เม็ดเลือดขาวขนาดเล็กที่เรียกว่า ลิมโฟไซท์ (Lymphocyte) แบ่งเป็น B-cells ทำหน้าที่ผลิตแอนติบอดี้ (Antibody)
  • T-cells ทำหน้าที่ตอบสนองทางด้านเซลล์ เพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรค
  • เซลล์ที่มี Granule จำนวนมากได้แก่ Eosinophil, Basophil (อ้างอิงที่ 1)

ผู้คนที่สนใจในเรื่องสุขภาพจึงมักจะสนใจดูแลภูมิคุ้มกันภายใน ด้วยการเอาใจใส่เรื่องโภชนาการ เลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ในที่นี้จึงขอแนะนำสารอาหารที่ช่วยในเรื่องการเสริมและปรับสมดุลภูมิคุ้มกันของร่างกายซึ่งก็คือ พลูคาว นั่นเอง

 

พลูคาว (Houttuynia cordata Thunb)

พลูคาวเป็นพืชผักพื้นบ้านของไทย และประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ แระเทศอินเดีย จีน เกาหลี และญี่ปุ่น พลูคาวมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Houttuynia cordata Thunb มีชื่อท้องถิ่นได้หลายชื่อ เช่น พลูคาว ผักคาวตอง ผักก้านตอง ในประเทศไทยพบมากทางภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยภาคเหนือและอีสานใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือกินกับลาบ

การใช้ประโยชน์พื้นบ้านของพลูคาว (อ้างอิงที่ 2)
ภูมิภาคอินโดจีน ใช้ทั้งต้น บรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร ขับปัสสาวะ แก้อาการอักเสบ แก้ลมพิษ ใบใช้แก้บิด

ประเทศจีน ใช้ใบหรือทั้งต้นขับปัสสาวะ รักษาโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ แก้อาการบวมน้ำ ฝีอักเสบ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ไอ และบิด ต้านเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจ

ประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น และอินเดีย ใช้ทั้งต้นเป็นยาลดไข้ ขจัดสารพิษ รักษาแผลในกระเพาะ และอาการอักเสบ รวมทั้งรักพิษแมลงกัดต่อย

ประเทศเกาหลี ใช้พลูคาวรักษาโรคความดันโลหิตสูง อาการเส้นเลือดแข็งตัว และมะเร็ง

ประเทศเนปาล ใช้ลำต้นใต้ดิน ในตำรับยาที่เกี่ยวกับโรคของสตรี ใช้ทั้งต้นเป็นยาช่วยย่อย บรรเทาอาการอักเสบและขับระดู ใบใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง แก้บิด และริดสีดวงทวาร

ประเทศไทย ใช้ในยาแผนโบราณ และยาพื้นบ้าน ใช้เป็นยาแก้กามโรค ทำให้น้ำเหลืองแห้ง แก้โรคผิวหนัง แก้พิษฝี ต้นแก้ริดสีดวง ชาวเขาม้งใช้ผักคาวตองเป็นยารักษาโรคมาเลเรีย

พลูคาวยังมีในตำรับยาอีกหลายขนาน ผลการตรวจสอบทะเบียบตำรับยาแผนโบราณของไทย ในช่วงประมาณ 40 ปีที่ผ่านมา พบในสูตรตำรับยาแผนโบราณที่กระทรวงสาธารณสุขรับขึ้นทะเบียนจำนวน 19 ตำรับ

พลูคาวกับภูมิคุ้มกัน

องค์ประกอบทางเคมีของพลูคาว
พลูคาวมีองค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญ 6 ประเภทคือ น้ำมันหอมระเหย (Volatile oil), สารประเภทฟลาโวนอยด์ (Flavonoids), สารประเภทอัลคาลอยด์ (Alkaloid), สารประเภทกรดไขมัน (Fatty acids), สารประเภทไฟโตสเตอรอล (Phytosterols) และสารประกอบเคมีอื่นๆ ได้แก่ Polyphenolic acid กับแร่ธาตุ เช่น Fluoride, Potassium chloride, Potassium sulfate (อ้างอิงที่ 3)

เภสัชวิทยาของพลูคาว (อ้างอิงที่ 4)
พลูคาวกับภูมิคุ้มกัน

งานวิจัยของพลุคาวกับระบบภูมิคุ้มกัน เป็นเรื่องที่น่าสนใจและแปลกใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะแนวโน้มพบว่า เสริมภูมิคุ้มกันในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ขณะเดียวกันก็ลดถูมิคุ้มกันในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไว้เกิน

