9 ประโยชน์ของขมิ้นชัน ขุมทรัพย์แห่งเอเชีย
9 ประโยชน์ของขมิ้นชัน สมุนไพรที่มีการใช้มาอย่างยาวนานและแพร่หลาย ทั้งนำมาประกอบอาหาร หรือรับประทานเป็นยารักษาโรค โดยขมิ้นชันนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายในหลายๆ ด้าน จึงมีการนำขมิ้นชันมาสกัด เพื่อให้ได้สารสำคัญ เคอร์คูมินอยด์ ในปริมาณที่สูงและเข้มข้นมากขึ้น
Q: สมัยก่อนคุณยายจะแนะนำให้ทานผงขมิ้นชันเวลามีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ซึ่งดิฉันทานแล้วรู้สึกเห็นผลดี จึงอยากทราบว่า นอกจากบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อแล้ว ขมิ้นชันยังมีประโยชน์ต่อร่างกายในด้านใดอีกบ้างคะ
A: เนื่องจากขมิ้นชันมีฤทธิ์ขับลม จึงช่วยบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อได้ แต่ขมิ้นชันก็มีประโยชน์ต่อร่างกายในด้านอื่นๆ อีกมากมาย โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาวิจัยและพบว่า..
1. ต้านการอักเสบ บรรเทาอาการปวดในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม
2. ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง
3. ต้านเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา
4. กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
5. ยับยั้งเซลล์มะเร็งได้หลายชนิด เช่น มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม
6. บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
7. ป้องกันอัลไซเมอร์
8. ลดระดับน้ำตาลในเลือดมะเร็ง
9. ปกป้องตับจากสารพิษ
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสารสกัดจากขมิ้นชัน และนวัตกรรมเพื่อการดูดซึมที่เหนือกว่า
ขมิ้นชัน (Tumeric) มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Curcuma longa Linn. มีสารสำคัญใน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มน้ำมันหอมระเหย (Volatile Oil) และกลุ่มโพลีฟีนอล (Polyphenol) ที่เรียกว่า เคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoids) โดยเคอร์คูมินอยด์ ประกอบด้วยสารหลัก 3 ชนิด คือ เคอร์คูมิน (77%) demethoxy-Curcumin (17%) และ bis-demethoxy-Curcumin (6%) โดยประมาณ (อ้างอิงที่ 1,2) มีงานศึกษาวิจัยพบว่า ขมิ้นชันมีประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้
ข้ออักเสบ
เคอร์คูมินอยด์มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ จึงมีประโยชน์ในผู้ป่วยที่มีอาการข้อเข่าเสื่อม โดยพบว่าการศึกษาแบบ Randomized double-blind placebo-controlled trail ในผู้ป่วยที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมระดับอ่อน-ปานกลาง เคอร์คูมินอยด์สามารถบรรเทาอาการปวด และปรับปรุงสมรรถภาพทางกายของผู้ป่วยได้อย่างมีนัยสำคัญ และไม่พบอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้เคอร์คูมินอยด์ (อ้างอิงที่ 2-4)
ระบบหัวใจ หลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง
เคอร์คูมินอยด์มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ จึงมีประโยชน์ในระบบหัวใจ หลอดเลือดหัวใจและสมอง (อ้างอิงที่ 3) โดยมีการศึกษาแบบ Randomized double-blind placebo-controlled trail ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า การได้รับเคอร์คูมินอยด์ร่วมกับการรักษาเบาหวานตามปกติ ส่งผลให้ระดับไขมันในเลือดได้แก่ โคเลสเตอรอลรวม, Non-HDL-cholesterol และ Lipoprotein (a) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการรับประทาน และมีระดับ HDL เพิ่มขึ้น จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองลงได้ (อ้างอิงที่ 5 ) อีกงานวิจัยที่น่าสนใจคือ งานวิจัยในหนูทดลอง โดยได้ทดลองผูกเส้นเลือดหัวใจเพื่อให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย พบว่ากลุ่มที่ได้รับสารเคอร์คูมิน จะมีปริมาณกล้ามเนื้อหัวใจตายน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (อ้างอิงที่ 6)
ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งหลายชนิด
