เรื่องน่ารู้ของแครนเบอรี่

เรื่องน่ารู้ของแครนเบอรี่

 

          แครนเบอรี่ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Vaccinium macrocarpon เป็นผลไม้ตระกูลเบอรี่มีลักษณะเป็นไม้เลื้อยที่นิยมปลูกเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ในประเทศสหรัฐอเมริกาผลแครนเบอรี่มีสีแดงสดและมีรสเปรี้ยวอมหวาน สามารถนำมาบริโภคทั้งในรูปผลสด ผล ตากแห้ง และน้ำคั้น

          แครนเบอรี่เป็นผลไม้ที่ประกอบไปด้วยสารพฤกษเคมี (Phytochemicals) ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สารพฤษเคมีที่สำคัญในแครนเบอรี่ได้แก่ โปรแอนโธไซยานิดิน (Proanthocyanidins) คาเทซิน (Catechins) ไตรเทอปีนอยด์ (Triterpenoids) กรดควินิค (Quinic acid) กรดฮิพพิวริค (Hippuric acid) และแทนนิน (Tannin) โดยเฉพาะสารโปรแอนโธไซยานิดิน สามารถป้องกันการยึดเกาะของแบคทีเรียกับเนื้อเยื่อในร่างกาย ด้วยเหตุนี้แครนเบอรี่จึงถูกนำไปใช้ในการป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดิน ปัสสาวะ แผลในกระเพาะอาหาร และการเกิดคราบจุลินทรีย์บนผิวฟัน นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด อีกทั้งมีรายงานว่าการบริโภคแครนเบอรี่สามารถลดการเจริญเติบโตของเซลล์ มะเร็งเต้านมในสัตว์ทดลอง ความเป็นกรดอ่อนๆ ของแครนเบอรี่ยังช่วยป้องกันการเกิดนื่วในไตได้อีกด้วย (อ้างอิงที่ 1)

          นอกจากนี้มีรายงานทางการแพทย์มากมายเกี่ยวกับการบริโภคแครนเบอรี่ว่า สามารถลดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอดและอื่นๆ ได้อีกมากมาย (อ้างอิงที่ 2)

 

สรุปคุณประโยชน์ของแครนเบอรี่กับงานวิจัยทางการแพทย์

 

ลดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

1. สารสกัดจากแครนเบอรี่นั้น ถูกใช้ในการรักษาและป้องกันโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ (UTis) มาเป็นระยะเวลานานแล้วในด้านกลไกในการยับยั้งการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ นั้นยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดแต่มีงานวิจัยสนับสนุนว่า Proanthocyanidins (cPACs) ที่พบมากในแครนเบอรี่นั้นจะไปยับยั้ง flagella ที่ใช้สำหรับเคลื่อนที่ของ Uropathogenic Escherichia coli (UPEC) ทำให้ความสามารถในการเคลื่อนที่และจับรวมกลุ่มกันของ UPEC ลดลง จึงช่วยป้องกันโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ (UTis) ได้ (อ้างอิงที่ 3-5)

2. ผู้หญิงที่รับสารสกัดจากแครนเบอรี่ต่อเนื่องกัน สามารถจะช่วยยับยั้งการยึดเกาะตัวของ E.coli ได้อย่างมีนัยสำคัญ (p value <0.0001) เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ไม่ได้รับสารสกัดจากผลแครนเบอรี่ (อ้างอิงที่ 6)

3. เด็กและสตรีผู้สูงอายุ เมื่อรับประทานน้ำแครนเบอรี่ต่อเนื่องกันสามารถลดการติดเชื้อซ้ำๆ บ่อยๆ ของโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบได้อย่างมีนัยสำคัญ (อ้างอิงที่ 7-8)

