แคลเซียม กิฟฟารีน แคลดีแมก 600 Giffarine Cal-D-Mag แคลเซียม ผสมวิตามินและแร่ธาตุรวม (60 เม็ด)
แคลเซียม กิฟฟารีน ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแคลเซียม ผสมแมกนีเซียม วิตามิน ซี, สังกะสี, แมกกานีส, ทองแดง, วิตามิน อี และวิตามิน ดี 3 ชนิดเม็ด ตรากิฟฟารีน
สารบัญ
- หน้าที่ของแคลเซียม
- แคลเซียมกับกระดูก
- ความต้องการแคลเซียมต่อวัน
- แคลเซียมกิฟฟารีน
- ข้อห้ามและข้อควรระวัง
เรื่องน่ารู้ของแคลเซียม แร่ธาตุ และวิตามินต่างๆ
แคลเซียม เป็นธาตุที่มีมากที่สุดของร่างกาย เป็นโครงสร้างหลักของกระดูกและฟัน ช่วยในการเจริญเติบโต ช่วยให้กระดูกแข็งแรง ไม่บางหรือแตกหักง่าย เป็นสารอาหารจำเป็นที่คนไทยจำนวนมากขาดแคลน จึงทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา
หน้าที่สำคัญของแคลเซียม
- แคลเซียมเป็นธาตุที่มีมากที่สุดของร่างกาย เป็นโครงสร้างหลักของกระดูกและฟัน
- เสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยป้องกันความผิดปกติของกระดูกและฟัน เช่น กระดูกหักง่าย หลักโก่งงอ กระดูกเรียงผิดรูป หรือฟันหักง่าย
- ป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ช่วยสร้างเนื้อกระดูกให้มีความหนาแน่นมากขึ้น
- ช่วยให้การเจริญเติบโตในด้านความสูงและความแข็งแรงของเด็กในวัยเจริญเติบโต
วิตามินและแร่ธาตุมีคุณประโยชน์ ดังนี้
1. วิตามิน ดี3 เสริมประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซี่ยมให้ดีขึ้น
2. แมกนีเซียม เป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับการเผาผลาญอาหาร ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน ป้องกันการเป็นตะคริว
3. วิตามินซี เสริมสร้างผนังหลอดเลือด ช่วยในการดูดซึมแร่ธาตุ เสริมสร้างเซลล์ให้แข็งแรง
4. สังกะสี เป็นส่วนจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของระบบสืบพันธุ์ เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
5. ทองแดง ช่วยในการหายใจของเซลล์ เป็นส่วนสำคัญของการสร้างเนื้อเยื่อ และมีส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโตของกระดูก
6. วิตามิน อี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันไม่ให้เซลล์เสื่อมสภาพ ช่วยลดการเกิดโรคหลายชนิดที่เกิดจากเซลล์ถูกทำลาย
แคลเซียมกับกระดูก
ในเด็ก แคลเซียมจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและความสูง เป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับเด็กในช่วง “วัยปีทอง” (Growth spurt) ซึ่งเป็นช่วงสะสมมวลกระดูกสำหรับการเจริญเติบโต และเพิ่มมวลกระดูกให้มีปริมาณสูงสุด
สำหรับในผู้ใหญ่ หากร่างกายไม่ได้รับแคลเซียมในปริมาณที่พอเพียง ร่างกายจะดึงแคลเซียมที่สะสมอยู่ในกระดูกออกมาใช้ และหากไม่ได้รับอย่างพอเพียงเป็นประจำ แคลเซียมในกระดูกจะถูกดึงออกมามากจนกระทั่งกระดูกพรุน เปราะ ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลงจึงแตกหักได้ง่าย แม้ว่าได้รับแรงกระแทกเพียงเล็กน้อย ซึ่งอาการดังกล่าวคืออาการของ “โรคกระดูกพรุน” (Osteoporosis) โดยหากเป็นรุนแรงแล้วจึงจะแสดงอาการออกมา เช่น ปวดหลังเรื้อรังหลังค่อมจากการยุบตัวลงของกระดูกสันหลัง หรือกระดูกสะโพกหักทำให้เดินไม่ได้เหมือนเดิม