มีงานวิจัยพบว่า สามารถให้ขมิ้นชัยเสริมกับยาต้านมะเร็งได้เพราะช่วยเพิ่มการดูซึม หรือเพิ่มความคงตัวของยาต้านมะเร็ง (อ้างอิงที่ 7 ) และขมิ้นชันยังได้รับคำแนะนำว่า น่าจะมีบทบาทในการป้องกันมะเร็งได้มาก เพราะมีกลไกป้องกันมะเร็ง โดยออกฤทธิ์ที่เอนไซม์กระตุ้นการก่อมะเร็ง (Phase I and II carcinogen-metabolizing ensymes) ของสารเหนี่ยวนำมะเร็งอีกด้วย (อ้างอิงที่ 8)
เคอร์คูมินในขมิ้นชัน มีฤทธิ์ยับยั้งและทำลายเซลล์มะเร็งของมนุษย์ได้หลายชนิด เช่น เซลล์มะเร็งตับ, มะเร็งตับอ่อน, เซลล์มะเร็งเม็ดโลหิตขาว T cel Leukemia, เซลล์มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ Bladder cancer cell, เซลล์มะเร็งปอดชนิด Non Small Cell Carcinoma ทำให้มีการเสนอแนะว่า ขมิ้นชันน่าจะมีบทบาทในการป้องกันมะเร็งปอดในผู้ที่สูบบุหรี่ เซลล์มะเร็งผิวหนัง (Melanoma), เซลล์มะเร็งต่อมน้ำเหลือง Non-Hodgkin’s lymphoma, เซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Human colon adenocarcinoma), เซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก, เซลล์มะเร็งรังไข่, เซลล์มะเร็งเต้านม และเนื่องจากขมิ้นชันยับยั้งไวรัส HPV ซึ่งเป็นสาเหตุหลักและปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก ทำให้อาจจะนำมาใช้ในการป้องกันมะเร็งปากมดลูก (อ้างอิงที่ 9-21)
ระบบทางเดินอาหาร
ขมิ้นชันมีฤทธิ์ขับลม จึงช่วยบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ และช่วยลดการเกิดแผลในกระเพาะ ด้วยกลไกการกระตุ้นเมือกมาเคลือบกระเพาะอาหาร และช่วยสมานแผลที่เกิดขึ้นในกระเพาะอาหาร (อ้างอิงที่ 22) ช่วยบรรเทาอาการของโรคลำไส้แปรปรวน (อ้างอิงที่ 23)
ช่วยปกป้องตับ
เคอร์คูมินอยด์มีฤทธิ์ป้องกันตับอักเสบจากสารพิษ (อ้างอิงที่ 24) และมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (Non-Alcoholic Fatty Liver Disease; NAFLD) โดยมีผลการศึกษาว่าการรับประทานขมิ้นชัน ทำให้ค่าเอนไซม์ที่บ่งชี้ถึงความเสียหายของตับลดลง (อ้างอิงที่ 25,26)
ต้านเชื้อจุลชีพ (Antimicrobial)
มีรายงานการศึกษาถึงฤทธิ์ของเคอร์คูมินในการต้านเชื้อจุลชีพต่างๆ ทั้งแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา เช่น ต้านเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pyroli (เป็นเชื้อที่ทำให้แผลในกระเพาะอาหาร) ต้านเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ เอ (อ้างอิงที่ 27,28)
กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
เคอร์คูมินช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (อ้างอิงที่ 29) มีการทดลองแบบสุ่ม Randomized double-blind study ในผู้ป่วย 241 รายที่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis; AR) พบว่าเคอร์คูมินออกฤทธิ์ต่อระบบภูมิคุ้มกัน บรรเทาอาการจาม น้ำมูกไหลและคัดจมูก ทำให้หายใจได้สะดวกขึ้น (อ้างอิงที่ 30)
ช่วยป้องกันอัลไซเมอร์ ปกป้องเซลล์สมอง
ปัจจุบันมีการค้นพบว่า โรคอัลไซเมอร์หรือสมองเสื่อมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในกลุ่มที่อายุน้อยลงเรื่อยๆ และกลไกของต้านอนุมูลอิสระอาจมีบทบาทในการป้องกันการเกิดโรคนี้ได้ มีงานวิจัยที่ระบุว่า ขมิ้นชันเป็นหนึ่งในสมุนไพรที่มีบทบาทในการป้องกันโรคนี้ (อ้างอิงที่ 31-33)
ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
เคอร์มูมินอยด์มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด มีการศึกษาแบบ Randomized double-blind placebo-controlled trail ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดหลังการอดอาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง (Fasing Blood Sugar; FBS) และระดับน้ำตาลสะสมเฉลี่ยสามเดือนในเม็ดเลือดแดง (Hemoglobin A1C) ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ (อ้างอิงที่ 34-36)
