เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเบอร์รี่รวม 8 ชนิดผสมวิตามินเอและว่านหางจระเข้
เบอร์รี่ จัดเป็นสุดยอดผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพ นอกจากรสชาติที่มีการผสมผสานระหว่างความเปรี้ยวและความหวานอย่างเป็นเอกลักษณ์ แล้วยังอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการสูง อีกทั้งยังมีงานวิจัยอย่างแพร่หลายและเป็นที่ยอมรับว่า การบริโภคเบอร์รี่ส่งผลดีต่อสุขภาพมากมาย
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเบอร์รี่รวม 8 ชนิดผสมวิตามินเอและว่านหางจระเข้
ปัจจุบันเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่มีส่วนผสมของเบอร์รี่รวมได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเบอร์รี่จัดเป็นสุดยอดผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพ นอกจากรสชาติที่มีการผสมผสานระหว่างความเปรี้ยวและความหวานอย่างเป็นเอกลักษณ์ แล้วยังอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการสูง อีกทั้งยังมีงานวิจัยอย่างแพร่หลายและเป็นที่ยอมรับว่า การบริโภคเบอร์รี่ส่งผลดีต่อสุขภาพมากมาย
เครื่องดื่มเบอร์รี่รวมเป็นนวัตกรรมการผสมผสานกันอย่างลงตัวของเบอร์รี่ 8ชนิดได้แก่ บลูเบอร์รี พรุน เชอร์รี ราสพ์เบอร์รี แครนเบอร์รี สตรอเบอร์รี บิลเบอร์รี และ อาซาอิเบอร์รี
เครื่องดื่มเบอร์รี่รวม 8 ชนิดมีประโยชน์ต่อสุขภาพดังต่อไปนี้
บลูเบอร์รี (Blueberry)ผลสีน้ำเงินเข้มมีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน อุดมไปด้วยสารแอนโธไซยานิน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับผลไม้อื่นๆอีกกว่า 40 ชนิด นอกจากนี้บลูเบอร์รียังมีวิตามิน A ,C และแร่ธาตุที่สำคัญได้แก่ สังกะสี โพแทสเซียม เหล็ก แคลเซียมและแมกนีเซียม อีกทั้งให้ใยอาหารสูงและให้พลังงานต่ำอีกด้วย
คุณประโยชน์ของบลูเบอร์รี่
- บลูเบอร์รี่อุดมไปด้วยวิตามินซีสูงจึงช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ป้องกันการเกิดโรคไข้หวัด
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ในร่างกาย อีกทั้งยังช่วยลดไขมัน LDL และการอักเสบของหลอดเลือดอันเป็นสาเหตุของโรคหัวใจขาดเลือด
- ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง
- ช่วยป้องกันการเสื่อมของร่างกายและชะลอความชรา ฟื้นฟูการสร้างคอลลาเจนที่ผิว ทำให้ผิวแลดูอ่อนเยาว์
- ช่วยการทำงานของระบบประสาทและสมอง ทำให้ความสามารถในการจดจำดีขึ้น ป้องกันโรคอัลไซเมอร์
- แอนโธไซยานินในบลูเบอร์รี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ป้องกันอาการอ่อนล้าจากการใช้สายตาหนัก ช่วยทำให้สายตาทำงานได้ดีขึ้นในที่มืด ลดความดันในลูกตา และลดความเจ็บปวดจากการบวมในตา(อ้างอิงที่ 1,2)
พรุน (Prunus) เป็นผลไม้ที่รู้จักกันในชื่อพลัม น้ำลูกพรุนจะถูกแปรรูปมาจากผลพลัมแห้ง ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่สำคัญต่อร่างกายเป็นจำนวนมาก ในปัจจุบันนิยมรับประทานพรุนเป็นอาหารและยา พรุนมีคุณสมบัติในการเป็นยาระบาย และช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานเป็นปกติ อีกทั้งยังช่วยลดความดันโลหิต ช่วยลดน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ป้องกันโรคกระดูกพรุน นอกจากนี้พรุนยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีงานวิจัยให้เห็นว่ามีส่วนในการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งอีกด้วย(อ้างอิงที่ 3)
เชอร์รี(Cherry) เป็นผลไม้ชนิดหนึ่งมีรสชาติหวานอมเปรี้ยว ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามินซีสูง ซึ่งมีส่วนช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกาย ช่วยลดโอกาสการติดเชื้อหวัด ช่วยเพิ่มการหมุนเวียนของเลือด อีกทั้งยังช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ (อ้างอิงที่ 4)
