สารสกัดเมล็ดองุ่น Grape seed extract

สารสกัดเมล็ดองุ่น Grape seed extract

 

          Proanthocyanidins คือสารที่ได้จากการสกัดเมล็ด และเปลือกขององุ่น สารนี้เมื่อรวมตัวกันจะอยู่ในรูปที่เรียกว่า Oligomeric proanthocyanidin หรือเรียกย่อๆว่า OPC ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น Super Antioxidant

เกรปซีด

Super Antioxidant

          มีคุณสมบัติ และคุณภาพสูงในการกำจัดอนุมูลอิสระในร่างกายของคนเรา(1) ซึ่งอนุมูลอิสระจะเกิดขึ้นตลอดเวลาในร่างกายจากการหายใจ จากขบวนการเผาผลาญในร่างกาย นอกจากนั้นสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี เช่น ควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสีย หรือเมื่อร่างกายอยู่ในสภาวะที่ไม่ดี เช่น เมื่อเกิดความเครียด

          การได้รับสารกันบูดในอาหาร จากยาบางชนิด และรังสีอุตร้าไวโอเลตในแสงแดด ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถกระตุ้นก่อให้เกิดอนุมูลอิสระขึ้นที่บริเวณผิวหนัง และทำปฏิกิริยาต่อเซลล์ข้างเคียง ทำให้เซลล์เสื่อมสภาพจึงทำให้แก่ก่อนวัย ถ้ามีอนุมูลอิสระมากจะก่อให้เกิดโรคแห่งความเสื่อมของร่างกาย เช่น ผิวเสื่อมสภาพ แห้งเหี่ยว หยาบกระด้าง ริ้วรอย และการเกิดการทำลายเซลล์ในร่างกายหรือเซลล์เปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็ง โรคหลอดเลือด โรคหัวใจ และต้อกระจกเป็นต้น(2)

          นอกจากนั้น OPC ยังพบในส่วนของผิว และเมล็ดของผลไม้หลายชนิด คือ บลูเบอรี่ เชอรี่ พลัม ถั่ว ผักบางชนิด รวมทั้งเปลือกสน แต่แหล่งที่สำคัญของ OPC คือเมล็ดองุ่น ความจริงในเนื้อองุ่นทั้งองุ่นเขียว และองุ่นม่วงก็มีอยู่บ้าง แต่ไม่มากเท่าในเมล็ด

          ดังนั้นในไวน์แดงซึ่งได้จากการหมักผลองุ่นพร้อมเมล็ดจึงมี OPC อยู่ไม่น้อย จึงมีผู้แนะนำให้ดื่มไวน์แดงเป็นประจำเพื่อป้องกันโรคหัวใจ อย่างไรก็ตามผู้ที่คาดหวังจะได้OPC มากจากการดื่มไวน์แดงคงจะไม่คุ้มกัน เพราะจะได้รับแอลกอฮอล์เข้าไปไม่น้อย อาจทำให้เป็นโรคตับแข็งก่อนก็เป็นได้(2)

ไวท์แดง

          ในเมล็ดองุ่นแม้จะเป็นแหล่งที่ดีของOPC แต่ก็ไม่แนะนำให้รับประทานเมล็ดองุ่นโดยตรง เพราะมีสารชนิดอื่นๆซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ จึงมีการนำเมล็ดองุ่นมาสกัดได้เป็นสารสกัดจากเมล็ดองุ่น (Grape seed Extract) ซึ่งจะอุดมด้วยสาร OPC พบว่าในสารสกัดจากเมล็ดองุ่นจะมีปริมาณของ OPC สูงสุดคือร้อยละ 95 รองลงมาคือเปลือกสนมี OPCร้อยละ 80-85 นอกจากนี้ OPC จากเมล็ดองุ่นยังมีประสิทธิภาพ และความเข้มข้นสูงกว่าที่พบในเปลือกสนด้วย (2)