4. การรับประทานสารสกัดจากแครนเบอรี่ 500 มิลลิกรัม เพื่อเปรียบเทียบกับยา Trimethoprim ในการป้องกันการเป็นซ้ำของโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบในผู้หญิงวัยสูงอายุเป็น ระยะเวลา 6 เดือน พบว่าสารสกัดจากแครนเบอรี่สามารถป้องกันได้ แต่ได้ผลต่ำกว่ายา Trimethoprim อย่างไรก็ตามผู้สูงอายุให้การยอมรับสารสกัดจากแครนเบอรี่มากกว่ายา Trimethoprim เนื่องจากสารสกัดจากแครนเบอรี่เป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ซึ่งให้ผลข้างเคียงต่ำกว่าในการทำให้เชื้อดื้อยา และการเกิดการติดเชื้อราและ Clostridium difucile ซ้ำซ้อน เมื่อเทียบกับยา Trimethoprim อีกทั้งยังมีราคาถูกกว่าอีกด้วย (อ้างอิงที่ 9)

5. การดื่มน้ำแครนเบอรี่ 500 มิลลิกรัม แล้วดื่มน้ำตาม 1,500 มิลลิกรัม (1.5 ลิตร) ในผู้ชายแอฟริกาใต้ สามารถป้องกันการตกตะกอนของ Calcium oxalate ที่เป็นสาเหตุของนิ่วที่ไตได้อย่างมีไนสำคัญ เมื่อเทียบกับการดื่มน้ำเปล่าอย่างเดียว (อ้างอิงที่ 10)

 

ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

1. การรับประทานแครนเบอรี่ที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระกลุ่ม Flavonoids (แอนโธไซยานิน (Anthocyanin) ฟลาโวนอล (Flavonoids) และโปรแอนโธไซยานิดิน (Proanthocyanidins) โดยที่ Flavonoids จะไปยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของโคเลสเตอรอลตัวร้าย (LDL) ทำให้ป้องกันการเกิด Oxidized LDL ที่เป็นสาเหตุของหลอดเลือดตีบและอุดตันได้ (อ้างอิงที่ 11)

2. สารต้านอนุมูลอิสระจากแครนเบอรี่ สามารถเหนี่ยวนำให้ตัวรับ LDL ที่ตับทำงานมากขึ้น เป็นผลทำให้เพิ่มการขับออกของ LDL จากระบบไหลเวียนของเลือดและเพิ่มการนำโคเลสเตอรอลเข้าสู้เซลล์ตับเพื่อขับออกได้ จึงลดโคเลสเตอรอลได้ (อ้างอิงที่ 12)

 


สุขภาพในช่องปาก

1. น้ำแครนเบอรี่มีส่วนประกอบของ High molecular weight non-dialyzable material (NDM) ซึ่งสามารถยับยั้งการยึดเกาะและการรวมตัวกันของแบคที่เรียในช่องปากหลายชนิด ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคทางช่องปาก การเกิดคราบหินปูนและจุลินทรีย์บนผิวฟันได้ (อ้างอิงที่ 13-15)

2. Proanthocyanidins ที่ได้จากน้ำแครนเบอรี่เข้มข้นนั้นสามารถลดสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ (Inflammatoty mediator) ที่สร้างมาจากเซลล์ gingival fibroblasts เช่น interieukin (IL-6,IL-8) และ PGE(2) ในโรคปริทันต์ (Perlodontitis) เป็นผลให้สามารถลดขบวนการอักเสบได้ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ดี ที่จะพัฒนาเป็นสารช่วยในการรักษาโรคปริทันต์ (Perlodontitis) ต่อไป (อ้างอิงที่ 16)

 

โรคมะเร็ง

1. Proanthocyanidisn ที่พบมากใน Cranberry นั้น พบว่ามีการทดสอบในหลอดทดลองว่ามีผลในการทำลายเซลล์มะเร็งรังไข่ได้ โดยจากการทดลองพบว่าการให้ Proanthocyanidisn เดี่ยวๆ จะเหนี่ยนำให้เซลล์มะเร็งตายลง (Apoptatic change) หรือเมื่อให้ร่วมกับยารักษามะเร็งรังไข่ (Paraplatin) จะเสริมฤทธิ์ยารักษาในการลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้ (อ้างอิงที่ 17)

