เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเวย์โปรตีนเข้มข้น เบต้าแคโรทีน และคอลลาเจน
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเวย์โปรตีนเข้มข้น ในปัจจุบันมีผู้ที่สนใจและเริ่มหันมาออกกำลังกายกันมากขึ้น เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงและสวยงาม ซึ่งนอกจากวินัยในการออกกำลังกายที่จำเป็นต้องมีอย่างสม่ำสมอแล้ว “โปรตีน” ยังเป็นหนึ่งสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายในการสร้างและฟื้นฟูกล้ามเนื้อ แหล่งของโปรตีนไม่ได้มีอยู่แค่เพียงในเนื้อสัตว์อย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีอยู่ในอาหารอีกหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นผักใบเขียว ธัญพืช และถั่วชนิดต่างๆ โดยปกติผู้ที่ออกกำลังกายและผู้ที่ต้องการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ มักได้รับปริมาณโปรตีนจากอาหารทั่วไปไม่เพียงพอ ดังนั้น การเสริมด้วยเวย์โปรตีนเข้มข้นจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ง่าย สะดวก และให้ปริมาณโปรตีนสูงตามที่ร่างกายต้องการ
โดยทั่วไปคนที่ไม่ได้ออกกำลังกายควรได้รับโปรตีนประมาณ 0.8- 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กก. และสำหรับคนที่ออกกำลังกายเพื่อต้องการสร้างกล้ามเนื้อ ควรได้รับโปรตีน 1.4-2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กก. เพราะคนกลุ่มนี้ต้องการโปรตีนเพื่อนำไปซ่อมแซมกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกายมากกว่าคนทั่วไปเวย์โปรตีนเข้มข้น เบต้าแคโรทีน และคอลลาเจน มีส่วนประกอบหลักที่สำคัญ ดังนี้
1. เวย์โปรตีน (Whey Protein) เป็นโปรตีนที่สกัดได้จากน้ำนม โดยการนำนมวัวที่คัดแยกจากกระบวนการทำเนยแข็งมาสกัดเอาเฉพาะส่วนที่เป็นคาร์โบไฮเดรตและไขมันออก เพื่อให้เหลือเพียงส่วนที่เป็นโปรตีนบริสุทธิ์ที่เรียกว่า เวย์โปรตีนไอโซเลต ที่มีความเข้มข้นของโปรตีนสูงถึง 95% เวย์โปรตีนชนิดนี้มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ซึ่งร่างกายสามารถย่อยและดูดซึมไปใช้ได้ง่ายและรวดเร็ว มีกรดอะมิโนที่จำเป็น (Essential amino acid) ครบถ้วน โดยเฉพาะกรดอะมิโนชนิด Branched-chain amino acid (BCAA) ได้แก่ Leucine Isoleucine และ Valine ซึ่งมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และเสริมสร้างเนื้อเยื่อต่างๆ จึงส่งผลดีต่อผู้ที่ต้องการเสริมสร้างกล้ามเนื้อและเสริมประสิทธิภาพการทำงานของร่างกาย จากงานวิจัยพบว่า การรับประทานเวย์โปรตีนส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย ดังนี้ (อ้างอิงที่ 1, 2)
– เพิ่มมวลกล้ามเนื้อ เร่งการเผาผลาญไขมัน การรับประทานเวย์โปรตีนเสริมในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน มีส่วนช่วยในการลดการสะสมของไขมัน อีกทั้งยังช่วยรักษาและเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อในระหว่างลดน้ำหนักได้ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงานขณะออกกำลังกาย และช่วยเพิ่มการสังเคราะห์มวลกล้ามเนื้อภายหลังการออกกำลังกาย จึงเหมาะเป็นอย่างยิ่งในการรับประทานเสริมควบคู่กับการออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มมวลกล้ามเนื้อทำให้มีรูปร่างฟิต กระชับ ได้สัดส่วนมากยิ่งขึ้น (อ้างอิงที่ 3)
– ช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงานเป็นปกติ โดยเฉพาะภายหลังการออกกำลังกาย
– มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด
– ช่วยเพิ่มระดับกลูต้าไธโอนให้กับร่างกาย (อ้างอิงที่ 4)เบต้าแคโรทีน ( β-carotene) เป็นรงควัตถุสีแดงถึงส้ม พบมากในพืชและผลไม้ที่มีสี อาทิ แครอท ฟักทอง ข้าวโพดอ่อน มะละกอสุก เป็นต้น เบต้าแคโรทีนถูกจัดเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ (โปรวิตามินเอ) มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบภูมิคุ้มกันของร่ายกายให้ทำงานเป็นปกติ นอกจากนี้ เบต้าแคโรทีนยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถลดอัตราเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆ และป้องกันการเสื่อมของอวัยวะของร่างกาย อีกทั้งยังมีคุณสมบัติที่ช่วยในการมองเห็นในที่มืดได้เป็นอย่างดี รวมทั้งช่วยลดความเสื่อมของเซลล์ของลูกตา และป้องกันการเกิดโรคต้อกระจกอีกด้วย (อ้างอิงที่ 5, 6)
– เพิ่มมวลกล้ามเนื้อ เร่งการเผาผลาญไขมัน การรับประทานเวย์โปรตีนเสริมในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน มีส่วนช่วยในการลดการสะสมของไขมัน อีกทั้งยังช่วยรักษาและเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อในระหว่างลดน้ำหนักได้ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงานขณะออกกำลังกาย และช่วยเพิ่มการสังเคราะห์มวลกล้ามเนื้อภายหลังการออกกำลังกาย จึงเหมาะเป็นอย่างยิ่งในการรับประทานเสริมควบคู่กับการออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มมวลกล้ามเนื้อทำให้มีรูปร่างฟิต กระชับ ได้สัดส่วนมากยิ่งขึ้น (อ้างอิงที่ 3)
– ช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงานเป็นปกติ โดยเฉพาะภายหลังการออกกำลังกาย
– มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด
– ช่วยเพิ่มระดับกลูต้าไธโอนให้กับร่างกาย (อ้างอิงที่ 4)เบต้าแคโรทีน ( β-carotene) เป็นรงควัตถุสีแดงถึงส้ม พบมากในพืชและผลไม้ที่มีสี อาทิ แครอท ฟักทอง ข้าวโพดอ่อน มะละกอสุก เป็นต้น เบต้าแคโรทีนถูกจัดเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ (โปรวิตามินเอ) มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบภูมิคุ้มกันของร่ายกายให้ทำงานเป็นปกติ นอกจากนี้ เบต้าแคโรทีนยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถลดอัตราเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆ และป้องกันการเสื่อมของอวัยวะของร่างกาย อีกทั้งยังมีคุณสมบัติที่ช่วยในการมองเห็นในที่มืดได้เป็นอย่างดี รวมทั้งช่วยลดความเสื่อมของเซลล์ของลูกตา และป้องกันการเกิดโรคต้อกระจกอีกด้วย (อ้างอิงที่ 5, 6)
2. คอลลาเจนบริสุทธิ์โมเลกุลขนาดเล็ก (Low Molecular Weight Collagen) คอลลาเจนจัดเป็นสารที่เป็นองค์ประกอบของผิว ที่มีมากกว่า 70% ของโปรตีนที่ผิว โดยคอลลาเจนจะมีส่วนช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น ความเต่งตึง ความชุ่มชื้น และลดเลือนริ้วรอยให้กับผิวพรรณ
คอลลาเจนบริสุทธิ์โมเลกุลขนาดเล็ก มีความแตกต่างจากคอลลาเจนทั่วไป ดังนี้
– สกัดให้มีความบริสุทธิ์และมีโมเลกุลขนาดเล็กกว่าคอลลาเจนทั่วไปถึง 10 เท่า
– มีปริมาณกรดอะมิโนชนิดพิเศษ 3 ชนิดคือ โพรลีน (Proline) ไฮดรอกซีโพรลีน (Hydroxyproline) และไกลซีน (Glycine) สูงกว่าคอลลาเจนทั่วไป
– มีกรดอะมิโนชนิด โพรลีน (Proline) และไฮดรอกซีโพรลีน (Hydroxyproline) ยึดโยงกันเป็นคู่ๆ ในรูปแบบของไดเปปไทด์ที่มีขนาดเล็ก พร้อมดูดซึม
ดังนั้น คอลลาเจนชนิดนี้จึงสามารถดูดซึมได้อย่างรวดเร็ว และนำไปใช้ในการสร้างคอลลาเจนใหม่ที่ผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพ (อ้างอิงที่ 7)
คอลลาเจนบริสุทธิ์โมเลกุลขนาดเล็ก มีความแตกต่างจากคอลลาเจนทั่วไป ดังนี้
– สกัดให้มีความบริสุทธิ์และมีโมเลกุลขนาดเล็กกว่าคอลลาเจนทั่วไปถึง 10 เท่า
– มีปริมาณกรดอะมิโนชนิดพิเศษ 3 ชนิดคือ โพรลีน (Proline) ไฮดรอกซีโพรลีน (Hydroxyproline) และไกลซีน (Glycine) สูงกว่าคอลลาเจนทั่วไป
