เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเบต้า-กลูแคน กับภูมิคุ้มกัน
ปกติแล้วรอบๆ ตัวเรามีเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมมากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นชนิดที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ หรือชนิดที่เกาะอยู่กับตัวมนุษย์ สัตว์ และสิ่งของหรืออยู่ในอาหารที่เรารับประทานเข้าไป เชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้จะจู่โจมร่างกายของพวกเราตลอดเวลา แต่เหตุการณ์ที่เราไม่เจ็บป่วยก็เพราะร่างกายมีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงคอยช่วยต่อสู้
ระบบภูมิคุ้มกัน ที่ช่วยป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกายเบื้องต้น ได้แก้ ผิวหนัง และเยื่อบุร่างกายต่างๆ จะทำหน้าที่ป้องกันการผ่านของเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย และทำหน้าที่ดักจับสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้าสู่ร่างกาย แต่หากมีเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่สามารถผ่านเข้ามาในร่างกาย หรือที่เรียกว่า แอนติเจน (Antigen) ร่างกายจะมีระบบภูมิคุ้มกันทำงานร่วมกันหลายแบบ โดยเซลล์ที่ทำหน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย สร้างมาจากสเตมเซลล์ (Stemcells) ที่อยู่ในไขกระดูก เช่น
– เซลล์ที่ทำหน้าที่จับกินสิ่งแปลกปลอม ตัวอย่างเช่น แมคโครฟาจ (Macrophage), นิวโตรฟิลล์ (Neutrophll)
– เซลล์เม็ดเลือดขาวขนาดเล็กที่เรียกว่า ลิมโฟไซท์ (Lymphocyte) แบ่งเป็น B-cells ทำหน้าที่ผลิตสารต่อต้านและทำลายโดยตรงที่เรียกว่า แอนติบอดี้ (Antibody) และ T-cells ทำหน้าที่ฆ่าหรือทำลาย เพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอม หรือเชื้อโรค
– เซลล์ที่สร้างสาระสำคัญที่ช่วยในการทำลายเชื้อโรค เช่น อีโอสิโนฟิลล์ (Eosinophll) (อ้างอิงที่ 1)
สำหรับเด็กในวัยเจริญเติบโตแล้ว อาจมีปัญหาเรื่องสุขภาพต่างๆ เช่น เป็นหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ ไอ จาม สารอาหารที่ช่วยในเรื่องการเสริม และปรับสมดุลภูมคุ้มกันของร่างกายคือ เบต้า-กลูแคน ซึ่งปัจจุบันมีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย มีการนำเบต้า-กลูแคน มาใช้เป็นส่วนผสมในนมผลสำหรับเด็กหลายชนิด
เบต้า-กลูแคน (Beta-glucan)
เบต้า-กลูแคน เป็นสารประกอบประเภทน้ำตาลหลายโมเลกุลหรือที่เรียกกันว่า โพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharide) ชนิดหนึ่งพบได้ในผนังเซลล์ของยีสต์ เห็ดรา ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์
กระบวนการในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของเบต้ากลูเคน
– เพิ่มประสิทธิภาพในการทำลายและตรวจจับสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดแมคโครฟาจ
– ควบคุมการหลั่งสาระสำคัญบางชนิด เช่น อินเตอร์ลิวคิน (Interleukins) เพื่อการกระตุ้นการสื่อสารระหว่างเซลล์ต่างๆ ในระบบภูมิคุ้มกันและนำไปสู่การทำลายสิ่งแปลกปลอม
– กระตุ้นการหลั่งสาระสำคัญ Colony Stimulating factors เพื่อเพิ่มปริมาณการสร้างและการเจริญเติบโตของเม็ดเลือดขาวบางชนิด เช่น Neutrophils และ Eosinophils จากไขกระดูก ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด Macrophange ในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้ามาสู่ร่างกาย (อ้างอิงที่ 1)
มีงานวิจัยมากมายสนับสนุนว่า เบต้า-กลูแคน มีคุณสมบัติในเรื่องการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ตื่นตัวอยู่เสมอ ทำให้ร่างกายสามารถต้านเชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอมได้ดีขึ้น โดยเฉพาะการกระตุ้นการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด Macrophage (อ้างอิงที่ 3, 4) นอกจากนี้แล้วยังมีคุณสมบัติด้านอื่นในการช่วยต้านสารก่อมะเร็ง และยังช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลได้อีกด้วย (อ้างอิงที่ 5, 6) อย่างไรก็ตามมีคำแนะนำว่าห้ามรับประทานร่วมกับยาแก้อักเสบ (ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ) ชนิดอินโดเมทาซิน (Indomethacin) (อ้างอิงที่ 7)
นอกจากเบต้า-กลูแคนแล้ว สารอาหารที่เป็นที่รู้จักกันดีว่าสามารถช่วยเสริมภูมิคุ้มกันได้ คือ วิตามินซี โดยมีงานวิจัยที่สนับสนุนว่า ในช่วงที่ร่างกายติดเชื้อ หรือมีความเครียดนั้น จะมีระดับความเข้มข้นของวิตามินซีในเลือดลดลงอย่างรวดเร็ว และการเสริมวิตามินซีสามารถช่วยในเรื่องระบบภูมคุ้มกันของร่างการได้ (อ้างอิงที่ 8)
ที่มา https://www.giffarine.com
เอกสารอ้างอิง
1. ความรู้เบื้องต้นของระบบภูมิคุ้มกัน ศูนย์รวบรวมและวิเคราะห์เชื้อเอชไอวีแห่งประเทศไทย (NationalHIVRepositoryBloinformaticCenter; NHRBC) ในความร่วมมือของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข http://www.nhrbc.org/HIV_vaccine/paper 16.2.html
2. เบต้ากลูแคนสารมหัสจรรย์จากธรรมชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย www.tistr.or.th/mircen/pdf/beta.pdf
3. Dietary modulation of Immune function by beta-glucans. Ysiol Behav. 2008 May 23;94(2):276-84. Epub 2007 Dec 4
4. Purification of soluble beta-glucan with immune-enhancing activity from the cell wall of yeast. Bioscl Blotechnol Biochem. 2001 Apr;65(4):837-41
5. Beta-glucans in higher fungi and their health effects. Nutr Rev. 2009 Nov;67(11):624-31
6. Effects of beta-glucans on the immune system. Medicina (Kaunas). 2007;43(8):597-606
7. Immunotoxicity of soluble beta-glucans induced by indomethacin treatment. FEMS Immunol Med Mlcrobiol. 1998 Jul;21(3):171-9
8. Immune-enhancing role of vitamin C and zinc and effect on clinical conditions. Ann Nutr Metob. 2006;50(2):85-94. Epub 2005 Dec 21.