          จากการศึกษาพบว่าสารสกัดจากเมล็ดองุ่นมีฤทธิ์ในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่า Vitamin C ถึง 20 เท่า และมากกว่า Vitamin E ถึง 50 เท่า(3) จากการทดลองของนักวิจัยหลายๆท่านพบว่าสารสกัดจากเมล็ดองุ่นสามารถป้องกัน และช่วยลดอาการแทรกซ้อนโรคเรื้อรังต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือด โรคแทรกซ้อนเกี่ยวกับตาในผู้ป่วยเบาหวาน(4)

          โดยจากการทดลองของ Sano et al (2007) พบว่าสารสกัดจากเมล็ดองุ่นสามารถลดระดับ LDL cholesterol ซึ่งเป็นไขมันที่ไม่ดี และก่อให้เกิดโรคไขมันอุดตันหลอดเลือดได้(5) นอกจากนั้นสาร Proanthocyanidin ในสารสกัดจากเมล็ดองุ่นสามารถช่วยลดการแตกหักหรือฉีกขาดของหลอดเลือดได้(6) ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดดำอุดตันจะมีอาการชา, ตะคริว, บวม และการปวดที่บริเวณขา ซึ่งสารสกัดจากเมล็ดองุ่นจะช่วยลดอาการต่างๆได้มากกว่า 50%(7)

เกรปซีอี กิฟฟารีน
ดวงตา

Proanthocyanidin กับดวงตา

          ดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย เมื่อเราทำงานที่ต้องใช้สายตามาก หรือต้องอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ขับรถตอนกลางคืน หรือ มีการมองในที่มีแสงจ้านานๆ โดนแสงแฟลช ดูทีวีมาก และนาน ทำให้เกิดความเครียดต่อดวงตาได้

          ซึ่งจากการทดลองของ Boissin et al (1988) และ Corbe et al (1988) พบว่าสารสกัดจากเมล็ดองุ่นเพิ่มความสามารถในการมองเห็นของตา ทำให้ดวงตาสามารถฟื้นฟูได้เร็วขึ้น ทั้งนี้อาจเนื่องจาก Proanthocyanidin ช่วยเร่งการสร้าง rhodopsin ได้เร็วขึ้น ซึ่ง rhodopsin เป็นสารสีม่วงแดงซึ่งช่วยในการมองเห็นในที่มืดหรือที่สลัว ช่วยให้สายตาปรับการมองเห็นในที่มืดได้ดี โดย rhodopsin จะอยู่ในเซลล์รูปแท่งที่อยู่ในจอประสาทตา

ต้อกระจก

          นอกจากนั้นสารสกัดจากเมล็ดองุ่นยังป้องกันการเสื่อมของดวงตา ป้องกันการเกิดต้อกระจก โดยช่วยปกป้องเซลล์ของจอประสาทตาไม่ให้ถูกทำลายโดยการลดอนุมูลอิสระ และกรองแสงสีน้ำเงินที่จะทำลายดวงตา(8) ซึ่งโรคต้อกระจก ( Cataracts ) คือภาวะที่กระจกตา หรือเลนส์ตาขุ่นทำให้แสงไม่สามารถผ่านเข้าไปในตาได้ตามปกติ ตาจะมัวมากน้อยขึ้นอยู่กับต้อกระจกขุ่นมากน้อยแค่ไหน

          ต้อกระจกไม่ใช่โรคติดต่อ แต่อาจเป็นพร้อมกันทั้งสองตา ต้อกระจกจะค่อย ๆ ขุ่นไปอย่างช้า ๆ ใช้เวลาเป็นปี ๆ ต้อกระจกสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด การผ่าตัดลอกต้อกระจกขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละคน

          โดยจักษุแพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำ และเลือกวิธีการผ่าตัดให้ได้ดีที่สุด สาเหตุหลัก คือ การเปลี่ยนแปลงของส่วนประกอบของเลนส์ตา ทำให้เลนส์ขุ่น และนิวเคลียสแข็งขึ้น พบการเปลี่ยนแปลงนี้ในผู้สูงอายุ พบบ่อยตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป สาเหตุอื่น เช่น จากกรรมพันธุ์ จากอุบัติเหตุตา จากการติดเชื้อ จากการติดเชื้อในครรภ์มารดา ในคนที่เป็นเบาหวานพบว่าเป็นต้อกระจกเร็วกว่าคนธรรมดาอย่างมาก (9)