– มีกรดอะมิโนชนิด โพรลีน (Proline) และไฮดรอกซีโพรลีน (Hydroxyproline) ยึดโยงกันเป็นคู่ๆ ในรูปแบบของไดเปปไทด์ที่มีขนาดเล็ก พร้อมดูดซึม
ดังนั้น คอลลาเจนชนิดนี้จึงสามารถดูดซึมได้อย่างรวดเร็ว และนำไปใช้ในการสร้างคอลลาเจนใหม่ที่ผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพ (อ้างอิงที่ 7)
เอกสารอ้างอิง
1. Ewan, Ha. And Michael, B. Z. 2003. Functional properties of whey, whey components, and
essential amino acids: mechanisms underlying health benefits for active people (review). The Journal of nutritional biochemistry. 14(5):251-258.
2. Matthew, B.C., Emma, R., Christos, G.S., Paul, J.C. and Alan, H. 2010. Whey protein isolate attenuates strength decline after eccentrically-induced muscle damage in healthy individuals. Journal of the International Society of Sports Nutrition. 7(30):1-9.
3. Farthing, I., Smith-Palmer, T. 2001. The effect of whey protein supplementation with and without creatine monohydrate combined with resistance training on lean tissue mass and muscle strength. Journal of sport nutrition and exercise metabolism. 45(5):998-1003.
4. Keri Marshall, N.M. 2004. Therapeutic Applications of Whey Protein. Alternative Medicine Review. 9(2):136-156.
5. Mayne, S.T.1996. Beta-carotene, carotenoids, and disease prevention in humans. The FASEB Journal. 10(7):690-701.
6. Min-Lee, I., Nancy R.C., Joann E.M., Julie, E.B. and Charles, H.H. 1999. β-Carotene Supplementation and Incidence of Cancer and Cardiovascular Disease: the Women’s Health Study. Journal of the national cancer institute. 91(24):2102-2106.
7. Dybka, K. and Walczak, P. 2009. Collagen hydrolysates as a new diet supplement. Food Chemistry and Biotechnology. 73: 83-92.
1. Ewan, Ha. And Michael, B. Z. 2003. Functional properties of whey, whey components, and
essential amino acids: mechanisms underlying health benefits for active people (review). The Journal of nutritional biochemistry. 14(5):251-258.
2. Matthew, B.C., Emma, R., Christos, G.S., Paul, J.C. and Alan, H. 2010. Whey protein isolate attenuates strength decline after eccentrically-induced muscle damage in healthy individuals. Journal of the International Society of Sports Nutrition. 7(30):1-9.
3. Farthing, I., Smith-Palmer, T. 2001. The effect of whey protein supplementation with and without creatine monohydrate combined with resistance training on lean tissue mass and muscle strength. Journal of sport nutrition and exercise metabolism. 45(5):998-1003.
4. Keri Marshall, N.M. 2004. Therapeutic Applications of Whey Protein. Alternative Medicine Review. 9(2):136-156.
5. Mayne, S.T.1996. Beta-carotene, carotenoids, and disease prevention in humans. The FASEB Journal. 10(7):690-701.
6. Min-Lee, I., Nancy R.C., Joann E.M., Julie, E.B. and Charles, H.H. 1999. β-Carotene Supplementation and Incidence of Cancer and Cardiovascular Disease: the Women’s Health Study. Journal of the national cancer institute. 91(24):2102-2106.
7. Dybka, K. and Walczak, P. 2009. Collagen hydrolysates as a new diet supplement. Food Chemistry and Biotechnology. 73: 83-92.