อย่างไรก็ตาม ร่างกายมนุษย์ยังไม่สามารถใช้ประโยชน์ดังกล่างข้างต้นจากเคอร์คูมินอยด์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากเคอร์คูมินอยด์ละลายน้ำได้น้อย จึงไม่ค่อยละลายในลำไส้ และมีโมเลกุลที่ใหญ่ จึงถูกดูดซึมผ่านผนังลำไส้ได้ยาก และถูกกำจัดออกจากร่างกายได้อย่างรวดเร็ว จึงมีการพัฒนาให้อยู่ในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้มีชีวปริมาณออกฤทธิ์ (Bioavailability) สูงขึ้น เช่น การทำให้อยู่ในรูปฟอสโฟลิปิด (Phospholipids) หรือ ไฟโตโซม (Phytosome) เป็นต้น เพื่อช่วยเพิ่มการดูดซึมสารเคอร์คูมินอยด์
นวัตกรรมใหม่ที่ช่วยเพิ่มการดูดซึมของสารเคอร์คูมินคือ
เทคโนโลยี Polar and Non-polar Sandwich (PNS) ซึ่งมีหลักการพื้นฐานเรื่อง โมเลกุลที่มีขั้วจะรวมตัวกับโมเลกุลที่มีขั้วด้วยกัน โมเลกุลที่ไม่มีขั้วจะรวมตัวกับโมเลกุลที่ไม่มีขั้วด้วยกัน โดยโมเลกุลที่มีขั้วจะไม่รวมตัวกับโมเลกุลที่ไม่มีขั้ว
ซึ่งสารเคอร์คูมิน ถือเป็นโมเลกุลที่ไม่มีขั้ว ขณะที่ผนังลำไส้เป็นกลุ่มที่มีขั้ว จึงทำให้เคอร์คูมินถูกดูดซึมได้ยาก
นวัตกรรม PNS นี้ เป็นการจัดเรียงโมเลกุลใหม่ (Complete Natural Turmeric Matrix; CNTM) โดยในขั้นแรก จะสกัดสารที่อยู่ในขมิ้นชันออกมาเป็น 3 กลุ่มใหญ่คือ
1. เคอร์คูมิน
2. กลุ่มน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากการกลั่นขมิ้น เช่น bisabolanes และ sesquiterpenes (กลุ่มไม่มีขั้ว)
3. สารสกัดจากน้ำที่เป็นกลุ่มคาร์โบไฮเดรต ใยอาหารและโปรโตีน (กลุ่มมีขั้ว)
จากนั้นใช้เทคโนโลยี PNS จัดเรียงให้เคอร์คูมิน ถูกประกบอยู่ระหว่างส่วนที่มีขั้วและไม่มีขั้ว จึงถูกดูดซึมผ่านผนังลำไส้ได้ดีขึ้น และช่วยให้ถูกกำจัดออกได้ช้าลง ทำให้โดยรมแล้ว ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ (Bioavailability) ได้มากขึ้น (อ้างอิงที่ 37-39)
โดยมีงานวิจัยในผู้ชายสุขภาพดีอายุ 18-45 ปี จำนวน 12 คนพบว่า
– ขมิ้นชันที่ผลิตด้วยเทคโนโลยี PNS มีการดูดซึมของเคอร์คิวมินสูงกว่ารูปแบบสารสกัดแบบทั่วไปถึง 10 เท่า (ค่า Cmax) และ 5.5 เท่า (ค่า AUC) (อ้างอิงที่ 1)
และงานวิจัยในผู้ชายสุขภาพดีอายุ 18-45 จำนวน 45 คน พบว่า
– ขมิ้นชันที่ผลิตด้วยเทคโนโลยี PNS มีการดูดซึมของเคอร์คูมินสูงกว่ารูปแบบ Curcumin Volatile Oils ถึง 3.5 เท่า (ค่า Cmax) และ 7.3 เท่า (ค่า AUC) (อ้างอิงที่ 38)
– ขมิ้นชันที่ผลิตด้วยเทคโนโลยี PNS มีการดูดซึมของเคอร์คูมินสูงกว่ารูปแบบ Curcumin Phospholipids หรือ Phytosome ถึง 2.4 เท่า (ค่า Cmax) และ 5.6 เท่า (ค่า AUC) (อ้างอิงที่ 38)
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอื่นที่ศึกษาที่ใช้สาร Piperine (สารสกัดจากพริกไทย) ซึ่งช่วยเพิ่มการดูดซึมและช่วยชะลอการเผาผลาญว่า การรับประทานเคอร์คูมินร่วมกับสารสกัดจากพริกไทย สามารถช่วยเพิ่มการดูดซึมสารเคอร์คูมินได้ (อ้างอิงที่ 40-42)
การศึกษาความปลอดภัยของขมิ้นชัน
การศึกษาพิษเฉียบพลันของขมิ้นชันในหนู พบว่า ไม่ทำให้เกิดอาการพิษเฉียบพลัน และไม่ทำให้หนูตาย ส่วนการศึกษาพิษเรื้อรังของขมิ้นชันในหนู พบว่า ไม่ทำให้เกิดอาการพิษใดๆ รวมทั้งไม่มีผลต่อค่าทางโลหิตวิทยา หรือค่าเคมีคลินิก และไม่ทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะภายใน (อ้างอิงที่ 43)
ข้อควรระวัง
การใช้ขมิ้นชันเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ห้ามใช้ในผู้ที่มีท่อน้ำดีอุดตัน เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน (อ้างอิงที่ 44) ควรระวังหรือหลีกเลี่ยงในผู้ที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดและเกล็ดเลือด (อ้างอิงที่ 3)
ทั้งนี้ ขมิ้นชันก็ยังมีข้อควรระวัง โดยจะไม่แนะนำในผู้ที่มีท่อน้ำดีอุดตัน ผู้ที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด รวมถึงเด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน หากใครที่ต้องการดูแลสุขภาพด้วยวิธีธรรชาติ ขมิ้นชันก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อยเลยค่ะ
สามารถนำรหัสสมาชิก 48004219 ไปซื้อได้ที่ศูนย์ธุรกิจกิฟฟารีนทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Fanpage : WeLoveGiffarine
Email : mai-mee-jai@hotmail.com
โทร. 090-0491594
Line : @welove.giffarine