ราสพ์เบอร์รี่ (Raspberry) เป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมากเพราะมีใยอาหารสูง จึงช่วยในการย่อยอาหารและให้พลังงานต่ำจึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก อีกทั้งยังได้ชื่อว่าเป็นผลไม้ต้านมะเร็ง เนื่องจากอุดมไปด้วยกรดเอลลาจิก (Ellagic acid) ซึ่งเป็นสารประกอบฟีนอลิกที่มีส่วนช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง เช่น มะเร็งผิวหนัง มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งปอด มะเร็งหลอดอาหาร และมะเร็งหลอดอาหาร เป็นต้น (อ้างอิงที่ 5,6)
แครนเบอร์รี (Cranberry) เป็นผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ซึ่งมีลักษณะเป็นไม้เลื้อย ผลแครนเบอร์รีมีสีแดงสด มีรสเปรี้ยวอมหวาน แครนเบอร์รีเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงประกอบไปด้วยพฤกษเคมีที่ออกฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด และยังสามารถป้องกันการยึดเกาะของแบคทีเรียกับเนื้อเยื่อในร่างกาย ด้วยเหตุนี้แครนเบอร์รีจึงถูกนำไปใช้ในการรักษาอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ แผลในกระเพาะอาหาร ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในช่องปาก และยังสามารถยังยั้งการเกิดมะเร็งบางชนิดได้ เช่น มะเร็งเต้านม(อ้างอิงที่ 7)
สตรอเบอร์รี (Strawberry) เป็นพืชล้มลุกที่มีอายุหลายปี เมื่อผลสุกผิวมีสีแดงเป็นมัน มีกลิ่นหอม รสชาติหวานอมเปรี้ยว สตรอเบอร์รีมีสารต้านอนุมูลอิสระเป็นอันดับ 2 รองจากบลูเบอร์รี เมื่อเปรียบเทียบกับผลไม้อื่นๆกว่าอีก 40 ชนิด โดยสารต้านอนุมูลอิสระที่พบในสตรอเบอร์รี่มีหลายชนิดได้แก่ เคอซิติน (Quercetin) แอนโธไซยานิน (Anthocyanin) เคมเพอรอล (Kaempferol) รวมถึงวิตามินซีที่มีปริมาณสูงมาก โดยมีงานวิจัยศึกษาว่า สารต้านอนุมูลอิสระดังกล่าวมีส่วนช่วยยับยั้งการสร้างสารคาร์ซิโนเจน (Carcinogens) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการก่อให้เกิดเซลล์มะเร็ง(อ้างอิงที่ 8)
บิลเบอร์รี (Bilberry) เป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพดวงตากล่าวคือ มีส่วนช่วยในการถนอมดวงตา ทำให้มองเห็นในที่มืดได้ดี ช่วยรักษาอาการตาบอดกลางคืน ช่วยลดความเมื่อยล้าของดวงตา อีกทั้งยังช่วยลดอนุมูลอิสระในจอตา ป้องกันการเสื่อมที่มักเกิดขึ้นกับดวงตาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ (อ้างอิงที่9)
อาซาอิเบอร์รี (Acai Berry) เป็นพืชที่ให้ผลขนาดเล็ก มีสีม่วงซึ่งมีลักษณะคล้ายกับผลของบลูเบอร์รี อาซาอิเบอร์รี ถูกจัดเป็นผลไม้ในกลุ่ม Super foodที่มีคุณประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพ มีคุณค่าทางโภชนาการสูงอุดมไปด้วย วิตามิน เกลือแร่ และสารต้านอนุมูลอิสระโดยเฉพาะ สารแอนโธไซยานิน ที่มีส่วนในการป้องกันการเกิดโรคร้ายแรงต่างๆ ช่วยลดไขมันในเลือด บำรุงสายตา ชะลอความเสื่อมของร่างกาย(อ้างอิงที่ 10)
องุ่น (Grape) องุ่นเป็นแหล่งของสารอาหาร และสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ จากรายงานการวิจัยพบว่าสามารถป้องกันการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง โรคความผิดปกติของระบบกระเพาะปัสสาวะ อีกทั้งสามารถป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้อีกด้วย(อ้างอิงที่ 11)
คุณประโยชน์ของเบอร์รี่ยังมีอีกมากมายและมีการศึกษากันมาอย่างยาวนาน ซึ่งในปัจจุบันดังจะเห็นได้ว่ามีการนำเบอร์รี่มาบริโภคอย่างแพร่หลายในรูปแบบต่างๆ อาทิเช่น บริโภคผลสด นำมาเป็นส่วนผสมในอาหารและเครื่องดื่ม และสารผสมในยารักษาโรคต่างๆ อย่างแพร่หลาย ดังนั้น ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ จึงจัดเป็นผลไม้ทางเลือกใหม่ที่ช่วยดูแลสุขภาพให้แข็งแรง