ในผู้หญิง มีโอกาสเกิดโรคนี้ได้มากกว่าผู้ชายหลายเท่า (ประมาณ 4 เท่า) และผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนนั้น ในช่วง 5 ปีแรกมวลกระดูกจะลดลงอย่างรวดเร็ว จึงมีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนได้ง่าย ดังนั้น คนที่มีการสะสมมวลกระดูกมากตั้งแต่วัยเด็กถึงวัยหนุ่มสาว เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนและวัยชราจะยังมีมวลกระดูกอยู่เหลือมากกว่าคน ที่มีการสะสมมวลกระดูกน้อย และลดความเสียงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนในวัยสูงอายุ (อ้างอิงที่ 1-5)
ความต้องการแคลเซียมต่อวัน
สถานการณ์เกี่ยวกับโภชนาการของแคลเซียมในประเทศไทยมีรายงานสำรวจภาวการณ์ บริโภคอาหารของประชาชนไทย พบว่าโดยเฉลี่ยแล้ว คนไทยรับประทานแคลเซียม จากอาหารประจำวันได้เพียง 301 มก.ต่อวัน ซึ่งค่อนข้างต่ำ (อ้างอิงที่ 6) ขณะที่ทางกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำข้อมูลสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวัน สำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป (Thai Recommended Daily Intakes-Thai RDI) (อ้างอิงที่ 7) โดยแนะนำว่า ปริมาณแคลเซียมที่ควรรับประทานต่อวันอยู่ที่ 800 มก. หรือเมื่อเทียบกับนมกล่อง(UHT) ซึ่งมีค่าปริมาณแคลเซียมอยู่ที่ 122 มก./100 มล. แล้ว (อ้างอิงที่ 8) เทียบเท่ากับการดื่มนมประมาณวันละ 650 ซีซี หรือประมาณ 3 กล่อง
อย่างไรก็ตามปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายต้องการจะเปลี่ยนแปลงตามช่วงอายุ โดยมีข้อมูลจากมูลนิธิโรคข้อในพระราชูปถัมภ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แสดงถึงรายละเอียดความต้องการแคลเซียมต่อวันของบุคคลในช่วงอายุต่างๆ ดังนี้ (อ้างอิงที่ 9)
วัย |
ปริมาณแคลเซียมต่อวัน |
เด็กเล็ก
เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ ( 25-50 ปี ) คนแก่ สตรีหลังหมดประจำเดือน |
600 มก.
800 มก. 1,200 มก. 1,000 มก. 1,000 มก. 1,500-2,000 มก. |
การได้รับแคลเซี่ยมในปริมาณน้อยกว่า 2000 มก. ถือว่า ปลอดภัย สำหรับวัยรุ่นและผู้ใหญ่ทั่วไป ถ้าในปริมาณที่มากกว่า 2000 มก./วัน ถือว่า ไม่ปลอดภัย และอาจเป็นอันตรายได้ ถ้าได้รับเช่นนี้ต่อเนื่องหลายๆ วัน ติดๆ กัน โดยจะทำให้ท้องผูกและอาจทำให้เป็นนิ่วในไตหรือในระบบปัสสาวะได้
สรุปแล้ว แคลเซียม ที่พอเพียงมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย บำรุงกระดูก การขาดแคลนมีผลทำให้ความสูงหยุดชะงักได้ องค์ประกอบที่จะสูงไม่ได้มาจากแคลเซี่ยม แต่เพียงอย่างเดียว อาหารที่มีแคลเซี่ยมสูงหลากหลายให้เลือก และนมเป็นอาหารที่ท่านง่ายที่สุด ในกรณีที่ทานนมไม่ได้ ก็อาจทานอาหารชนิดอื่นหรืออาหารสุขภาพที่ปลอดภัย ซึ่งเสริมแคลเซี่ยมในบ้านเราก็มีหลายชนิดโดยทานปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากจนเกินไป ก็จะเป็นการใส่ใจดูแลทางโภชนาการที่สมบูรณ์
แคลเซียม กิฟฟารีน
กิฟฟารีน แคลดีแมก เหมาะสำหรับใครบ้าง
- ควรแนะนำทุกคนที่ดื่มนมน้อย
- เด็กวัยเจริญเติบโต
- ผู้ที่มีอาการตะคริวบ่อย เพราะมักเป็นอาการเตือนของการขาดแคลเซียม
- ผู้สูงอายุที่มีกระดูกและข้อเสื่อม
ข้อห้าม-และข้อควรระวัง
- ผู้ที่มีประวัติ หรือเป็นโรคนิ่วในไต หรือทางเดินปัสสาวะ เพราะอาจเพิ่มการขับแคลเซียมในปัสสาวะ ทำให้นิ่วโตเร็วได้ ในผู้ที่มีการขับแคลเซียมทางปัสสาวะมากเกินไป
แคลเซียม กิฟฟารีน แคลดีแมก 600
แคลเซียม กิฟฟารีน แคลดีแมก 600 Cal-D-Mag
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแคลเซีย
ส่วนประกอบที่สำคัญโดยประมา
- แคลเซียม 600 มก.