2. การให้น้ำแครนเบอรี่วันละ 250 ml ร่วมกับการได้รับยาฆ่าเชื้อในกระเพาะอาหาร สามารถเพิ่มอัตราการทำลายเชื้อได้สูงขึ้น ในเพศหญิงผู้ป่วยที่ติดเชื้อ Helicobacter pylori (H.pylori) ทั้งนี้ H.Pylori เป็นเชื้อที่พบในกระเพาะอาหารได้ (อ้างอิงที่ 18)

3. การให้น้ำแครนเบอรี่ 250 ml ในผู้ติดเชื้อ H.Pylori โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองที่ได้รับน้ำแครนเบอรี่ และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับน้ำแครนเบอรี่ ผลปรากฏว่ากลุ่มทดลองที่ได้รับน้ำแครนเบอรี่ สามารถที่จะยับยั้งการติดเชื้อ H.Pylori ได้อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับน้ำแครนเบอรี่ (อ้างอิงที่ 19-20)

4. Proanthocyanidins ที่พบมากใน Cranberry นั้น สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของยีนมะเร็งและนำไปสู่การตายของเซลล์มะเร็ง ปอด (rapid induce of apoptosis) (อ้างอิงที่ 21)

5. Cranberry ประกอบไปด้วยสารพฤกษเคมี (Phytochemicals) โดยที่สารประกอบ Flavonoids (Proanthocyanidins) เป็นตัวที่กล่าวถึง ในการเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็ง (Apoptosis) โดยจากการศึกษาพบว่า Proanthocyanidins เป็นสารที่ยับยั้งกลไกการเติบโตของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากด้วยหลายกลไก และพบว่าเป็นตัวเลือกที่ดีที่จะพัฒนาเป็นยาต้านมะเร็งต่อไป (อ้างอิงที่ 22-24)

 

ข้อควรระวัง

          การรับประทานน้ำแครนเบอรี่มีข้อควรระวังคือ ไม่ควรรับประทานมากเกินไป ในผู้ที่รับประทานยาละลายลิ่มเลือด (Warfarin) เนื่องจากมีงานวิจัย พบว่า การรับประทานน้ำแครนเบอรี่มากกว่าวันละ 1.42 ลิตร มีผลทำให้มีโอกาสเลือดออกภายในได้ (Hemorrhage) อย่างไรก็ตามหากรับประทานแต่น้อยจะไม่มีอันตราย เนื่องจากมีงานวิจัยสนับสนุนว่าการรับประทานน้ำแครนเบอรี่วันละ 240 มิลลิลิตร วันละ 2 ครั้งติดต่อกันเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ ในผู้ที่รับประทานยาละลายลิ่มเลือด (Warfarin) ไม่มีอันตราย จากภาวะเลือดออกภายในแต่อย่างใด (อ้างอิงที่ 25-26)

 

เอกสารอ้างอิง

1.แครนเบอร์รี่ดีกับสุขภาพจริงหรือ, ดร.นัฐพล ตั้งสุภูมิ, สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล

http://www.inmu.mahidol.ac.th/th/

2.Cranberry and its phytochemicals: a review of in vitro anticancer studies. J Nutr. 2007 Jan;137 (1 Suppl):186S-193S

3.Cranberry Materials lnhibit Escherichia coll CFT073 fliC Expression and Motillty. Appl Environ Microbiol. 2011 Aug 5. (Epub ahead of print)

4. A-type cranberry proanthocyanidins and uropathogenic bacterial anti-adhesion activity. Phytochemistry. 2005 Sep;66(18):2281-91

5. Inhibition of adherence of multi-drug resistant E. coli by proanthocyanidin. Urol Res. 2011 Jun 19

6. Inhibitory activity of cranberry extract on the bacterial adhesiveness in the urine of women: an ex-vivo study. Int J Immunopathol Pharmacol. 2010 Apr-Jun;23(2):611-8

7. Overview on cranberry and urinary tract infections in females. J Clin Gastroenterol. 2010 Sep;44 Suppl 1:S61-2

8. Cranberry juice for the prevention of recurrent urinary tract infections: a randomized controlled trial in children. Scand J Urol Nephrol. 2009;43(5):369-72

9. Cranberry or trimethoprim for the prevention of recurrent urinary tract infections? A randomized controlled trial in older women. J Antimicrob Chemother. 2009 Feb;63(2):389-95. Epub 2008 Nov 28

10. Influence of cranberry juice on the urinary risk factors for calcium oxalate kidney stone formation. BJU Int. 2003 Nov;92(7):765-8

 

11. Cranberry flavonoids, atherosclerosis and cardiovascular health. Crit Rev Food Sci Nutr. 2002;42(3 Suppl):301-16

12. Cranberries inhibit LDL oxidation and induce LDL receptor expression in hepatocytes. Life Sci. 2005 Aug 26;77(15):1892-901

13. Inhibitory effect of cranberry juice on the colonization of Streptococci species: An in vitro study. J Indian Soc Periodontol. 2011 Jan;15(1):46-50

14. Effect of a high-molecular-weight component of cranberry on constituents of dental biofilm. J Antimicrob Chemother. 2004 Jul;54(1):86-9. Epub 2004 May 26

15. Cranberry polyphenols: potential benefits for dental caries and periodontal disease. J Can Dent Assoc. 2010;76:a130

16. Cranberry components inhibit interleukin-6, interleukin-8, and prostaglandin E production by lipopolysaccharide-activated gingival fibroblasts. Eur J Oral Sci. 2007 Feb;115(1):64-70

17. Cranberry proanthocyanidins are cytotoxic to human cancer cells and sensitize platinum-resistant ovarian cancer cells to paraplatin. Phytother Res. 2009 Aug;23(8):1066-74

18. Effect of cranberry juice on eradication of Helicobacter pylori in patients treated with antibiotics and a proton pump inhibitor.Mol Nutr Food Res. 2007 Jun;51(6):746-51

19. Efficacy of cranberry juice on Helicobacter pylori infection: a double-blind, randomized placebo-controlled trial. Helicobacter. 2005 Apr;10(2):139-45

20. Growth inhibitory action of cranberry on Helicobacter pylori. J Gastroenterol Hepatol. 2008 Dec;23 Suppl 2:S175-80

 

 

21. Cranberry proanthocyanidins mediate growth arrest of lung cancer cells through modulation of gene expression and rapid induction of apoptosis. Molecules. 2011 Mar 11;16(3):2375-90

22. North American cranberry (Vaccinium macrocarpon) stimulates apoptotic pathways in DU145 human prostate cancer cells in vitro. Nutr Cancer. 2011 Jan;63(1):109-20

23. Proanthocyanidins from the American Cranberry (Vaccinium macrocarpon) inhibit matrix metalloproteinase-2 and matrix metalloproteinase-9 activity in human prostate cancer cells via alterations in multiple cellular signalling pathways. J Cell Biochem. 2010 Oct 15;111(3):742-54

24. North American cranberry (Vaccinium macrocarpon) stimulates apoptotic pathways in DU145 human prostate cancer cells in vitro. Nutr Cancer. 2011 Jan;63(1):109-20

25. Effect of high-dose cranberry juice on the pharmacodynamics of warfarin in patients. Br J Clin Pharmacol. 2010 Jul;70(1):139-42

26. Warfarin-cranberry juice interaction. Ann Pharmacother. 2011 Mar;45(3):e17. Epub 2011 Mar 1