ประโยชน์ของใยอาหาร (Dietary Fiber) ที่มีต่อสุขภาพ

ประโยชน์ของใยอาหาร

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ประโยชน์ของใยอาหาร (Dietary Fiber) ที่มีต่อสุขภาพ

          ประโยชน์ของใยอาหาร โดยทั่วไปเมื่อมีกากอาหาร (อุจจาระ) ตกค้างในลำไส้ แบคทีเรียที่มีอยู่ในลำไส้ยังคงทำการย่อยสลายต่อไป และก่อให้เกิดสารเป็นพิษได้ เช่น การย่อยสลายโปรตีนทำให้เกิดสารพิษประเภท เอมีน (amines) เป็นต้น ซึ่งหากระบบขับถ่ายปกติ ร่างกายก็จะไม่สะสมสารพิษเหล่านี้ไว้เพราะจะขับเป็นอุจจาระออกมาในเวลาไม่นาน อย่างไรก็ตาม หากมีอาการท้องผูก โดยเฉพาะผู้ที่เป็นท้องผูกเรื้อรัง

          ของเสียที่เป็นสารเป็นพิษจะไม่ถูกกำจัดออกไปตามปกติ แต่จะถูกดูดซึมกลับเข้าสู่กระแสเลือดในร่างกายอีกครั้งหนึ่ง ก่อให้เกิดอาการที่เรียกว่า autointoxication หรือการดูดซึมสารพิษกลับเข้าสู่ตนเอง (อ้างอิงที่ 1)

          ภาวะท้องผูกเรื้อรังจึงเป็นภัยต่อร่างกายอย่างร้ายแรง และอาจจะเป็นจุดเริ่มของโรคต่างๆไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็งลำไส้ เชื้อราในลำไส้ ท้องอืด ผายลมแล้วมีกลิ่นเหม็น มีกลิ่นตัว กลิ่นปากริดสีดวงทวาร เป็นต้น ดังนั้นการกระตุ้นการขับถ่ายให้เป็นปกติด้วยใยอาหาร จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่แนะนำเนื่องจากเป็นโภชนาการที่ถูกต้อง

 

มีบทความทางการแพทย์มากมายได้กล่าวถึงบทบาทของใยอาหารต่อสุขภาพของมนุษย์ สรุปได้ดังนี้
  • ช่วยในการขับถ่ายของลำไส้ใหญ่ (อ้างอิงที่ 2) ช่วยเพิ่มมวลของกากอาหาร (อ้างอิงที่ 3)
  • ช่วยป้องกันและรักษาอาการท้องผูก ริดสีดวงทวาร (อ้างอิงที่ 2, 4)
  • ช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (อ้างอิงที่ 2, 5)
  • ช่วยควบคุมน้ำหนัก ใยอาหารชนิดละลายน้ำจะทำให้อาหารอยู่ในกระเพาะนานขึ้น(delay gastric emptying time)โดยการฟอร์มตัวเป็นเจลเหนียวในกระเพาะ (อ้างอิงที่ 2)ทำให้รู้สึกอิ่มนาน จึงรับประทานอาหารน้อยลง
  • มีประโยชน์ในการควบคุมระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด (อ้างอิงที่ 2)
  • ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและการทำหน้าที่ของแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ใหญ่ ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรค ช่วยทำให้เยื่อบุผิวของลำไส้แข็งแรง (อ้างอิงที่ 2)
  • การรับประทานใยอาหารในปริมาณที่สูง อาจช่วยลดความเสี่ยงที่จะนำไปสู่การเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน (อ้างอิงที่ 4)
เส้นใยอาหาร

ใยอาหาร (Dietary Fiber)

          เป็นส่วนประกอบของพืช จึงพบใยอาหารได้ในอาหารที่ได้จากพืช (Phyto-)เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช ใยอาหารปัจจุบันจัดได้ว่าเป็นกลุ่มหนึ่งของอาหารสุขภาพ แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ

  • ใยอาหารชนิดที่ไม่ละลายน้ำ (Insoluble fiber) หมายถึงใยอาหารที่ไม่สามารถละลายในน้ำได้ แต่จับตัวกับน้ำได้ จึงทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม เส้นใยชนิดนี้ ช่วยเพิ่มปริมาณกากอาหาร จึงช่วยกระตุ้นลำไส้ให้เกิดการขับถ่าย (อ้างอิงที่ 2, 3, 6, 7) ดังนั้นจึงมีประโยชน์ในการป้องกันโรคท้องผูก (อ้างอิงที่ 4, 6) และช่วยป้องกันมะเร็งในลำไส้ใหญ่ (อ้างอิงที่ 2)เพราะมีปริมาณอุจจาระมากขึ้น จึงช่วยเจือจางสารพิษที่อาจจะปนมา และช่วยเร่งการขับถ่ายให้เกิดเร็วขึ้น จึงช่วยลดการเกิดสารพิษที่เกิดจากการย่อยสลายของแบคทีเรีย อันเนื่องจากการค้างของกากอาหารเป็นเวลานาน รวมถึงช่วยลดระยะเวลาที่สารพิษจะสัมผัสกับลำไส้ตัวอย่างของใยอาหารประเภทนี้ เช่น เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส พบได้ในผัก ผลไม้ รำข้าว เป็นต้น (อ้างอิงที่ 6)
  • ใยอาหารชนิดที่ละลายน้ำ (Soluble fiber) หมายถึงใยอาหารที่สามารถละลายน้ำได้ เมื่อถูกน้ำจะฟอร์มตัวเป็นเจลเหนียว (อ้างอิงที่ 7) และถ้าถูก ferment ได้ดี จะทำให้ลำไส้ใหญ่มีแบคทีเรียมาก เกิดแก๊สในอุจจาระได้มากจึงอาจเพิ่มน้ำหนัก และปริมาตรของอุจจาระได้ (อ้างอิงที่ 2) ช่วยให้การขับถ่ายเป็นไปได้อย่างสะดวก นอกจากนี้ ใยอาหารชนิดนี้จะลดการดูดซึมของกลูโคสผ่านเยื่อบุผิวของลำไส้ ลดการดูดซึมของไขมัน จึงมีประโยชน์ต่อการควบคุมระดับโคเลสเตอรอล และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด (อ้างอิงที่ 2, 4)ตัวอย่างของใยอาหารประเภทนี้ เช่น ไซเลียม ฮัสค์(Psyllium Husk) (อ้างอิงที่ 7) อาคาเซีย กัม(Acacia Gum) (อ้างอิงที่ 8) เบต้า-กลูแคน (Beta-Glucan) (อ้างอิงที่ 9)อินนูลิน (Inulin) (อ้างอิงที่ 10)

 

          มีงานวิจัยยืนยันว่าการรับประทานไซเลียม ฮัสค์ ช่วยเพิ่มปริมาณกากอาหาร ทำให้อุจจาระมีลักษณะอ่อนนุ่ม (อ้างอิงที่ 11) ลดโคเลสเตอรอลรวม ลดแอลดีแอล โคเลสเตอรอล (LDL Cholesterol) หรือโคเลสเตอรอลชนิดไม่ดี แต่ไม่ลด เอชดีแอล โคเลสเตอรอล (HDL Cholesterol) หรือโคเลสเตอรอลชนิดดี (อ้างอิงที่ 12)

          นอกจากนี้ การรับประทานใยอาหาร ร่วมกับอาหารสุขภาพอื่น เช่น คลอโรฟิลด์ ก็จะช่วยผสานประโยชน์มากยิ่งขึ้นไป เพราะคลอโรฟิลด์สามารถต้านพิษ หรือยับยั้งการทำงานของสารพิษ ในการก่อมะเร็งได้หลายชนิด เช่น สามารถต้านพิษ หรือยับยั้งการทำงานของสารพิษ ในการก่อ มะเร็งผิวหนังของหนูทดลองได้ (อ้างอิงที่ 13)

          ที่สำคัญคือ สามารถต้านพิษ อะฟลาทอกซิน (Aflatoxin)ในการก่อมะเร็งตับในมนุษย์ได้ (อ้างอิงที่ 14) นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยสนับสนุนที่ทำในคนที่ประสบเหตุได้รับสารพิษ Polychlorinated dibenzofurans (PCDFs) และ Polychlorinate dibenzo-p-dioxins (PCCDS) จากเหตุการณ์เกิดอาการเป็นพิษของน้ำมันรำข้าวที่เมือง Yusho ประเทศญี่ปุ่น