- แมกนีเซียม 53 มก.
- วิตามิน ดี 3 200 หน่วยสากล
- วิตามิน ซี 30 มก.
- วิตามิน อี 3 หน่วยสากล
- สังกะสี 7.5 มก.
- ทองแดง 1 มก.
- แมงกานีส 2 มก.
วิธีรับประทาน : ครั้งละ 1 เม็ด พร้อมอาหารเช้า-เย็น
คำเตือน : อ่านคำเตือนในฉลากก่อนบริโภ
ทะเบียน อย. เลขที่ : 13-1-03440-1-0076
รหัสสินค้า : 40508
ขนาดบรรจุ : 60 เม็ด
น้ำหนักรวม : 145 กรัม
ราคา : 420 บาท
โปรโมชั่น ซื้อ 7 แถม 1 ส่งฟรี!!
แคลเซียม กิฟฟารีน แคลดีแมก Cal-D-Mag
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแคลเซีย
ส่วนประกอบที่สำคัญโดยประมา
- แคลเซียม 400 มก.
- แมกนีเซียม 54 มก.
- วิตามิน ดี 3 90 หน่วยสากล
- วิตามิน ซี 32 มก.
- วิตามิน อี 3 หน่วยสากล
- สังกะสี 4.2 มก.
- ทองแดง 0.45 มก.
วิธีรับประทาน : ครั้งละ 1 เม็ด พร้อมอาหารเช้า-เย็น
คำเตือน : อ่านคำเตือนในฉลากก่อนบริโภ
ทะเบียน อย. เลขที่ : 13-1-03440-1-0037
รหัสสินค้า : 40509
ขนาดบรรจุ : 60 เม็ด
น้ำหนักรวม : 145 กรัม
ราคาปกติ : 248 บาท
สามารถนำรหัสสมาชิก 48004219 ไปซื้อได้ที่ศูนย์ธุรกิจกิฟฟารีนทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Fanpage : WeLoveGiffarine
Email : mai-mee-jai@hotmail.com
โทร. 090-0491594
Line : @welove.giffarine
> สมัครสมาชิก คลิ๊ก! <
เอกสารอ้างอิง
1. เครือข่ายวิชาการสุขภาพเรื่อง แคลเซียม, วิตามินดี, แมกนีเซียม, แมงกานีส, วิตามินซี, สังกะสี, ทองแดง และวิตามินอี. สำนักงานคระกรรมการอาหารและยา
2. Calcium needs of adolescents. Curr Opin Pedlatr. 1994 Aug:6(4):379-82.
3. Calcium, American Academy of Orthopaedic Surgeons.
4. แคลเซียมกับโรคกระดูกพรุน, กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
5. Osteoporosis-related life habits and knowledge about osteoporosis among women in El Salvador: A cross-sectional study BMC Musculoskelet Disord. 2004; 5: 29.
6. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข “ข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันและแนวทางการบริโภคอาหารสำหรับคนไทย” พ.ศ.2532 หน้า 85-90
7. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 182) พ.ศ. 2541 เรื่อง ฉลากโภคชนาการ
8. ตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย, คณะกรรมการสวัสดิการกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ISBN : 974-515-295-1 หน้า 59
9. โรคกระดูกบาง กระดูกพรุน, มูลนิธิโรคข้อในพระราชูปถัมภ์ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี