ประโยชน์ของ โคเอนไซม์ คิวเทน เรื่องน่ารู้ของ Coenzyme Q10

โคเอนไซม์ คิวเทน, Co-Enzyme Q10

ประโยชน์ของ โคเอนไซม์ คิวเทน

 

          ประโยชน์ของ โคเอนไซม์ คิวเทน “โคเอนไซม์ คิวเทน” (Coenzyme Q10) หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า โค-คิวแทน (Co-Q10) เป็นสารที่พบในร่างกายตามธรรมชาติ ร่างกายต้องใช้โคเอนไซม์คิวเทนในการเจริญเติบโตของเซลล์ รวมถึงปกป้องเซลล์จากจากการถูกทำลายอันเป็นสาเหตุนำไปสู่การเป็นโรคมะเร็ง

 

สรุปคุณสมบัติของโคเอนไซม์ คิวเทน

– ลดความเสี่ยงในคนไข้ที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือด หรือภาวะหัวใจล้มเหลวจากเลือดคั่ง (Congestive Heart Failure) ทั้งนี้มีงานวิจัยสนับสนุนว่าการรับประทานโคเอนไซม์ คิวเทน 120 มิลลิกรัมต่อวัน ในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือดจะช่วยลดอัตราการเป็นซ้ำ และลดอัตราการเสียชีวิตได้อย่างมีนัยสำคัญ (อ้างอิงที่1) และในปริมาณสูงยังประโยชน์ในการผ่าตัดหัวใจโดยทำให้หัวใจทนทานต่อการขาด เลือดและฟื้นตัวได้ดีขึ้น (อ้างอิงที่2)

– มีบทบาทสำคัญในการทำลายสารอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้น ป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย จึงช่วยป้องกันเรื่องหลอดเลือดหัวใจอันเกิดจากการที่แอลดีแอลโคเลสเตอรอล (LDL Cholesterol) ถูกออกชิไดซ์ (Oxidized) ด้วยอนุมูลอิสระ (อ้างอิงที่3) และสะสมในผนังหลอดเลือด ก่อให้เกิดการอักเสบและผนังหลอดเลือดหนาตัวขึ้นกลายเป็นพล๊าค (Plaque) หรือตะกอนในผนังเส้นเลือด เกาะที่ผนังหลอดเลือด ส่งผลทำให้หลอดเลือดแข็ง ไม่ยืดหยุ่นและตีบตัน นำมาซึ่งปัญหาเรื่องโรคหัวใจได้

– ช่วยลดระยะเวลาที่ปวดต่อครั้ง รวมถึงลดความถี่ในการปวดหัวไมเกรน (Migraine) ทั้งนี้มีงานวิจัยที่แสดงว่า การให้กลุ่มที่เข้ารับการทดสอบ 31 คน ได้รับโคเอนไซม์ คิวเทน ปริมาณ 150 มิลลิกรัมต่อวัน พบว่า 19 คน จาก 31 คน มีระยะเวลาที่ปวดไมเกรนในแต่ละครั้งลดลงมากกว่า 50% กล่าวคือระยะเวลาที่ปวดโดยเฉลี่ย 7.34 วันต่อเดือน ลดลงเหลือเฉลี่ย 2.95 วันต่อเดือน หลังจากได้รับโคเอนไซม์ คิวเทนเป็นระยะเวลา 3 เดือนและช่วยลดความถี่ในการปวดจากเดิมที่ความถี่ 4.85 เหลือ 2.81 โดยไม่มีผลข้างเคียง (อ้างอิงที่ 4.5)

– โคเอนไซม์ คิวเทน ยังเกี่ยวข้องโดยตรงกับการสร้างพลังงานของร่างกาย โดยจะช่วยในการเปลี่ยน อาหารที่เรารับประทานเข้าไปเป็นพลังงานไมโตรคอนเดรียที่อยู่ในเซลล์ร่างกาย ถือว่ามีบทบาทสำคัญในไมโตรคอนเดรียอันเป็นแหล่งผลิตพลังงานของเซลล์ (Key role in mitcohondrial bioener getics) จึงพบโคเอนไซม์ คิวเทนได้มากในอวัยวะใช้พลังงานในการทำงาน มากเช่น หัวใจ ปอด และตับ (อ้างอิงที่ 6-8)

– อาจจะมีประโยชน์ในผู้ป่วยทาลัสซีเมียรุนแรง ชนิดเบต้า ทาลัสซีเมีย อี (Beta-thaiassemia/HbE) ซึ่งจะมีระดับโคเอนไซม์ คิวเทนในเลือดต่ำลงการให้โคเอนไซม์ คิวเทนทำให้ลดภาวะออกซิเดชั่นภายในเซลล์ และอาจทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น (อ้างอิงที่9)

– อาจจะมีประโยชน์ในโรคทางสมอง ได้แก่ โรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ (Dementia) โรคความจำเป็นเสื่อม (Alzheimer”s disease) และโรคปาร์กินสัน (Parkinson”s disease) (อ้างอิงที่ 10) โรคหอบหืด (Bronchialasthma) อ้างอิงที่11) โรคไตเสื่อมเรื้อรัง (Tubulopathy and Chronic tubulointersticial nephritis) (อ้างอิงที่12) แม้ว่าการวิจัยสำหรับโรคปาร์กินสัน โรคหอบหืด และ โรคไต พบว่ายังไม่ได้ผลในการรักษา แต่โรคเหล่านี้มีกลไกจากความเสื่อมของเซลล์ ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระมีบทบาท และพบว่าระดับโคเอนไซม์คิวเทนในเลือดต่ำลงในโรคเหล่านี้ด้วยอีกทั้งมีความ ปลอดภัยและมีประโยชน์จากการวิจัยในระดับเซลล์และในสัตว์ทดลอง ปัจจุบันมีงานวิจัยในคนที่มากขึ้นสำหรับโรคทางสมองเสื่อมอีกหลายชนิด

โคเอนไซม์ คิวเทน, Co-Enzyme Q10, ประโยชน์ของ โคเอนไซม์ คิวเทน

 

กล่าวโดยสรุป โคเอนไซม์ คิวเทนมีบทบาทสำคัญมากมายรวมถึงประโยชน์ต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ไม่ว่าจะช่วยในเรื่องหัวใจการเป็น Antioxidant ที่ทำลายอนุมูลอิสระ เกี่ยวข้องโดยตรงกับการสร้างพลังงานของเซลล์ รวมถึงช่วยในเรื่องการปวดหัวไมเกรน อาจจะมีประโยชน์ในผู้ป่วยทาลัลซีเมียรุนแรง ชนิดเบต้าทาลัสซีเมีย อี (Betathalassemia/HbE) และอาจมีประโยชน์ในโรคทางสมองได้แก่ โรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุโรคความจำเสื่อม และโรคปาร์กินสัน ดังกล่าวมาแล้วเบื้องต้น

          เนื่องจากปริมาณของโคเอนไซม์ คิวเทนที่มีในร่างกายจะลดลงตามวัยที่เพิ่มมากขึ้น การรับประทานโคเอนไซม์ คิวเทน จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการเสริมสุขภาพ

 

 

สรุปคุณสมบัติของทอรีน (Taurine)

ทอรีนเป็นกรดอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมทำเป็นอาหารเสริมในต่างประเทศ พบมากในสมอง ในหัวใจ ในจอตา และในกล้ามเนื้อ ในน้ำนมของมนุษย์มีส่วนในการเมตาบอลิซึมเซลล์ต่างๆ ทั้งเรื่องการคุมการทำงานของแคลเซียมในเซลล์ และการเผาผลาญน้ำตาล ช่วยในการทำงานของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ปัจจุบันนิยมใช้ในเรื่องบำรุงหัวใจและเบาหวาน (อ้างอิงที่13)

ทอรีนเป็นกรดอะมิโนที่มีบทบาทสำคัญในร่างกาย ทอรีนจะเป็นส่วนประกอบหลักของน้ำดี ทั้งนี้มีรายงานวิจัยสนับสนุนว่าการเสริมทอรีนให้แก่ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ ขาดเลือด หรือภาวะหัวใจล้มเหลวจากเลือดคั่ง (Congestive Heart Failure) ให้ผลที่ดีและมีความปลอดภัย (อ้างอิงที่ 14)

สรุปคุณสมบัติของแอล-คาร์นีทีน (L-Carnitine)

