เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ โปรตีน (Protein)
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ โปรตีน “โปรตีน (Protein)” มาจากคำภาษากรีกว่า Proteios ซึ่งหมายถึงมีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง โปรตีนเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่พบมากในเซลล์และเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตเป็นอันดับ 2 รองจากน้ำ ในร่างกายของเราจะมีโปรตีนอยู่ประมาณมากกว่า 1 ใน 7 ของน้ำหนักตัว โปรตีนจะช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโต และซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย โปรตีนหลายชนิดเป็นเอนไซม์ที่ช่วยเร่งและควบคุมปฏิกิริยาเคมีในสิ่งมีชีวิตบางชนิด ทำหน้าที่ควบคุมระบบต่างๆ ให้ทำงานได้ตามปกติ ในกรณีที่ร่างกายขาดพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตและไขมัน ก็จะสามารถได้รับพลังงานจากการสลายโปรตีนได้ด้วย อาหารที่มีโปรตีนมากได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่ นม และถั่วชนิดต่างๆ เมื่อสลายจะให้พลังงานประมาณ 4 กิโลแคลอรี
เมื่อเรารับประทานโปรตีนเข้าไปในร่างกายจะผ่านกระบวนการย่อยของร่างกาย ทำให้ได้หน่วยที่เล็กที่สุดของโปรตีน ที่จะสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ เรียกว่า กรดอะมิโน (Amino acid) กรดอะมิโนแต่ละโมเลกุลประกอบด้วยธาตุหลัก 4 ธาตุ ได้แก่ ไฮโดรเจน ออกซิเจน คาร์บอน และไนโตรเจน โดยยึดกันด้วยพันธะเพปไทด์ นอกจากนั้นกรดอะมิโนบางชนิดยังมีกำมะถัน (S) และฟอสฟอรัส (P) เป็นส่วนประกอบด้วย
กรดอะมิโนที่พบในพืชและสัตว์มีประมาณ 20 ชนิด ทั้งนี้เราสามารถแบ่งกรดอะมิโนได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
1. กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย (Essential amino acid) เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้เอง หรือสร้างได้ปริมาณน้อยมาก ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จำเป็นต้องได้จากอาหารที่รับประทานเข้าไปเท่านั้น เพื่อช่วยในการสร้างร่างกาย และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอให้ดีขึ้น กรดอะมิโนกลุ่มนี้มีอยู่ 8 ตัว คือ ลิวซีน (leucine) ไอโซลิวซีน (isoleucine) ไลซีน (lysine) เมไธโอนีน (methionine) เฟนิลอะลานีน (phenylalanine) ธรีโอนีน (threonine) ทริปโตเฟน (tryptophan) และวาลีน (valine) สำหรับเด็กต้องการกรดอะมิโนจำเป็นเพิ่มขึ้นอีกตัว คือ ฮิสติดีน (histidine)
2. กรดอะมิโนที่ร่างกายสังเคราะห์ได้ (non-essential amino acid) เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้จากกรดอะมิโนและสารอินทรีย์ชนิดอื่นๆ เช่น อะลานีน (alanine) อาร์จินีน (arginine) ซีสเตอีน (cysteine) โปรลีน (proline) และไทโรซีน (tyrosine) เป็นต้น
(อ้างอิงที่ 1)
ถ้าแบ่งโปรตีนตามหลักโภชนวิทยา สามารถแบ่งโปรตีนออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. โปรตีนประเภทสมบูรณ์ (Complete protein) คือ โปรตีนทีมีกรดอะมิโนชนิดที่จำเป็นต่อร่างกายครบทุกตัว ร่างกายสามารถนำมาใช้สร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้ดี เป็นโปรตีนที่ได้รับจากสัตว์ เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ ไข่ นม ถั่วเหลือง
2. โปรตีนประเภทไม่สมบูรณ์ (Incomplete Protein) คือ โปรตีนที่มีกรดอะมิโนชนิดจำเป็นไม่ครบทุกตัว คือมีไม่พอ เป็นโปรตีนที่ร่างกายน้ำมาใช้สร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอไม่ดี เป็นโปรตีนที่ได้จากพืช เด็กที่ได้รับเฉพาะโปรตีนชนิดนี้อย่างเดียวจะทำให้การเจริญเติบโตไม่เต็มที่ และอาจเป็นโรคขาดโปรตีนก็ได้ (อ้างอิงที่ 2)
