ประโยชน์ของน้ำมันปลา และ DHA

ประโยชน์ของน้ำมันปลา และ DHA 

          ประโยชน์ของน้ำมันปลา และ DHA น้ำมันปลาประกอบด้วยกรดไขมันจำเป็นประเภทโอเมก้า 3 อยู่ในปริมาณสูง ซึ่งในกลุ่มของโอเมก้า 3 นั้น มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว 2 ชนิดที่สำคัญได้แก่

1. กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก (Docosahexaenoic Acid) หรือ DHA
2. กรดไอโคซาเพนทาอีโนอิก (Eicosapentaenoic Acid) หรือ EPA

 

          แหล่งของ DHA และ EPA ในธรรมชาติพบมากในปลาทะเล และสาหร่าย โดย EPA จะมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดอุดตัน โรคหลอดเลือดหัวใจ ช่วยลดระดับของไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด (อ้างอิงที่ 1) ขณะที่ DHA มีความสำคัญต่อการทำงานของสมอง เพราะเป็นโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์สมอง

          ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีผลงานวิจัยแสดงอย่างชัดเจนว่า สาร DHA ในน้ำมันปลามีส่วนสำคัญในการพัฒนาสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงตั้งแต่แรกเกิด ที่ต้องการ DHA ในปริมาณมากและเพียงพอ เพื่อใช้ในการพัฒนาสมองได้อย่างเต็มที่ในวัยผู้ใหญ่ (อ้างอิงที่ 2) DHA จะผ่านเข้าไปในสมองและเสริมสร้างการเจริญเติบโตของปลายประสาทที่เรียกว่า เดนไดรต์ (dendrite) ซึ่งจะทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณและส่งผ่านข้อมูลระหว่างเซลล์สมองด้วยกัน ทำให้เกิดการเรียนรู้และการจดจำ (อ้างอิงที่ 3) นอกจากนี้ DHA ยังมีความสำคัญต่อระบบประสาทตา และระบบการทำงานของสายตาอีกด้วย (อ้างอิงที่ 2)

 

โรคความจำเสื่อม

 

DHA ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคความจำเสื่อม

 

          ชนิดที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ โรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยในกลุ่มโรคความจำเสื่อม โดยจะมีการเสื่อมของเซลล์สมองในส่วนที่ควบคุมการเรียนรู้และความจำ โรคนี้ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป และอัตราความเสี่ยงของโรคจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น (อ้างอิงที่ 4) โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่ป่วยด้วยโรคที่นำไปสู่ความผิดปกติของหลอดเลือด ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และไขมันสูง ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงสำคัญที่อาจเกิดเซลล์สมองฝ่อเร็วกว่าคนทั่วไป (อ้างอิงที่ 5)

          โรคอัลไซเมอร์ จะส่งผลให้เกิดความจำเสื่อม การทำงานประสานของร่างกายลดลง พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง หลงลืม สับสนและไม่สามารถปฏิบัติงานที่เคยทำปกติได้ การมีเหตุผลจะลดลง ที่สำคัญคือเมื่อเกิดขึ้นแล้วไม่สามารถรักษาให้หายได้ (อ้างอิงที่ 4) ปัจจุบันมีผู้ป่วยทั่วโลกประมาณ 33.9 ล้านคน และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 3 เท่าในอีก 40 ปีข้างหน้า สำหรับในประเทศไทยมีผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปทั้งหมดประมาณ 8.3 ล้านคน คาดว่าจะมีผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ ประมาณ 8.3 แสนคน และคาดการณ์ได้ว่าโรคอัลไซเมอร์ จะเป็นปัญหารุนแรงขึ้นในอนาคต ซึ่งไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อผู้เป็นโรคเท่านั้น ยังส่งผลกระทบต่อครอบครัวด้วย ดังนั้นโรคอัลไซเมอร์จึงเป็นโรคที่น่ากังวลในปัจจุบันและอนาคตเป็นอย่างมาก (อ้างอิงที่ 5)

 

ประโยชน์ของน้ำมันปลา และ DHA

fish oil, ประโยชน์ของน้ำมันปลา และ DHA

 

          หนึ่งในสาเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์คือ การสะสมของ อะไมลอยด์ เบต้า (Amyloid Beta) จนกลายเป็น อะไมลอยด์ พล๊าค (Amyloid Plaques) ซึ่งมีความเป็นพิษต่อเซลล์ประสาท โดยจะทำลายสมดุลไอออน ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ ทำลาย ลิปิด และโปรตีนโดยเฉพาะที่เยื่อหุ้มเซลล์ และทำให้เกิดการกระตุ้นเซลล์ Microglia ซึ่งเมื่อ Microglia ถูกกระตุ้นจะทำให้เกิดการหลั่งสารที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบที่เป็นพิษต่อระบบประสาท ซึ่งเป็นสาเหตุให้เซลล์สมองถูกทำลาย (อ้างอิงที่ 4,6)