แอล-คาร์นิทีนเป็นสารที่ร่างกายสร้างขึ้นไก้เอง มีบทบาทในกระบวนการเผาผลาญ โดยเป็นตัวนำกรดไขมันเข้ามาสู่ไมโตคอนเดรียของเซลล์ มีงานวิจัยที่สนับสนุนว่า แอล-คาร์นิทีนมีประโยชน์ในการช่วยรักษาโรคหัวใจขาดเลือด หรือภาวะทั้งหัวใจล้มเหลวจากเลือดคั่ง (Congestive Heart Failure)

สรุปคุณสมบัติของชิตรัสไบโอฟลาโวนอยด์ (Citrus Bioflavonoid)

ซิตรัสไบโอฟลาโวนอยด์ ถือเป็นสารอาหารสำคัญจากพืชผักและผลไม้ที่เรียกว่า ไฟโตนิวเทรียนท์ (phytonutrients) ชนิดหนึ่ง จัดเป็นแหล่งสำคัญของสารต้านอนุมูลอิสระสูง ซึ่งมีงานวิจัยยืนยัน ยอมรับทั่วโลกในการต่อต้านการเป็นมะเร็งและการเป็นโรคหัวใจ (อ้างอิงที่17)

 

ประโยชน์ของ โคเอนไซม์ คิวเทน

  • ลดความเสี่ยงคนไข้ที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือด
  • มีบทบาทสำคัญในการทำลายอนุมูลอิสระ
  • ช่วยลดระยะเวลาในการปวดหัวไมเกรน
  • เกี่ยวข้องโดยตรงกับการสร้างพลังงานโดยตรงของร่างกาย
โคคิวเทน กิฟฟารีน

สนใจ >> กิฟฟารีน โคคิวเทน แมกซ์

สามารถนำรหัสสมาชิก 48004219 ไปซื้อได้ที่ศูนย์ธุรกิจกิฟฟารีนทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Fanpage : WeLoveGiffarine
Email : mai-mee-jai@hotmail.com
โทร. 090-0491594
Line : @welove.giffarine

> สมัครสมาชิก คลิ๊ก! <

เอกสารอ้างอิง :

1. Effect of coenzyme Q10 on risk of atherocleosis in patients recent myocaraial infarction. Mol Cell Biochem. 2003 Apr:246(1-2):75-82

2.Coenzyme Q10 theapy before cardiac surgery improves mitochondrial function and in Vitro contractility of myocardial tissue. K Thorac Cardiovasc Surg. 2005 Jan:129(1) :25-32.

3.Dietary antioxidants in preventing atherogenesis. Atherosclerosis. 2006 Jul:187(1):1-17, Epub 2005 Nov 28

4.Open label trial of coenzyme Q10 as a migraine preventive, Cephalalgia, 2002 Mar:22(2):137-41

5.Efficacy of coenzyme Q10 in migraine prophylaxis: a randomized controlled trial., Neurology. 2005 Feb 22:64(4) :713-5

6.Coenzyme Q10, Qverview, National Cancer Institute., U.s.National Institutes of Health., www.cancer.gov

7.Coenzyme Q10-Wikipedia,the free encyclopedia.. www.en.wikipedia.org/wiki/Coenzyme_Q

8.Bioenergetic and antioxidant properties of coenzyme Q10:recent developments.. Mol Biotochnol.2007 Sep:37(1):31-7

9.Effect of coenzyme Q10 as an antioxidant in beta-thaiassemia/Hb E patients., Biofactors. 2005:25(1-4):255-34

10. The emerging role of coenzyme Q-10 in aging, neurodegeneration, cardlovascular disease, cancer and diabetes melllitus., Curr Neurovasc Red 2005 Dec:2(5):447-59

11. Decreased levels of coenzyme Q(10) in patients with bronchial asthma. Allergy. 2002 Sep:57 (9):811-4.

12.Effect of coenzyme Q10 in patients with kidney diseases. Cas Lek Cesk. 2001 May 24:140(10):307-10

13. Taurine and its potential therapeutic application . Postepy Hig Med Dosw. 2008 Feb 25:62:75-86

14. Therapeutic effect of taurine in congestive heart fallure: a double-blind crossove trial., Clin Cardiol. 1985 May:8(5)276-82

15. L-carnitine treatment for congestive heart failureexperimental and clinical study., Jpn Circ J. 1992 Jan:56(1):86-94

16. Carnitine from Wikipedia, the free encyclopedia. www.en.wikipedia.org

17. Antioxidant Activities of Flavonoids. Deportment of Environmental and Molecular Toxicology Oregon State University.