ในปี 2003 คณะวิจัยของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการศึกษาฤทธิ์ของพลูคาวต่อเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันของคนในหลอดทดลอง พบว่า สามารถกระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์เม็ดเลือดขาวได้ และได้ทำการศึกษาฤทธิ์ของพลูคาวแคปซูล และยาคำรับสมุนไพรงวงตาลแคปซูล ซึ่งมีพลูคาวเป็นองค์ประกอบ ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรม พบว่า ช่วยเพิ่มการแบ่งตัวของเซลล์เม็ดเลือดขาวของคนปกติในหลอดทดลองได้ (อ้างอิงที่ 15)

ในปี 2005 พบว่า สารสกัดจากพลูคาวสามารถลดการเกิดภูมิแพ้อย่างรุนแรงในเม็ดเลือดขาวมาสต์ เซลล์ (Mast cell-mediated anaphylactic reactions) ซึ่งการวิจัยนี้บอกว่า อาจจะนำไปใช้พัฒนาเป็นยารักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ในทางเดินหายใจได้ (อ้างอิงที่ 16) ในปี 2009 มีงานวิจัยว่าสาระสำคัญในพลูคาวมีผลลดการแพ้ โดยลดการหลั่ง lgE ในเม็ดเลือดขาวที่ทำให้เกิดการแพ้คือ เบโซฟิล (Basophil) (อ้างอิงที่ 17) และมีการค้นพบเพิ่มเติมอีกว่า สาระสำคัญในพลูคาวมีผลลดการแพ้ภูมิแพ้ โดยการหลั่ง lgE ในเม็ดเลือดขาวที่ทำให้เกิดการแพ้ คือ มาสต์เซลล์ (Mast cells) (อ้างอิงที่ 18)

จากข้อมูลของสถาบันวิจัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในปี 2548 ได้ระบุว่า ปัจจุบันมีการจดสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของพลุคาวไม่น้อย กว่า 17 ฉบับ สรุปประโยชน์ได้ 3 เรื่องใหญ่ๆ ดังนี้ (อ้างอิงที่ 19)

1. รักษาภาวะภูมิแพ้ ภูมิไวเกิน เช่น หอบหืด ภูมิแพ้ผิวหนังชนิด Atopic eczema และ Atopic dermatitis, เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ Allergic conjuncvtivitis, หวัดจากภูมิแพ้ (Allergicrhinitis) การแพ้อาหาร (Food allergy) กลุ่มอาหารที่มีสารภูมิแพ้ไอจีอีสูง (Hyper lgE syndrome) หรือ ภูมิต้านทานต่อเนื้อเยื่อตนเอง ได้แก่ โรครูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis)

2. รักษาภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยเป็นส่วนผสมหนึ่งในตัวยารักษาผู้ป่วยเอดส์และผู้ป่วยมะเร็ง หรือผู้ได้รับสารกดภูมิคุ้มกัน

3. เสริมภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย

 

พลูคาวกับฤทธิ์ในการทำลายเซลล์มะเร็ง
มีงานวิจัยที่สนับสนุนว่า สารสำคัญในพลูคาวมีฤทธิ์ที่สามารถทำลายเซลล์มะเร็งต่างๆ ได้ดังนี้

– มะเร็งเมล็ดเลือดขาวของหนูชนิด L1210 (Mouse lymphocytic leukemia cell) (อ้างอิงที่ 5)

– มะเร็งต่อมเม็ดเลือดขาวของคน ชนิด K562 (Human immortalised myelogenous leukemia) (อ้างอิงที่ 5)

– มะเร็งต่อมน้ำเหลืองของคน ชนิด Raji cell line (Brukitt’s lymphoma ; BL) (อ้างอิงที่ 5)

– มะเร็งต่อมน้ำเหลืองของคน ชนิด P3HR cell line (อ้างอิงที่ 5)

– มะเร็งต่อมน้ำเหลืองของคน ชนิด 937 (Histiocyticlymphoma) (อ้างอิงที่ 5)

– มะเร็งปอด (A-549 Adenocarcinomic human alveolar basalepithelial cells) (อ้างอิงที่ 6)

– มะเร็งรังไข่ (OV-3 Human : Adenocarcinoma; ovary) (อ้างอิงที่ 6)

– มะเร็งผิวหนัง (SK-MEL-2 Human Skin Melanoma cell line) (อ้างอิงที่ 6)

