เรื่องน่ารู้ของโคลีน และวิตามินบี คอมเพล็กซ์

โคลีน Choline

เรื่องน่ารู้ของโคลีน และวิตามินบี คอมเพล็กซ์

 

          เรื่องน่ารู้ของโคลีน และวิตามินบี คอมเพล็กซ์ “โคลีนและวิตามินบี-คอมเพล็กซ์” เป็นสารอาหารที่จำเป็น และช่วยในการทำงานของระบบประสาท เช่น ความจำและการทำงานของกล้ามเนื้อ ช่วยในการขนส่งไขมันและโคเลสเตอรอล ช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือดและหลอดเลือดหัวใจ และช่วยในการทำงานของตับให้เป็นปกติ การขาดโคลีนในสัตว์ทดลอง ทำให้เกิดไขมันสะสมในตับ และนำไปสู่การเป็นมะเร็งตับ

โคลีน

โคลีน เป็นสารอาหารสำคัญตัวหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย มีความสำคัญต่อความสมบูรณ์ของโครงสร้างของผนังเซลล์ (Structural integrity of cell membranes) เมตาบอลิซึมของเมธิล (Methyl metabolism) การส่งผ่านของกระแสประสาท (Cholinergic neuotransmission) การส่งสัญญาณผ่านหนังเซลล์ (Transmembrane) signaling) และเมตาบอลิซึม กับการขนส่งของไขมันและโคเลสเตอรอล (อ้างอิงที่1)

          โคลีน เป็นสารตั้งต้นหลักในการสังเคราะห์สารสื่อประสาทที่มีชื่อว่า อะเซททิลโคลีน (Acetylcholine) ซึ่ง Acetylcholine นี้เป็นสารสื่อประสาทสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความจำ การควบคุมกล้ามเนื้อ และหน้าที่อื่นๆ อีกหลายอย่าง (อ้างอิงที่1) ดังนั้นโคลีนจึงมีผลต่อขบวนการส่งกระแสประสาทที่เกี่ยวข้องกับความจำและการ รับรู้เรียกได้ว่ามีบทบาทในพัมนาการด้านการเรียนรู้ โดยเฉพาะระบบความจำ (อ้างอิงที่2) รวมถึงมีการศึกษาในการใช้เพื่อป้องกันและรักษาโรคความจำเสื่อม (Alzhelmer”s disease) ด้วย (อ้างอิงที่3)

          บทบาทสำคัญอีกประการหนึ่งของโคลีน คือ ทำให้ตับสามารถทำการขนถ่ายไขมันได้ (Fat transporation) และลดการสะสมไขมันในตับ (Hepatic steastosis) การทดลองในหนูพบว่า หากขาดโคลีนก็จะเกิดการสะสมไขมันที่ตับ (อ้างอิงที่4) การศึกษาวิจัยในคนก็พบว่า ผู้ที่ได้รับอาหารทางเส้นเลือดและมีการขายโคลีนก็จะเพิ่มไขมันสะสมในตับเช่น กัน และยังมีระดับเอนไซม์ของตับสูงขึ้น ซึ่งเป็นอาการของภาวะตับอักเสบอีกด้วย และเมื่อได้รับโคลีนก็จะลดการสะสมไขมันและลดการอักเสบของตับได้จริง (อ้างอิงที่5) สำหรับสัตว์ทดลอง เช่น หนู สภาวะที่ตับมีไขมันสะสมนี้ ยังร่วมไปกับเพิ่มอัตราการเป็นมะเร็งที่ตับได้ (อ้างอิงที่6) ในทางกลับกันเมื่อหนูทดลองเหล่านี้ได้รับโคลีนเสริม ก็ลดการเกิดมะเร็งในตับได้เช่นกัน (อ้างอิงที่7)

          นอกจากประโยชน์ดังกล่าวข้างต้นแล้ว โคลีนยังมีประโยชน์ในดานช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือดและหลอดเลือด หัวใจด้วย (อ้างอิงที่1)

         ปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกาย ใน 1 วัน (Adequate intake) สำหรับผู้ใหญ่เพศชายและหญิงคือ 550 mg และ 425 mg ตามลำดับ (อ้างอิงที่1) มีรายงานการวิจัยถึงผลกระทบของการขาดโคลีนในมนุษย์ว่า จะมีผลทำให้ปริมาณโคลีนลดลง และเกิดความเสียหายต่อตับได้ (อ้างอิงที่ 8,9)

 