          มีงานวิจัยที่สนับสนุนว่า DHA ในน้ำมันปลาช่วยเพิ่มสาร LR11 โปรตีน ซึ่งสามารถช่วยลดการเกิดอะไมลอยด์ เบต้า (Amyloid Beta) ที่จะรวมตัวเป็น อะไมลอยด์ พล๊าค (Amyloid Plaques) หนึ่งในสาเหตุของการเกิด โรคอัลไซเมอร์ (อ้างอิงที่ 7) อีกงานวิจัยที่ทำการทดลองกับผู้สูงอายุ พบว่าการรับประทาน DHA วันละ 900 มก. เป็นเวลา 6 เดือน สามารถเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ และการจดจำได้ (อ้างอิง ที่ 8) นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเพิ่มเติมสนับสนุนว่า DHA สามารถชะลอการเกิดโรคสมองเสื่อมประเภท อัลไซเมอร์ได้ โดยที่ไม่มีผลข้างเคียงต่อสุขภาพ และมีความปลอดภัยสูง (อ้างอิงที่ 9) รวมถึงงานวิจัยระบุว่าการที่ร่างกายได้รับ DHA ที่ไม่เพียงพอจะมีแนวโน้มทำให้มีโอกาสเกิดอนุมูลอิสระ เกิด lipid peroxidation ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอัลไซเมอร์ (อ้างอิงที่ 1)

 

เด็กสมาธิสั้น, ประโยชน์ของน้ำมันปลา และ DHA

DHA กับโรคสมาธิสั้น

          นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยพบว่าเด็กที่ขาด DHA จะมีความเสี่ยงเป็นโรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder, ADHD) ส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรม อารมณ์ การนอนและการเรียนรู้ผิดปกติจากเด็กทั่วไป (อ้างอิงที่ 10) มีงานวิจัยในประเทศออสเตรเลีย โดยศึกษากับเด็ก อายุ 7-12 ปี ที่มีอาการสมาธิสั้นพบว่า การเพิ่มขึ้นของดีเอชเอในเม็ดเลือดแดง ส่งผลให้เด็กมีการอ่านคำที่ดีขึ้น การสะกดคำที่ดีขึ้น ความสนใจดีขึ้น พฤติกรรมที่ผิดปกติ ความกระสับกระส่าย และอาการสมาธิสั้นโดยรวมลดลง (อ้างอิงที่ 11) และมีงานวิจัยในประเทศโอมาน ระบุว่าเด็ก ที่เป็นโรคออทิซึม หรือ ผู้ป่วยออทิสติก จะมีระดับของ DHA ในเม็ดเลือดแดงต่ำเช่นเดียวกัน (อ้างอิงที่ 12)

          ดังนั้นการรับประทานอาหาร หรือ อาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของ กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก หรือ DHA จะมีส่วนสำคัญในการเสริมพัฒนาการในเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น และผู้ป่วยออทิสติก นอกจากนี้ยังลดความเสี่ยงในการเป็น โรคอัลไซเมอร์ และมีส่วนช่วยในการพัฒนาสมอง เพิ่มการเรียนรู้ และการจดจำได้อีกด้วย

 

รับสมัครตัวแทนทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Fanpage : WeLoveGiffarine
Email : mai-mee-jai@hotmail.com
โทร. 090-0491594 /Line : @welove.giffarine

 

 

เอกสารอ้างอิง

1. ประโยชน์ของน้ำมันปลา (Fish Oil) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (ออนไลน์). http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/17557

2. A Diet Enriched with the Omega-3 Fatty Acid Docosahexaenoic Acid Reduces Amyloid Burden in an Aged Alzheimer Mouse Model. The Journal of Neuroscience, March 23,2005;25(12):3032-3040
3. ทางเลือกในการพัฒนาสมองด้วยสาร DHA โดย สิงหะเนติ, สรวงสุดา 2541 สาร DHA ทางเลือกในการพัฒนาสมอง วิทยาศาสตร์และโทคโนโลยี 13(2)พค.-สค. (ออนไลน์).http://www.school.net.th/library/snet4/anatomy/dha.htm
4. Expression of Amyloid-Beta and Interleukin-13 Recombinant Protein in Escherichia coli. National Graduate Research Conference Nokhon Ratchasima Rajabhat University.
5. TCELS พัฒนาโปรแกรมตรวจคัดกรองเสี่ยงอัลไซเมอรไดดวยสมารทโฟน (ออนไลน์). http://www.moph.go.th/ops/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=53497
6. Omega-3 fatty acids and dementia. Prostaglandins Leukot Essent Fatty Acids. Aug-Sep 2009;81(2-3):213-21.
7. Omega-3 Fatty Acid Docosahexaenoic Acid Increases SorLA/LR11, a Sorting Protein with Reduced Expression in Sporadic Alzheimer’s Disease (AD): Relevance to AD Prevention. J Neurosci, December 26,2007;27(52):14299-14307.
8. Beneficial effects of docosahexaenoic acid on cognition in age-related cognitive decline. Alzheimer’s & Dementia: The journal of the Alzheimer’s association, November 2010, Volume 6, Issue 6, Pages 456-464.
9. DHA May Prevent Age-Related Dementia. J Nutr. April 2010; 140(4):869-874.
10. เสริมสุขภาพกับน้ำมันปลา (Fish oil)โดย ยุพา ชาญ วิกรัย นักกำหนดอาหาร (ออนไลน์). http://www.siamkidney.org/index.php?option=com_content&view=article&id=37%3A-fish-oil&catid=17%3A2011-09-06-03-40-02&Itemid=41
11. Eicosapentaenoic and docosahexaenoic acids, cognition, and behavior in children with attention-deficit/hyperactivity disorder: a randomized controlled trial. Nutrition, June 2012; 28(6):670-7.
12. Impact of nutrition on serum levels of docosahexaenoic acid among Omani children with autism. Nutrition, June 2013; S0899-9007(13)00196-2.