วิตามินเอ (Vitamin A) เป็นวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายประการที่สำคัญคือ ช่วยในการมองเห็น หากขาดวิตามินเอจะทำให้มองเห็นได้ยากในเวลากลางคืนหรือในที่แสงสว่างน้อย และทำให้เยื่อบุตาแห้ง กระจกตาเป็นแผล ในกรณีที่ร่างกายขาดวิตามิน เอ อย่างรุนแรงอาจทำให้ตาบอดได้(อ้างอิงที่ 12)
ว่านหางจระเข้(Aloe Vera) ในปัจจุบันนิยมนำว่านหางจระเข้มาเป็นส่วนผสมในน้ำผักและผลไม้หลากหลายชนิด และกำลังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคที่รักสุขภาพ เนื่องจากว่านหางจระเข้มีสรรพคุณในการช่วยบำรุงสุขภาพเบาเทาอาการอ่อนเพลีย ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ ทำความสะอาดลำไส้ใหญ่ ช่วยในการดีท็อกซ์ล้างสารพิษในร่างกาย ช่วยในการทำงานของระบบกระเพาะอาหาร และช่วยลดปริมาณของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ จากวารทางการแพทย์อังกฤษตีพิมพ์ในปี 2000 (British Medical Journal) ระบุว่าสารสกัดจากว่านหางจระเข้ สามารถช่วยลดระดับ คอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยควบคุมความดันโลหิต และเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตอีกด้วย (อ้างอิงที่ 13)
ดังนั้นเครื่องดื่มเบอร์รี่เบอร์รี่รวม 8 ชนิด ผสมว่านหางจระเข้และวิตามินเอ จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการดูแลสุขภาพดังนี้
- มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ในร่างกาย และป้องกันเกิดโรคร้ายแรงต่างๆเช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ และลดไขมันไม่ดีในร่างกาย
- ช่วยดูแลสุขภาพดวงตาให้แข็งแรง ป้องกันการเสื่อมที่มักเกิดขึ้นกับดวงตา และช่วยในการมองเห็นให้ดีขึ้น
- ช่วยป้องกันการเสื่อมของร่างกายและชะลอความชรา
เอกสารอ้างอิง
1. Barclay, S. Berry season. Nutrition Clinic for Employee Wellness.
2.Pascual-Teresa Maria S, and Sanchez-Ballesta T. 2008. Anthocyanins: from plant to health. Phytochemistry
Reviews.7(2): 281-299.
3.Jabeen, Q.and Aslam, N. 2011. The pharmacological activities of prunes: The dried plums. Journal of Medicinal Plants Research. 5(9):1508-1511.
4.นิดดา หงษ์วิวัฒน์ และทวีทอง หงษ์วิวัฒน์. 2550. ผลไม้ 111 ชนิด คุณค่า อาหารและการกิน. กรุงเทพฯ:แสงแดด.324 หน้า.
5.Seeram, N.P. 2008. Berry Fruits: Compositional Elements, Biochemical Activities, and the Impact of Their Intake on Human Health, Performance, and Disease. J. Agric Food Chem. 56 (3):627-629.
6.Powers J.2007. Summary of Research and Raspberry Composition. Prepared for and Commissioned by the Washington Red Raspberry Commission.
7. Howell, A.B. 2002. Cranberry proanthocyanidins and the maintenance of urinary tract health. Crit Rev Food Sci Nutr. 42(3):273-8.
8.Seeram, N.P. 2007. Strawberry phytochemicals and human health: a review. ResearchGate. 1-30.
9. Muth, E.R., John, M. and Laurent, O.D.2000. The Effect of Bilberry Nutritional Supplementation on Night Visual Acuity and Contrast Sensitivity. Alternative Medicine Review. 5(2): 164-173.
10.Grange,K., Bennert, J. 2011. The Miracle of SUPERFRUIT.
11.Pezzuto,J.M. 2008. Grapes and Human Health: A Perspective. Journal of Agricultural and Food Chemistry. 56(16): 6777-6784.
12.ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การแสดงข้อความกล่าวอ้างเกี่ยวกับหน้าที่ของสารอาหาร
13. ปาจรีย์ วงษ์จันทรา. 2554. การพฒันาผลติภัณฑ์วุ้นว่านหางจระเข้เสริมผลไม้. ปริญญามหา บัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.