lecithin ข้อห้าม ทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับเลซิติน
หากถามถึงสารอาหารที่ช่วยดูแลและบำรุงตับ ที่มาแรงที่สุดในตอนนี้ คงจะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจาก เลซิติน ดังนั้น วันนี้ WeLoveGiffarine จะมาไขข้อสงสัย lecithin ข้อห้าม ตอบคำถามเลซิติน อย่างละเอียดและชัดเจนที่สุด ถึงประโยชน์ของเลซิตินค่ะ
อยากรู้เรื่องไหน คลิ๊กเลย..
- เลซิติน คืออะไร
- เลซิติน มีประโยชน์ต่อตับอย่างไรบ้าง
- เลซิตินจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้มั้ย
- Lecithin ข้อห้าม
- เลซิตินของกิฟารีน สกัดและนำเข้ามาจากประเทศอะไร
- ผู้ที่แพ้ถั่วเหลือง ทานได้หรือไม่
- เปลือกแคปซูลของเลซิติน ทำมาจากอะไร
- เลซิตินเหมาะสำหรับคนกลุ่มไหนบ้าง
- เลซิติน ทานวันละกี่แคปซูล
- ตะกอนเลซิติน เกิดจากอะไร และเป็นอันตรายหรือไม่
- เลซิติน มีวิธีเก็บรักษาอย่างไร
Q: เลซิติน คืออะไร และมาจากไหนคะ
A: เลซิติน เป็นไขมันชนิดพิเศษ ที่มีฟอสฟาทิดิลโคลีน เป็นส่วนประกอบ และถูกผลิตขึ้นที่ตับ แต่เราสามารถรับเลซิตินจากแหล่งอื่นๆ ได้ โดยเฉพาะเลซิตินที่ได้จากถั่วเหลือง ถือเป็นแหล่งเลซิตินคุณภาพ และอุดมไปด้วยสารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกด้วยค่ะ
Q: เลซิติน มีประโยชน์ต่อตับอย่างไรบ้างครับ
A: เลซิตินมีสารสำคัญที่ชื่อว่า ฟอสฟาทิดิลโคลีน ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นตัวทำลายไขมันได้ดี มีคุณประโยชน์ ดังนี้
- ปกป้องตับจากการเกิดภาวะไขมันพอกตับ กำจัดไขมันออกจากเซลล์ตับ และยับยั้งการสะสมไขมันในเซลล์ตับ
- ป้องกันตับอักเสบและตับแข็ง
- ลดคอเลสเตอรอล ป้องกันการตกตะกอนของไขมันในผนังหลอดเลือด จึงช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้
- ช่วยบำรุงสมอง และเพิ่มการเผาผลาญไขมันจึงมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักได้นั่นเอง
Q: เลซิติน จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้มั้ยครับ
A: สาเหตุหลักของการเกิดนิ่วในถูกน้ำดีคือ คอเลสเตอรอลที่มากเกินไปในน้ำดี จึงเกิดการตกตะกอนเป็นก้อนนิ่วขึ้นมา เลซิตินมีส่วนช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในน้ำดี จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้นั่นเอง
Q: lecithin ข้อห้าม หรือข้อควรระวังในการรับประทานเลซิตินมั้ยครับ ถ้ารับประทานต่อเนื่องจะมีผลข้างเคียงหรือไม่
A: เนื่องจากสารสกัดจากถั่วเหลืองมีความเป็นสมุนไพรน้อยมาก จึงสามารถทานได้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน โดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย” และไม่มีผลกระทบต่อยา หรือโรคใดๆ ทั้งนี้ ไม่แนะนำในสตรีมีครรภ์ และให้นมบุตร เนื่องจากเป็นข้อห้ามตามหลักการทั่วไปของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แต่สามารถแนะนำในเด็กอายุ 15 ปีขึ้นไปได้
Q: เลซิตินของ กิฟฟารีน สกัดและนำเข้าจากประเทศอะไร
A: เลซิตินพบมากในถั่วเหลือง, ถั่วลิสง, ไข่และตับ แต่จะพบมากที่สุดในถั่วเหลือง “โดยเลซิตินที่กิฟฟารีนเลือกใช้นั้น นำเข้าจาก อเมริกา และสกัดจากถั่วเหลือง” ซึ่งจะให้ประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพได้ดีกว่าแหล่งอื่นๆ เนื่องจากมีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากที่สุด