          พบว่าการรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งเป็นอาหารที่มีใยอาหารและสารคลอโรฟิลล์ มีระดับสารพิษในเลือดลดลง มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับประทานผลิตภัณฑ์อาหารที่ดีต่อสุขภาพนี้ (อ้างอิงที่ 15) รวมถึงงานวิจัยที่ช่วยลดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ในผู้สูงอายุที่กลั้นปัสสาวะไม่ได้ พบว่ากลุ่มที่รับประทานคลอโรฟิลล์นั้นมีค่าเฉลี่ยความรุนแรงของกลิ่นปัสสาวะลดลงมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับคลอโรฟิลล์ (อ้างอิงที่ 16)

สามารถนำรหัสสมาชิก 48004219 ไปซื้อได้ที่ศูนย์ธุรกิจกิฟฟารีนทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Fanpage : WeLoveGiffarine
Email : mai-mee-jai@hotmail.com
โทร. 090-0491594
Line : @welove.giffarine

> สมัครสมาชิก คลิ๊ก! <

เอกสารอ้างอิง

1. Intestinal autointoxication: a medical leitmotif.J Clin Gastroenterol. 1989 Aug;11(4):434-41

2. ใยอาหาร โดย ดร.นพ.ประสงค์ เทียนบุญ. หน่วยโภชนศาสตร์และศูนย์วิจัยโภชนาการคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. http://www.med.cmu.ac.th/dept/nutrition/DATA/COMMON/cmunut-deptped/ped601-prasong/ped601-fiber%20PNST%202549-prasong.pdf

3. Dietary fiber, inulin, and oligofructose: a review comparing their physiological effects.Crit Rev FoodSci Nutr. 1993;33(2):103-48

4. Health benefits of dietary fiber.Nutr Rev. 2009 Apr;67(4):188-205. doi: 10.1111/j.1753-4887.2009.00189.x

5. The health benefits of dietary fiber: beyond the usual suspects of type 2 diabetes mellitus, cardiovascular disease and colon cancer. Metabolism. 2012 Aug;61(8):1058-66. doi: 10.1016/j.metabol.2012.01.017. Epub 2012 Mar 7

6. ใยอาหารกับสุขภาพที่ดี. ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี.สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ. http://edtech.ipst.ac.th/index.php/2011-07-29-04-02-00/2011-08-09-07-27-38/19-2011-08-09-06-29-18/1603-2013-12-04-07-25-23.html

7. Soluble vs. insoluble fiber.A.D.A.M. Medical Encyclopedia. U.S. National Library of Medicine. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmedhealth/PMH0002811/

8. The effect of acacia gum and a water-soluble dietary fiber mixture on blood lipids in humans.J Am Coll Nutr. 1993 Apr;12(2):147-54

9. The role of viscous soluble fiber in the metabolic control of diabetes. A review with special emphasis on cereals rich in beta-glucan. Diabetes Care. 1997 Nov;20(11):1774-80

10. Fiber and Prebiotics: Mechanisms and Health Benefits. Nutrients. Apr 2013; 5(4): 1417–1435

11. An unfermented gel component of psyllium seed husk promotes laxation as a lubricant in humans. Am J Clin Nutr. 2000 Sep;72(3):784-9

12. Psyllium-enriched cereals lower blood total cholesterol and LDL cholesterol, but not HDL cholesterol, in hypercholesterolemic adults: results of a meta-analysis. J Nutr. 1997 Oct;127(10):1973-80

13. Inhibitory effects of chlorophyllin on 7,12-dimethylbenz[a]anthracene-induced bacterial mutagenesis and mouse skin carcinogenesis. Cancer Lett. 1999 Oct 18;145(1-2):57-64

14. Chlorophyllin intervention reduces aflatoxin-DNA adducts in individuals at high risk for liver cancer. Proc Natl Acad Sci U S A. Dec 4, 2001; 98(25): 14601–14606

15. Promotive excretion of causative agents of Yusho by one year intake of FBRA in Japanese people. Fukuoka Igaku Zasshi. 2005 May;96(5):241-8

16. Effect of chlorophyllin on urinary odor in incontinent geriartric patients. Drug Intell Clin Pharm. 1983 Oct;17(10):732-4