เรื่องน่ารู้ของน้ำมันรำข้าวจมูกข้าว

น้ำมันรำข้าวจมูกข้าว

 

          เมล็ดข้าวที่กะเทาะเปลือกออกแล้วประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ 1. จมูกข้าว (ส่วนปลายแหลมของเมล็ดข้าว) 2. รำข้าว (เยื่อสีน้ำตาที่ห่อหุ้มเมล็ดข้าว) 3. ข้าวสาร (เนื้อเมล็ดข้าวที่มีลักษณะเป็นแป้งสีขาว)

         เนื้อเมล็ดข้าวสีขาวเกือบทั้งหมดเป็นแป้งและน้ำตาล แต่สาระสำคัญอีกจำนวนมากจะมีอยู่ที่จมูก

 

และรำข้าว เมื่อนำมาสกัดด้วยกรรมวิธีแล้ว จะได้ผลิตภัณฑ์น้ำมันจากข้าวได้แก่ น้ำมันรำข้าว (Rice Bran Oil) และน้ำมันจมูกข้าว (Rice Germ Oil)

  • ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์น้ำมันจากข้าว

ทั้งน้ำมันรำข้าว(Rice Bran Oil) และน้ำมันจมูกข้าว (Rice Germ Oil) ส่วนประกอบหลักดังนี้

– กรดไขมันไม่อิ่มตัว ชนิดไลโนเลอิก (Linoleic) และกรดโอเลลิก (Oleic) ในน้ำมันรำข้าวและจมูกรำ

ข้าวจะไม่มีโคเรสเตอรอล ซึ่งโดยปกติในพืชและผลิตภัณฑ์จากพืชทุกชนิดจะไม่มีโคเรสเตอรอล นอกจากนี้ยังพยกรดไขมันไม่อิ่มตัวไลโนเลนิก (Linoleic) อยู่ด้วย

– สารประกอบที่ละลายในไขมัน ได้แก่ สารพวกไฟโตสเตอรอล (Phytosterol) สารต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ เช่น โอรีซานอล (Oryzanol) และสารกลุ่มวิตามินอี ได้แก่ โทโคเฟอรอล (Tocopherol) และโทโคไตรอีนอล (Tocotrienol)

  • กรดไลโนเลอิก

เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (Polyunsaturated fatty acid, PUFA) มีฤทธิ์ในการลดโค

เรสเตอรอลและแอลดีแอล โคเลสเตอรอล (LDL-Cholesterol) cแอลดีแอล-โคเรสเตอรอลเป็นโค

เรสเตอรอลชนิดไม่ดี ที่มีส่วนทำให้เกิดการอุดตันในผนังหลอดเลือดแดง นอกจากนี้กรดไลโนเลอิกยังเป็น

สารตั้งต้นในการสังเคราะห์กรดไขมันสายยาวในกลุ่มโอเมกา 6 ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ที่

สำคัญ ได้แก่ เซลล์สมองและเซลล์ประสาท

  • กรดโอเลอิก หรือ กรดไขมันโอเมก้า 9

เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (Monounsaturated fatty acid, MUFA) ช่วยลดแอลดีแอล-โค

เรสเตอรอล แต่จะเพิ่มเอซดีแอล-โคเรสเตอรอล (HDL-Cholesterol) ซึ่งเป็นโคเรสเตอรอลชนิดที่ดี ที่จะช่วยพาโคเรสเตอรอลในเซลล์และในกระแสเลือดไปเผาผลาญ ป้องกันเส้นเลือดตีบได้ ลดการอุดตันในผนังหลอดเลือก เช่นเดียวกับกรดไขมันไลโนเลอิก

น้ำมันรำข้าวและน้ำมันจมูกข้าว ยังมีงานวิจัยโดยตรงที่เชื่อถือได้ในคน คือ เป็นงานวิจัยแบบมีกลุ่ม

ควบคุม (Randomized Controlled Trial) ในผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง ผลการวิจัยพบว่าสามารถลดไขมันโคเสเตอรอล และแอลดีแอล-โคเรสเตอรอลได้จริง(อ้างอิงที่ 1)

  • กรดไลโนเลอิก

เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (Polyunsaturated fatty acid, PUFA) เป็นสารตั้งต้นในการ

สังเคราะห์กรดไขมันสายยาวในกลุ่มโอเมก้า 3 ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ที่สำคัญได้แก่ เซลล์

สมอง และเซลล์ประสาท

  • โอรีซานอล และสารกลุ่มวิตามิน อี

น้ำมันรำข้าวและน้ำมันจมูกข้าว ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ เช่น สารกลุ่มวิตามินอี (โทโคเฟ

อรอล และโทโคไตรอีนอล) และโอรีซานอล โดยเฉพาะโอรีซานอลจะมีอยู่แต่มนน้ำมันจากข้าวเท่านั้น และมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระแรงกว่าสารกลุ่มวิตามินอี ทั้งโอรีซานอลและโทโคไตรอีนอล มีผลในการลดระดับโคเลสเตอรอลโคยตรง โดยที่โอรีซานอลช่วยลดการดูดซึมโครเลสเตอรอลจากอาหาร ขณะที่โทโคไตรอีนอลขัดขวางการสังเคราะห์โคเลสเตอรอลในร่างกาย นอกจากนี้ทั้งโอรีซานอลและสารกลุ่มวิตามินอี จะลดการเกิดออกซิไดซ์แอลดีแอล (Oxidised LDL) ลดการเกิดหลอดเลือดแข็ง และลดการเกิดโคเลสเตอรอลออกไชด์ เมื่อร่างกายได้รับเลสเตอรอลออกไซด์น้อย จะลดการทำลายเซลล์ภายในหลอดเลือด ลดการสะสมพล๊าค (Plaque) หรือตะกอนในผนังหลอดเลือด

  • ไฟโตสเตียรอล

น้ำมันรำข้าวและน้ำมันจมูกข้าว ยังมีสารประกอบกลุ่มไฟโตสเตียรอล ซึ่งไฟโตสเตียรอลหลายชนิด

จะช่วยลดการดูดซึมโคเลสเตอรอลอีกทางหนึ่ง (อ้างอิงที่ 2,3)

เอกสารอ้างอิง

1.Similar cholesterol-lowering properties of rice bran oil, with varied gamma-oryzanol, in mildly hypercholesterolemic men.

2.นัยนา บุญทวียุวัฒน์ และเรวดี จงสุวัฒน์. น้ำมันรำข้าวทางเลือกเพื่อสุขภาพของคนไทย. กรุงเทพฯ: โอนเดียนสโตร์, 2454. 64 หน้า

3.ไขมันในเลือด Cholesterol, triglyceride, HDL, LDL., สภาเทคนิคการแพทย์: The Medical Technology Councill.

 

น้ำมันรำข้าว โปรโมชั่นพิเศษ คลิ๊ก!!