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อ 1 วัน สำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป อยู่ที่ 50 กรัมต่อวัน และกำหนดข้อความกล่าวอ้างเกี่ยวกับหน้าที่ของโปรตีนไว้คือ
- จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย
- ให้กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อการสร้างโปรตีนชนิดตางๆ ในร่างกาย (อ้างอิงที่ 3-4)
โปรตีนคุณภาพที่นิยมนำมาใช้ทำผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มักจะเป็นโปรตีนสกัดจากถั่วเหลือง (Isolated Soy Protein) และโปนตีนสกัดเข้มข้นจากนม (Whey Protein Concentrate) หรือทั้ง 2 ชนิดผสมกัน เพราะเป็นโปรตีนประเภทสมบูรณ์
โปรตีนสกัดจากถั่วเหลืองนั้น เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2542 คณะกรรมการอาหารและยา (FDA) สหรับอเมริกา ได้อนุญาตให้เขียนบนฉลากอาหารซึ่งมีโปรตีนจากถั่วเหลืองเป็นส่วนประกอบว่า โปรตีนจากถั่วเหลืองสามารถลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจโคโรนารีได้ ทั้งนี้มีรายงานว่าการผสมโปรตีนจากถั่วเหลืองลงในอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลต่ำ จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงของโรคหัวใยโคโรนารี การทดลองทางคลีนิกก็แสดงให้เห็นว่า การบริโภคโปรตีนจากถั่วเหลืองเมื่อเทียบกับโปรตนชนิดอื่น เช่น โปรตีนจากนม หรือจากเนื้อจะสามารถลดระดับโคเลสเตอรอล และแอลดีแอลโคเลสเตอรอลได้ (อ้างอิงที่ 5)
ส่วนโปรตีนสกัดเข้มข้นจากนม หรือที่เรียกกันว่าเวย์โปรตีนนั้น เป็นโปรตีนสกัดที่ทำมาจากเวย์ ซึ่งเกิดขึ้นในกระบวนการทำเนยแข็ง (Cheese) จากนม (อ้างอิงที่ 6) ปริมาณโปรตีนสำหรับผลิตภัณฑ์เหล่านี้อยู่ที่ประมาณ 80%
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ โปรตีน (Protein)
สามารถนำรหัสสมาชิก 48004219 ไปซื้อได้ที่ศูนย์ธุรกิจกิฟฟารีนทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Fanpage : WeLoveGiffarine
Email : mai-mee-jai@hotmail.com
โทร. 090-0491594
Line : @welove.giffarine
รับสมัครตัวแทนทั่วประเทศ
เอกสารอ้างอิง :
1. โปรตีน. วิชาเคมี สารชีวโมเลกุล. สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) (ส.ส.ท). http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?passTo=2a983123eb4b6f15be09db25ceeb2302&pageid=6&bookID=140&read=true&count=true
2. ประเภทของโปรตีน. วิชาเคมี สารชีวโมเลกุล. สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) (ส.ส.ท). http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?passTo=dda5e890439d4305d1dbd2aec309ecd0&bookID=140&pageid=7&read=true&count=true
3. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 182 ) พ.ศ.2541 เรื่อง ฉลากโภชนาการ. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
4. ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงข้อความกล่าวอ้างเกี่ยวกับหน้าที่ของสารอาหาร. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
5. Health Claims; Soy Protein and Coronary Heart Disease; Final Rule. Federal Register 64 FR 57699 October 26, 1999 – Food Labeling. U.S. Food and Drug Administration.
http://www.fda.gov/Food/LabelingNutrition/LabelClaims/
HealthClaimsMeetingSignificantScientificAgreementSSA/ucm074740.htm
6. Whey protein. Wikipedia, the free encyclopedia. http://en.wikipedia.org/wiki/Whey_protein