เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับมัทฉะ
มัทฉะ คือ ชาเขียวนั่นเอง มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Camellia sinensis เพียงแต่ ว่า มัทฉะเป็นผงบดละเอียดของชาเขียวชนิดที่ได้รับการดูแลเป็นพิเศษ คือ อยู่ในที่ร่มได้รับการเก็บเกี่ยวและทำให้แก้งอย่างดีทำให้มีรสชาติหวานหอมอร่อยพิเศษสุด ชาทำนองนี้มีหลายชนิด ทุกชนิดจะได้รับจากการปลูกแบบประคบประหงมภายในร่ม ก่อนที่จะเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้กลิ่นและรสที่ดีที่สุด
กล่าวคือ หลังจากที่ใบชาเริ่มแตกยอดนั้นจะไม่ให้ยอดใบชาถูกแสงแดด ทำให้ชะลอการเติบโตของใบชา เป็นผลทำให้ใบชามีสีเขียวเข้มขึ้น มีการสร้างกรดอะมิโนซึ่งทำให้ใบชามีรสหวานขึ้น แล้วเลือกเก็บเกี่ยวเฉพาะใบชาที่ดีที่สุดด้วยมือ หลังจากนั้นแล้วถ้าใบชามีลักษณะที่ม้วนงอ ก็จะ ถูกจัดเกรดเป็น เคียวกูโระ Gyokuro เป็นชาเขียวญี่ปุ่นที่ถือได้ว่าเป็นชาชั้นสูงที่สุดถ้า ใบชาไม่ม้วนงอ แต่แผ่อออกคล้ายแป้ง มีสีเขียวอ่อนๆ จึงจะเป็นชาที่เรียกว่า มัทฉะ ดังนั้น เมื่อพูดถึงมัทฉะแล้ว ก็จะหมายถึง ใบชาญี่ปุ่นชั้นดีที่บดละเอียด และเป็นชา ที่ถูกนำไปใช้ในพิธีชงชาของประเทศ ญี่ปุ่น มีพิธีการ อุปกรณ์ และวิธีชงที่เป็น เอกลักษณ์ เฉพาะตัว
จากข้อมูลกระบวนการผลิตมัทฉะดังกล่าวมาแล้วนั้น จะเห็น ได้ว่ามัทฉะเป็นใบชาบดผง ซึ่งเมื่อนำมาใช้ในพิธีชงชา ก็จะใช้ผงมัทฉะมาละลายเลย ดังนั้น การดื่มมัทฉะจึงเป็นการรับประทานใยชาทั้งใบ ต่างจากการดื่มชาแบบอื่นที่จะใช้ใบชาชงกับน้ำร้อน แล้วดื่ม เฉพาะน้ำชา ส่วนกาชาก็จะถูกทิ้งไป ปัจจุบันนี้ได้มีการประยุกต์นำมามัทฉะมาทำเป็นเครื่องดื่มโดยทำเป็นผงมัทฉะ บรรจุ อยู่ในซองเวลาจะได้รับประทานให้เทผงมัทฉะลงในขวดน้ำเปล่า หรือน้ำแร่ จากนั้น ก็เขย่า ให้ผงละลายจนเข้าดี แล้วก็จะได้ชาเขียวมัทฉะที่มีรสชาติและความหอมเฉพาะตัว รสชาติของมัทฉะจะเข้ม ขมเล็กน้อย(ขมแบบชา) มีกลิ่นหอมกว่าชาเขียว ทั่วไป มีสีขุ่น ไม่ใสเหมือนชาเขียวที่ได้จากการชงแบบอื่น เช่น ชงโดยใช้ถุงชา และมีตะกอนอยู่บ้าง นับได้ว่าเป็นอีกวิถีทางหนึ่งในการดื่มชาเขียวที่ง่าย สะดวก ได้ประโยชน์ จากชาเขียวทั้งหมด เนื่องจาก เป็นการรับประทานใบชาทั้งใบ อีกทั้งมีกลิ่นที่หอม รสชาติที่อร่อยเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
คุณประโยชน์ของมัทฉะก็จะเหมือนใบชาทั่วไป ให้ประโยชน์แก่ร่างกายมากมาย หลายประการ โดยมีสารสำคัญที่ทำให้เกิดประโยชน์ (Active Health Component) ที่เรียกว่า โพลีฟีนอล หรือเรียกกันทั่วไปว่า คาเทซิน ( Catechins) ชึ่ง Catechins นี้ จะมีปริมาณ 3040 % ของส่วนที่เป็นของแข็งที่สามารถสกัดได้จากใบชาเขียวแห้ง (อ้างอิงที่1)
คาเทชินที่อยู่ในชาเขียวประกอบไปด้วย Epigallocatechin-.-gallate(EGCG) Epicatechi-.-gallate epicatechin epigallocatechin’ Gallocatechin Gallat and Catchin ในทั้งหมดนี้ สารที่มีมากที่สุดคือ Epigallocatechin-.-gallate หรือ อี จี ซี จี (EGCG) ขนาดใบชาเขียวแห้ง 1ซอง (1.5กรัมต่อซอง) จะให้ EGCG ประมาณ 35-110 mg (อ้างอิงที่2) EGCG นับได้ว่า เป็นสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าการรับประทานแครอท บรอคเคอรี ผักโขม และสตรอเบอรรี่ ในขนาดที่รับประทาน ในแต่ละมื้อ (อ้างอิงที่4) ซึ่งมีงานวิจัยรองรับมากมายถึงประโยชน์ของสาระสำคัญตัวนี้ อาทิเช่น
ช่วยลดความอ้วน