– มะเร็งสมอง (XF-498 Gliodlastoma) (อ้างอิงที่ 6)

– มะเร็งลำไส้ (HCT-15 Human, Colon, Adenocarcinoma) (อ้างอิงที่ 6)

– สามารถยับยั้งการแบ่งตัวและทำลายเซลล์มะเร็งลำไส้ (HT-29 Human Colon adenocarcinoma cells) ของคนด้วยกลไก Mitochondria dependent signaling pathway (อ้างอิงที่ 7,8)

 

ในประเทศจีนมีการพลุคาวเป็นส่วนประกอบตำรับยาผงสำหรับรับประทานใช้ในการ รักษามะเร็งหลอดอาหาร และมะเร้งทางเดินหายใจ รวมถึงเนื้องอกในรังไข่ มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม ยังใช้เป็นยาฉีดสำหรับมะเร็งกระเพาะอาหาร และเป็นตำรับยาน้ำรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งหลอดอาหาร และมะเร้งเต้านม นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนประกอบในตำรับยาสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง เพื่อเพิ่มภูมิต้านทานแก่ร่างกาย และรักษาอาการข้างเคียงที่เกิดจากใช้รังสีรักษา และเคมีบำบัด (อ้างอิงที่ 4)

 

พลูคาวกับฤทธิ์ในการทำลายเชื่อไวรัส

มีงานวิจัยที่สนับสนุนว่า สาระสำคัญในพลูคาวมีฤทธิ์ที่สามารถในการทำลาย และ/หรือยับยั้งเชื้อไวรัสได้หลายชนิดคือ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ เอดส์ เริม และไวรัสที่ทำให้เป็นโรคมือเท้าปากเปื่อย ดังนี้

– ฤทธิ์ยับยั้งและทำลายไวรัสไข้หวัดใหญ่ Influenza virus (อ้างอิงที่ 9)

– สาระสำคัญ Quercetin 3-rhamnoside (Q3R) จากพลูคาวมีประสิทธิภาพสูงในการทำลายไวรัสไข้หวัดใหญ่ Influenza A (อ้างอิงที่ 12)

– ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ H1N1 Influenza โดยทดลองในเชื้อที่ทำให้เกิดการติดเชื้อปอดอักเสบแก่หนุทดลอง (อ้างอิงที่ 14)

– ฤทธิ์ยับยั้งและทำลายไวรัสเอดส์ Human immunodeficiency virus type 1 (HIV-1) ได้โดยตรง โดยไม่เป็นพิษต่อเซลล์ของร่างกาย (อ้างอิงที่ 9)

– สาระสำคัญในที่สำคัญคือ Houttuynoside A (1) and Houttuynamide A2 และ Norcepharadiond B มีฤทธิ์ยับยั้งและทำลายไวรัสเริม Herpes simplex virus type 1 (HSV-1) (อ้างอิงที่ 9, 13)

– ฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อเริม Anti-Herpes simplex virus activity ชนิด HSV-2 (อ้างอิงที่ 10)

– ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสเอนเตอโรไวรัส (Enterovirus 71) ซึ่งทำให้เกิดโรคมือเท้าปากเปื่อย (Hand Foot Mouth) ซึ่งมีการระบาดในหลายประเทศ และในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงสามารถทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจ สมอง และเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ (อ้างอิงที่ 11)

ปัจจุบันนี้ในประเทศจีนมีการใช้พลูคาวเป็นส่วนผสมในตำรับยารักษาโรคที่เกิด จากไวรัสโดยมีการจดสิทธิบัตรไว้หลายรายการ เช่น ตำรับยารักษาการติดเชื้อจาก Cytomegalovirus ในคน เป็นส่วนผสมยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) เป็นส่วนผสมสำหรับยาน้ำ สำหรับลดไข้ รักษาหลอดลมอักเสบฉับพลันหรือเรื้อรัง เป็นส่วนประกอบในตำรับยารักษาโรคติดเชื้อฉับพลัน เช่น ไข้หวัดใหญ่ และการติดเชื้อทางเดินหายใจ (อ้างอิงที่ 4)

 

พลูคาวกับการต้านอนุมูลอิสระ และการต้านการอักเสบ
พลูคาวมีสาระสำคัญที่มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด น่าจะเป็นด้วยกลไกของการต้านอนุมูลอิสระ ทำให้มีผลต่างๆ ตามมา ดังนี้