เรื่องน่ารู้ของโคลีน และวิตามินบี คอมเพล็กซ์

ข้อดีของโคลีน และวิตามินบี, เรื่องน่ารู้ของโคลีน และวิตามินบี คอมเพล็กซ์

วิตามินบี –คอมเพล็กซ์ คืออะไร

          โคลีนบี กิฟฟารีน ประกอบไปด้วย วิตามินบี-คอมเพล็กซ์ หรือ วิตามินบีรวม เป็นกลุ่มของวิตามินที่มีความจำเป็นต่อเส้นประสาทและความสมบูรณ์ของอวัยวะ ต่างๆ ช่วยบำรุงร่างกาย ผิวหนังและ ระบบประสาท วิตามินบีรวมประกอบด้วย วิตามินบี 1 (Thiamine) วิตามินบี 2 (Riboflavin) วิตามินบี 3 (Niacin) วิตามินบี 5 (Pantothenic acid) วิตามินบี 6 (Pyridoxine) วิตามินบี 12 (Cyanocobalamin) นอกจากนี้ยังมีกรดโฟลิค (Folicacid) โคลีน (choline) อิโนซิทอล (inosltol) และ ไบโอติน (Biotin) อีกด้วย (อ้างอิงที่10)

 

วิตามินบีต่างๆ มีหน้าที่ดังต่อไปนี้

วิตามินบี 1 (Thiamine ) มีความสำคัญต่อเมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรตหากขาดจะทำให้เกิดโรคเหน็บชา และจะแสดงอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทระบบหัวใจและหลอดเลือด ทางระบบประสาท จะมีอาการชาตามมือตามเท้าตากระตุก แขนขาอ่องแรง ส่วนอาการทางสมองพบว่า เนื้อสมองจะถูกทำลายผู้ป่วยจะมีอาการความจำเสื่อม ซึมเศร้า กระสับกระส่าย ทางระบบหัวใจและหลอดเลือดพบว่า หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น หัวใจมีขนาดโตขึ้นและมีความผิดปกติของการบันทึกคลื่นหัวใจ (อ้างอิงที่ 10)

วิตามินบี 2 (Riboflavin) มีความจำเป็นต่อการหายใจของเซลล์เมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรตและไขมัน เป็น Co-enzyme ในการเปลี่ยนวิตามินบี 6 และกรดโฟลิคให้อยู่ในรูป Active ทั้งยังทำหน้าที่รักษาสภาพของเยื่อบุผิวและ Mucosa ให้เป็นปกติ หากขาดจะมีอาการแสดงทางจา ริมฝีปากและผิวหนัง เริ่มแรกนั้นริมฝีปากจะอักเสบ แห้งและแตก มุมปากจะซีดแตก เรียกลักษณะดังกล่าวว่าปากนกกระจอก (Angular stomatitis) และเมื่อเป็นมากขึ้นจะมีอาการทางผิวหนัง ใบหน้ามีสะเก็ดมันๆ ต่อมาจะมีอาการอีกเสบของตา ตาสู้แสงไม่ได้ คันตาและแสบลูกตา (อ้างอิงที่10)

วิตามินบี 3 (Niacin) มีบทบาทในกระบวนการ Glycolysis, Kreb”s cycle และการสังเคราะห์กรดไขมัน หากขาดจะมีผลต่อระบบประสาท โดยมีผลต่อระบบประสาทส่วนปลายไขสันหลัง และสมอง เช่น ปลายประสาทอักเสบ ซึ่งอาจมีอาการคลุ้มคลั่ง ชักและหมดสติก่อนตาย รวมถึงยังมีผลต่อระบบผิวหนัง ทำให้มีลักษณะผิวหนังหยาบเป็นจ้ำสีม่วงหรือเข้ม นอกจากนี้ยังมีผลต่อระบบทางเดินอาหาร เริ่มตั้งแต่มีร่องแตกที่บริเวณริมฝีปาก เยื่อบุลิ้นจะฝ่อ ลีบ มีอาการอักเสบของลำใส้เล็กและมีเลือดออกท้องเดิน (อ้างอิงที่ 10)

วิตามินบีรวม

วิตามินบี 5 (Pantothenic acid) มีความเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาชีวเคมีในร่างกายหลายอย่าง เช่น การเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต การสร้างกลูโคส การสังเคราะห์กรดไขมันและสเตียรอยด์ฮอร์โมน หากขาดจะมีอาการปวดท้อง อาเจียนและเป็นตะคริว กล้ามเนื้ออ่อนตัวลง อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ (อ้างอิงที่10)

วิตามินบี 6 (Pyridoxine) เป็น Co-enzyme ที่จำเป็นต่อการผลิตสารสื่อประสาทหลายชนิด มีความสำคัญต่อปฏิกิริยาทั้งหมดในเมตาบอลิซึมของกรดอะมิโน มีบทบาทในกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดง หากขาดจะพบอาการโลหิตจาง อ่อนเพลีย เป็นแผลที่มุมปาก ริมฝีปากอักเสบ ขาปลายมือปลายเท้า ผิวหนังเป็นจ้ำๆ มีสีม่วง และมีอาการทางประสาท เช่น มีความคิดสับสน ซึมเศร้า และอาจจะเกิดอาการชักได้ (อ้างอิงที่10)