ด้วนกลไกของการกระตุ้นปฏิกิริยาออกซิ-เดชันของไขมัน มีรายงานวิจัยที่มีข้อมูลสนับสนุนว่า EGCG ช่วยเพิ่ม กระบวนการการเผาพลาญพลังงานของเนื้อเยื่อไขมัน และมีรายงาน การทดลองในคนแล้ว ว่าช่วยลดความอ้วนได้ (อ้างอิงที่ 5-8) นอกจากนี้มีงานวิจัยที่ทำในคนไทย ผู้ที่น้ำหนักเกินเป็น2กลุ่มได้รับสารสกัดชาเขียวและยาปลอม กลุ่มได้รับชาเขียวมีน้ำหนักน้อยกว่า 2.7, 5.1 และ 3.3 ก.ก.ในสัปดาห์ที่ 4, 8 และ 12 ของการวิจัย (อ้างอิงที่9)
ช่วยลดไขมันในเลือด
แม้จะลดไขมันในเลือดได้ไม่มากนัก แต่ก็มีงานวิจัยที่ดีรองรับสองงานวิจัย ในงานวิจัยแรกพบว่า เมื่อรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การดื่มชาในปริมาณปานกลางหรือปริมาณมากร่วมด้วย จะลดปริมาณไขมันในเลือดชนิดไตรกลีเซอไรค์ลงได้อย่างมีนัยสำคัญ ในช่วง 6ชั่วโมง หลังรับประทานอาหารและดื่มชา โดยลดการเพิ่มระดับ ของไขมันชนิดไตรกลีเซอรไรด์ ในเลือดได้ถึง 15.1-28.7% (อ้างอิงที่10) อีกงานวิจัยพบว่า ผู้ที่ดื่มชาประมาณสองถ้วยต่อวัน สามารถลดไขมันในเลือดชนิดโครเลสเตอรรอลลงได้ เล็กน้อย (119.9 เป็น 106.6 มก./ดล.) แต่ก็มีนัยสำคัญทางคลินิก (อ้างอิงที่ 11)
ช่วยโรคเส้นเลือดอุดตัน
มีรายงานวิจัยว่า สาระสำคัญในชาเขียวสามารถการหดเกร็งของเส้นเลือดฝอยลดการเกิดตะกอน (Plaque) ในเส้นเลือดฝอย ทำให้ลดอุบัติการณ์ ของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด (Myocardial inflation) และอัมพฤกษ์ อัมพาต จาก เส้นเลือดตีบตัน (อ้างอิงที่12-16) นอกจากนี้ EGCG ยังเป็นตัวยับยั้งการเกิดการ สันดาป Oxidation ของโคเลสเตอรรอล ทำให้ลดการเกิดการสะสมสร้างตะกอน ในเส้นเลือดจากโคเรสเตอรรอล ทำให้ลดการเกิดเส้นเลือดแข็งตัวตีบตัน และลดอุบัติการณ์ของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ(Coronary Athero sclerosis) (อ้างอิงที่ 17-19)ในงานวิจัยในสัตว์ทดลองยังลดการเกิดเส้นเลือดในปอดตีบตัน( pulmonary thrombosis) อีกด้วย (อ้างอิงที่ 15) ส่งให้เป็นผลดีต่อสุขภาพของ หลอดเลือดหัวใจ ไม่นานนี้มีงานวิจัยทางระบาดวิทยาในคนญี่ปุ่น พบว่า ผู้ที่ดื่มชาเขียว จะลดการเกิดโรคเส้นเลือดทางสมอง ทั้งโรคเส้นโลหิตในสมองแตก (Cerebral hemorrhahe) และเส้นเลือดสมองตีบ ได้จริง (อ้างอิงที่ 20)
ต่อต้านอนุมูลอิสระและต่อต้านมะเร็ง ( Antioxidant and anticancer)
ชาเขียวมีผลต่อการยับยั้งการเกิดมะเร็ง ได้หลายชนิดทั้งในคนและสัตว์ เพราะมี ฤทธิ์ทางด้านการต้านอนุมลอิสระอย่างมาก จากการวิเคราะห์ งานวิจัยที่เชื่อถือได้ของ Cochrane database ตีพิมพ์ล่าสุด จำนวน 51 งานวิจัยทั่วโลก แม้จะมีจำนวนงาน วิจัยที่จำกัด พบว่าการดื่มชาเขียวลดอุบัติการณ์เกิดมะเร็งหลายชนิด เช่นมะเร็งตับ มะเร๊งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็ง ลำไส้ และมะเร็งตับอ่อน (อ้างอิงที่ 21)
ข้อห้ามหรือข้อควจระวังของมัทฉะ
เนื่องจากมัทฉะ เป็นชาที่บดจากใยชาโดยตรง จึงยังคงมีคาเฟอีนได้เล็กน้อย คล้ายกับกาแฟ ข้อห้ามจึงคล้ายกับกาแฟ คือผู้ที่ทานกาแฟแล้วใจสั่น นอนไม่รับ ก็ไม่ควรรับประทานมัทฉะ และผู้ที่เป็นโรคหัวใจชนิดที่มีหัวใจเต้นเร็ว และโรคไทรอยด์เป็นพิษ ในระยะที่ยังคุมไม่ได้และมีใจสั่นหัวใจเต้นเร็ว ก็ไม่ควจรับประทานน้ำชา กาแฟ รวมทั้งมัทฉะเช่นกัน
เอกสารอ้างอิง
1. The growth Factor, Vol. No. 3/03 –Meita (P) No. 214 / 04 / 2002 ; A Publication of Roche Vitamins Asia Pacific Pte Ltd.