ในปี 2006 มีงานวิจัยว่า สารสกัดจากพลูคาวในรูปของการฉีดมีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้ เป็นการวิจัยในหนูทดลอง ที่ทำให้เยื่อหุ้มปอดอักเสบ ด้วยการฉีดสารเคมีที่ระคายเคืองคือ คาราจีแนน (Carrageenan) เข้าไปทำให้ระคายเคืองต่อเยื่อหุ้มปอด

ในปีเดียวกันมีงานวิจัยทำนองคล้ายกัน พบว่า ด้วยกลไกต้านอนุมูลอิสระ สารสกัดจากพลูคาวสามารถลดการเกิดเนื้อเยื่อพังผืดในปอดของหนูทดลอง (Pulmonary fibrosis) ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบโดยยาบลีโอมัยซินได้อีกเช่นกัน (อ้างอิงที่ 21)

ในปี 2007 มีงานวิจัยว่า สารสกัดจากพลูคาวช่วยปกป้องไตเสื่อมในหนูทดลองที่เป็นเบาหวาน (อ้างอิงที่ 22)

ในปี 2009 มีงานวิจัยว่า พลูคาวเป็นหนึ่งในสมุนไพรห้าชนิดที่มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูงที่ สุด จากสมุนไพรไทย 30 ชนิด ที่มีใช้ในตำรับยารักษาโรคเบาหวาน (อ้างอิงที่ 23)

 

พลุคาวกับการทดสอบความเป็นพิษ
พบว่าสาร decanoyl acetaldehyde ซึ่งแยกได้จากพลูคาวในขนาดประมาณ 1.6 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. เป็นขนาดที่ทำให้หนูถีบจักรตายไปครึ่งหนึ่ง (LD 50) เมื่อฉีดเข้าหลอดเลือดดำสุนัข ในขนาด 38-47 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ทำให้สุนัขตาย และเมื่อกรอกเข้ากระเพาะอาหารของสุนัขวันละ 80-160 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ติดต่อกัน 1 เดือน จะทำให้สุนัขมีน้ำลายออกมาก และระยะแรกมีอาการอาเจียน โดยที่ไม่พบความเป็นพิษอื่นอีก (อ้างอิงที่ 4)

นอกจากนั้นพบว่า พลูคาวมีการกระตุ้นให้เกิดการแพ้แสง (Phyto toxic dermatitis) เป็นรายงานผู้ป่วยหญิงที่บริโภคพลูคาวในรูปแบบที่เป็นน้ำและผงแห้งติดต่อกัน 20 วัน เกิดรอยด่างสีม่วงแดงที่แก้มทั้งสองข้าง และผิวหนังร้อนแดงที่หน้าผาก ลำคอ คาง แขน และฝ่ามือ (อ้างอิงที่ 24)

 

สนใจผลิตภัณฑ์สารสกัดจากพลูคาว คลิ๊ก

 

สามารถนำรหัสสมาชิก 48004219 ไปซื้อได้ที่ศูนย์ธุรกิจกิฟฟารีนทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Fanpage : WeLoveGiffarine
Email : mai-mee-jai@hotmail.com
โทร. 090-0491594 /Line id : praewza

สมัครสมาชิกกิฟฟารีนป้อนข้อมูลที่นี่ค่ะ

 

เอกสารอ้างอิง

1. ความรู้เบื้องต้นของระบบภูมิคุ้มกัน ศูนย์รวบรวมและวิเคราะห์เชื้อเอชไอวีแห่งประเทศไทย (National HIV Repository Bioinformatic Center; NHRBC) ในความร่วมมือของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข http://www.nhrbc.org/HIV_vaccine/paper16.2.html

2. พฤษศาสตร์และการใช้ประโยชน์พื้นบ้านจากผักคาวตอง จารีย์ ปันสิทธิ์ สมุนไพรน่ารู้ผักคาวตอง Houttuynia cordata Thunb สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์ ISBN 9747549778

3. คุณภาพทางเคมีของผักคาวตอง เย็นจิตร เตชะดำรงสิน และคณะสมุนไพรน่ารู้ผักคาวตอง Houttuynia cordata Thunb สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์ ISBN 97475497787

4. กัลยา อนุลักขณาปกรณ์ ผักคาวตองกับการศึกษาทางด้านเภสัชวิทยา สมุนไพรน่ารู้ผักคาวตอง Houttuynia cordata Thunb สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ISBN 97475497784

5. Chang JS, et al, Antlleukemic activity of Bidens pllosa L. Var. minor (Blume) Sherff and Houttuynia cordata Thunb. Am J Chin Med. 2001;29(2):303-12