Q: ผู้ที่แพ้ถั่วเหลือง สามารถรับประทานได้หรือไม่
A: เนื่องจากเลซิตินของกิฟฟารีน “จะสกัดเฉพาะเลซิตินออกมาจากถั่วเหลือง จึงมีโปรตีนอื่นๆ ที่อาจก่อให้เกิดการแพ้น้อยมาก” เช่นเดียวกันกับ สารกลุ่มไอโซฟลาโวน หรือสารคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนจากถั่วเหลือง ทั้งนี้ ในผู้ที่มีความกังวลใจ หากลองทานแล้วมีอาการแพ้ เช่น มีอาการบวม ผื่น หายใจไม่ออก ให้หยุดทาน หรือในผู้ที่ไวต่อสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้มากๆ หรือแพ้รุนแรง แนะนำให้หลีกเลี่ยง
Q: เปลือกแคปซูลของเลซิติน ทำมาจากอะไร
A: “แคปซูลแบบนิ่ม” ทำมาจากเจลาตินซึ่งสกัดจากกระดูกและชั้นไขมันใต้ผิวหนังของวัว ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย และผ่านการรับรองจากอย. ว่ามีมาตรฐาน ปลอดภัย สามารถรับประทานได้โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ
Q: เลซิตินเหมาะสำหรับคนกลุ่มไหนบ้าง
A:
– ผู้ที่มีอาการเกี่ยวกับการทำงานของตับไม่ปกติ เช่น การย่อยอาหารไม่ดี แน่นท้อง จุกเสียด เป็นประจำ อ่อนเพลียง่าย
– ผู้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบบี และซี
– ผู้ที่ดื่มเหล้าเป็นประจำ
– ผู้ที่ต้องการบำรุงตับ
– ผู้สูงอายุ (50 ปีขึ้นไป)
– ผู้ที่ต้องการบำรุงสมอง ป้องกันอัลไซเมอร์
– ผู้ที่ต้องการบำรุงและปกป้องระบบหลอดเลือดและหัวใจ
– ผู้ที่ต้องการบำรุงผิวพรรณ
– ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือมีประวัติคนในครอบครัวที่มีความเสี่ยงต่อการเป็น โรคเกี่ยวกับตับ, ไขมันพอกตับ, เบาหวาน, อ้วน, โรคหัวใจ, อัมพฤกษ์, อัมพาต, มะเร็ง, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง, โคเลสเตอรอลสูง, ไตรกลีเซอไรด์สูง
Q: แนะนำให้ทานเลซิตินวันละกี่แคปซูล
A: ตามปกติแนะนำให้ “ทานวันละ 1 แคปซูล พร้อมอาหาร เวลาใดก็ได้” แต่ในบางรายสามารถเพิ่มปริมาณการทานเป็นวันละ 2 เม็ดได้ ได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
Q: ตะกอนเลซิติน เกิดจากอะไร และเป็นอันตรายหรือไม่ ?
A: ตะกอนที่พบในเลซิติน คือส่วนผสมองแคโรทีนอยด์ ซึ่งไม่ละลายในเลซิติน และแขวนลอยอยู่ในแคปซูล เมื่อตั้งทิ้งไว้จึงเกิดการรวมตัวกันและตกตะกอน ซึ่งเป็นสภาพปกติของส่วนผสมที่ไม่ละลายเป็นเนื้อเดียวกัน “การตกตะกอนของแคโรทีนอยด์ ไม่ส่งผลต่อคุณภาพของเลซิติน และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ”
Q: เลซิตินมีวิธีการเก็บรักษาอย่างไรบ้าง?
A: แนะนำให้จัดเก็บ “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ชนิดแคปซูลนิ่ม (โดยเฉพาะเลซิติน) ไว้ในตู้เย็น (ช่องธรรมดา) เพื่อรักษาสภาพผลิตภัณฑ์ให้ดีที่สุด”
เป็นไงกันบ้างคะ สำหรับข้อมูลดีๆ ที่ WeLoveGiffarine นำมาฝากกัน ที่สำคัญอย่าลืมดูแลตับรับปีใหม่กันด้วยนะคะ ^^
GIFFARINE LECITHIN
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เลซิติน ผสมแคโรทีนอยด์ และวิตามิน อี ชนิดแคปซูลนิ่ม (ตรา กิฟฟารีน)
ตอบคำถาม เลซิติน
สามารถนำรหัสสมาชิก 48004219 ไปซื้อได้ที่ศูนย์ธุรกิจกิฟฟารีนทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Fanpage : WeLoveGiffarine
Email : mai-mee-jai@hotmail.com
โทร. 090-0491594
Line : @welove.giffarine