2. Catechins in Green Tea, TEAVIGO TM Roche Vitamins Ltd, data no file
3. Antloxidant chemistry of green tea catechins, Idenfiflcation of products of the reaction of (-) eplgollocotechin gollote with peroxyl radicals 1999 Apr;12(4):382-6.
4. http://www.woridconsortium.com/med_studies.htm
5. TEAVIGO and modulation of obesity, EGCG attenuates body fat occumulation, TEAVIGO TM Roche Vitamins Ltd, data on file
6. Effcocy of a green tea extract rich in catechin polyphenols and caffeine in increasing 24-h energy expenditure and fat oxldation in humans 1999 Kec;70(6): 1040-5.
7. Green tea and thermogenesis: interactions between catechin-polyphenols. Caffeine and sympathetic activity, Int J Obes Reslt Metob Disord. 2000 Feb;24(2):252-8
8. Anit-obesity effect of tea catechins in humans, j Oleo Scl 2001;50:599-605.
9. Effectiveness of greentea on welght redeution in obese Thais: A randomized, controlled trial.Physlol Benav, 2008 Feb 27;93(3):486-91, Epub 2007 Oct 18.
10. Effect of tea catechins on postprandlol plasma lipld responses in humon subjects, br J Nutr, 2005 Apr;93(4):543-7.
11. Effectiveness of noderate green tea consumption on antioxidative status and plasma llpid profile in humans, J Nutr Biochem, 2005 Mar;16(3):144-9
12. Tea fiavonlods and cardlovasculor dlseases : a review. Crit Rev Food Sci Nutr 1997;37:771-785
13. Inhibitory effects of puritied green tea epicatechins on contraction of arterial smooth muscle cells. Acta Phamacol Sin 2000;21(9):835-840
14. Tea catechins prevent the development of artheroscleroses ln apoprotein E-deficient mice. J Nutr 2001;131:27-32
15. Antithrombotic octivities of green tea catechins and (-)-Eplgallocatechins Gallate. Thromb Res 1999;96:229-237
16. Possible contrlbution of green tea drinkinghabits to the prevention of stioke. Tohulu J Exp Med 1989;157:337-343
17. TEAVIGO and cardlovascular health, A potent antlox don’t and antiotterogenic ogent TEAVIGO TM Roche Vitamins Ltd. Data on file
18. Tea catechins inhibit cholesterol oxidation accomparying oxidation of low density llpoprotein invitro. Comp Blochem Physiol Part C 2001 Feb;128(2):153-64
19. Relationship between green tea consumption and the severity of coronary atherosclerosis among Japanese men and women. Ann Epidemiol 2000;10:401-408
20. Consumption of green and roasted teas and the risk of stroke incldence:resuits from the Tadamachi-Nakasato cohort study in Japan int J Epidemlol. 2008 Oct;37(5):1030-40
21. Green tea (Camellla sinenses) For the prevention of cancer. Cochrane Database Syst Rev. 2009 Jul 8:(3) CD005004
22. Matcha,From Wlkipedia, the free encyclopedia.http://en.wilipedla.org/wiki/matcha
23. Green Tea. From Wikpedia.the free encyclopedia http://en.wikipedio.org/eiki/Green_tea
24. ชาญี่ปุ่น โครงการบริการอาคารสถานที่ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://www.asia.tu.ac.th/leas/leas_buiding4.htm