6. Kim SK, Ryu SY, No J, Chol SU, Kim YS.Cytotoxic alkaloids from Houttuynia cordata. Arch Pharm Res. 2001 Dec;24(6):518-21

7. Tang YJ, et al, Houttuynia cordata Thunb extract induces apoptosis through mitochondrialdependent pathway in HT-29 human colon adenocarcinome cells, Oncol Rep.2009 Nov;22(5):1051-6

8. Lai KC, et al, Houttuynia cordata Thunb extract inhibits cell growth and induces apoptosis in human primary colorectal cancer cells.Anticancer Res. 2010 Sep;30(9):3549-56

9. Hayashl K, Kamiya M, Hayashi T. Virucidal effects of the steam distillate from Houttuynia cordata and its components on HSV-1, Influenza virus, and HIV. Planta Med. 1995 Jun;61(3):237-41

10. Chlang LC,et al, Anti-Herpes simplex virus activity of Bldens pllosa and Houttuynla cordata. Am J Chin Med. 2003;31(3);355-62

 

11. Lin TY, et al. Anit-enterovirus 71 activity screening of Chinese herbs with anti-Infection and Inflammation activities. Am J Chin Med.2009;37(1):143-58

12. Choi HJ, Song JH, Park KS, Kwon DH. Inhibitory effects of quercetin 3-rhamnoside on influenza A virus replication. Eur J Pharm Scl. 2009 Jun 28;37(3-4):329-33, Epub 2009 Mar 14

13. Chou SC, et al, The constituents and their bloactivities of Houttuynia cordata. Chem Pharm Bull (Tokyo). 2009 Nov;57(11):1227-30

14. Pharmacodynamic experiment of the antivirus effect of houttuynia cordata Injection on Influenza virus In mice. Yao Xue Xue Bao. 2010 Mar;45(3):399-402

15. Sriwanthana B, Chavallttumrong P, Threesangsrl W. et al, 2003, Effect of Houttuynia cordata Thunb, On Iymphocyte prollteration of normal. ในผักคาวตองกับภูมิคุ้มกัน บุษราวรรณ ศรีวรรธนะ จารีย์ บันสิทธิ์ สมุนไพรน่ารุ้ผักคาวตอง Houttuynia cordata Thunb สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ISBN 9747549778

16. LI GZ, et al. Inhibitory effects of Houttuynia cordata water extracts on anaphylactic reaction and mast cell activation. Biol Pharm Bull. 2005 Oct;28(10):1864-8

17. Down-regulation of FcepsllonRI expression by Houttuynia cordata Thunb extract in human basophilic Ku812F cells. J Med Food. 2009 Apr;12(2):383-8

18. Han EH, Park JH, Kim JY, Jeong HG. Houttuynia cordata water extract suppresses anaphylactic reaction and lgE-medlated allergic response by Inhlblting multiple steps of FcepsllonRl signallng In mast cells. Food Chem Toxlcol. 2009 Jul;47(7):1659-66. Epub 2009 Apr 24

19. บุษราวรรณ ศรีวรรธนะ จารีย์ บันสิทธิ์ ผักคาวตองกับภูมิคุ้มกัน สมุนไพรน่ารู้ผักคาวตอง Houttuynia cordata Thunb สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ISBN 9747549778

 

20. Lu HM, Liang YZ, Yi LZ, Wu XJ. Anti-Inflammatory effect of Houttuynia cordata Injection. J Ethnopharmacol. 2006 Mar 8;104(1-2):245-9, Epub 2005 Oct 5

21. Ng LT, Yen FL, Liao cww Lin CC.Protective effect of Houttuynia cordata extract on bleomycin-Induced pulmonary fibrosis in rats, Am J Chin Med. 2007;35(3):465-75

22. Wang F, Lu F, Xu L, Effects of Houttuynia cordata thumb on expression of BMp-7 and TGF-betal in the renal tissues of dlabetic rats. J Tradit Chin Med. 2007 Sep;27(3):220-5

23. Antioxidative activity, polyphenollc content and antl-glycation effect of some thai medicinal plants traditionally used In dlabetlc patlents. Med Chem. 2009 Mar;5(2):139-47

24. Saito F, Phytophototoxic dermatitis induced by Houtuynia cordata. Environmental Dermatology 2(3):208-211 ในกัลยาอนุลักชณาปกรณ์ ผักคาวตองกับการศึกษาทางด้านเภสัชวิทยา สมุนไพรน่ารู้ผักคาวตอบ Houttuiynia cordatd Thunb สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ISBN 97475497784