วิตามินบี 12 (Cyanocobalamin) มีบทบาทในเมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรตไขมัน โปรตีน รวมถึงมีบทบาทในการเจริญ การแบ่งตัวของเซลล์ และการสังเคราะห์สารที่หุ้มเส้นประสาท (Myelin) ด้วย หากขาดจะมีผลต่อระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากมีความสำคัญต่อการสร้างเซลล์ผิว โดยเฉพาะเยื่อบุทางเดินอาหาร เช่น ทำให้ลิ้นอักเสบ และมีการเปลี่ยนของเยื่อบุคลอดทางเดินอาหาร และเนื่องจากมีความสำคัญต่อการสร้างสารที่หุ้มเส้นประสาท (Myelin) ดังนั้น ผู้ที่ขาดจะทำให้มีอาการทางประสาท เช่น ขาตามมือและเท้า เมื่อเป็นมากขึ้นจะมีอาการสับสน ประสาทหลอนได้ รวมถึงมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตอย่างปกติของเม็ดเลือดแดง หากร่างกายขาดวิตามินชนิดนี้จะทำให้โลหิตจาง (อ้างอิงที่10)

สรุปคุณสมบัติของวิตามิน บี-คอมเพล็กซ์

1.ช่วยในการทำงานของระบบประสาททั้งหมดในร่างกาย

2.ช่วยรักษาโรคที่เกิดจากการขาดวิตามินบี เช่น เหน็บชา เส้นประสาทอักเสบ ตากระตุก ปากนกกระจอก ผิวหนังหยาบ ผิวหนังอักเสบ ลิ้นอักเสบ รวมถึง โลหิตจางการขาดวิตามินบี

 

โรคที่อาจแนะนำ

  • ใช้ได้กับทุกคนที่ต้องการบำรุงสมอง
  • อัมพาต อัมพฤกษ์
  • โรคทางสมอง
  • ไขมันเกาะตับ

 

>>สนใจ โคลีนบี กิฟฟารีน คลิ๊ก<<

 

 

สามารถนำรหัสสมาชิก 48004219 ไปซื้อได้ที่ศูนย์ธุรกิจกิฟฟารีนทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Fanpage : WeLoveGiffarine
Email : mai-mee-jai@hotmail.com
โทร. 090-0491594
Line : @welove.giffarine

รับสมัครตัวแทนทั่วประเทศ 

เอกสารอ้างอิง

1. The National Academies Press, Dietary Reference intakes for Thiamin , Riboflavin, Niacin, Vitamin B6 , Folate , Vitamin B 12, Pantothenic acid, Biotin and Choline ,12 Choline , pages 390,422 , http://darwin.nap.edu/nap/cgi/skimit.cgl?recid=6015&chap=390-422

2. Verbal and visual memory improve after choline supplementation in long-term total patenterai nutrition : a pllot study. JPEN J Parenter Enteral Nutr. 2001 jan-Feb:25(1):30-5

3.Cognitive improvement in mlld to moderate Alzhelmers dementla after treatment with the acetylcholine precursor choline olfosceraate: a multicenter, double-blind , randomized, placebo-controlled trial. Clin Ther. 2003 jan:25 (178-93

4.Choline-deficiency fatty liver : impaired release of hepatic triglycerides.J Lipid Red . 1968 Jul:9 (4) : 437-46

5.Lecithin increases plasma free choline snd decreases hepatic sleatosis in long-term total paranteral nutrition patients. Gastroenterology. 1992 Apr:102 (4 Pt 1) 1363-70

6. Accumulation of 1,2-sn-dlradyiglycerol wirh increased membraneassonciated protein kinase Cmay be the mechanism for spontaneous hepatocarcinogenesis in choline-deficirent rats. J Biol Chem. 1993 Jan25:268(3):2100-5

7. Inhibition of hepatocarcinogenesis in mice by dietary methyl donors methionine and choline. Nutr Cancer. 1990:14 (3-4) : 175-81

8. Choline sn essential nutrient for humans. FASEB J. 1991 Apr:5(7):2093-8

9. Choline deficiency caused reversible hepatic abnormalities in patiets receiving parenterol

nutrition : proof of a human choline reqirement : a placebo-controlled trial. JPEN J Parenter Enteral Nutr 2001 Sep-Oct : 25(5):260-8

10. เครือข่ายวิชาการผลิตภัณฑ์สุขภาพ เรื่อง วิตามิน วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 และวิตามินบี 12 ,สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 2547