          นอกจากนั้นสารสกัดจากเมล็ดองุ่นยังมีการพัฒนาเพื่อความงาม โดยพบว่าสามารถลดฝ้า(10) และช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนังให้ผิวแข็งแรง จึงช่วยให้ผิวพรรณมีสุขภาพดี ริ้วรอยเกิดช้าลง (11) จากการทดลองของ Amsellem et al (1987) พบว่าในผู้หญิงที่มีอาการต่างๆก่อนมีประจำเดือน เช่น การปวดประจำเดือน, การบวม, การปวดปีกมดลูก, น้ำหนักเปลี่ยนแปลง และปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดดำ สามารถบรรเทาลงได้ด้วยการได้รับสารสกัดจากเมล็ดองุ่น(12)

ขอบคุณที่มาจาก http://sirinpharmacy.exteen.com/

Giffarine Grape CE Maxx

สามารถนำรหัสสมาชิก 48004219 ไปซื้อได้ที่ศูนย์ธุรกิจกิฟฟารีนทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Fanpage : WeLoveGiffarine
Email : mai-mee-jai@hotmail.com
โทร. 090-0491594
Line : @welove.giffarine

> สมัครสมาชิก คลิ๊ก! <

References:

1. Micromedex ; available from http://www.thomsonhc.com/
2. อะไร คือ แอนตี้ออกซิแดนท์ Available from : http://www.foodsciencetoday.com/
3. Nutall SL, Kendall MJ, Bombardelli E et al: An evaluation of the antioxidant activity of a standardized grape seed extract, Leucoselect(R). J Clin Pharm Ther 1998; 23(5):385-389.
4. Soyeux A, Seguin J-P, Le Devehat C et al: Endotelon – retinopathie diabetique et hemorheologie (etude preliminaire). Bull Soc Ophtamol Fr 1987; 87(12):1441-1443.
5. Sano A, Uchida R, Saito M et al: Beneficial effects of grape seed extract on malondialdehyde- modified LDL. J Nutr Sci Vitaminol (Tokyo) 2007; 53(2):174-182.
6. Maffei Facino R, Carini M, Aldini G et al: Free radicals scavenging action and anti-enzyme activities of procyanidines from Vitis vinifera: a mechanism for their capillary protective action (German). Arzneimittelforschung 1994; 44(5):592-601.

7. Henriet JP: Veno-lymphatic insufficiency: 4,729 patients under therapeutic hormonal supplementation and oligomeric procyanidines. Phlebologie 1993; 46(2):313-326.
8. Boissin JP, Corbe C & Siou A: Chorioretinal circulation and dazzling: use of procyanidol oligomers (French). Bull Soc Ophtalmol Fr 1988; 88(2):173-174,177-179.
9. Proanthocyanidins Available from :ttp://my.opera.com/apichato/blog/?startidx=3
10. Yamakoshi J, Sano A, Tokutake S et al: Oral intake of proanthocyanidin-rich extract from grape seeds improves chloasma. Phytother Res 2004; 18(11):895-899.11. Tixier JM, Godeau G, Robert AM et al: Evidence by in vivo and in vitro studies that binding of pycnogenols to elastin affects its rate of degradation by elastases. Biochem Pharmacol 1984; 33(24):3933-3939.
12. Amsellem M, Masson JM, Negui B et al: Endotelon in the treatment of venolymphatic problems in premenstrual syndrome – multicenter study on 165 patients. Tempo Med 1987; 282:46-51.

 

จัดทำโดย นักศึกษาเภสัชศาสตร์ อัณณ์ชญาน์ อังคศิริกำจร
edit @ 24 Mar 2011 09:02:53 by ศิรินทร์ ฟาร์มาซี Sirin Pharmacy