เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอาหารสุขภาพที่มีคุณประโยชน์สำหรับความงาม

อาหารเสริมความงาม

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอาหารสุขภาพที่มีคุณประโยชน์สำหรับความงาม

 

          ปัจจุบันทั่วโลกมีผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพที่ให้สารอาหารซึ่งสามารถซ่อมแซม และบำรุงโครงสร้างผิวมากมายหลายชนิด การรับประทานร่วมกันยังช่วยเสริมการทำงานซึ่งกันและกัน เพิ่มความนุ่มนวล ชุ่มชื่น และความยืดหยุ่นให้แก่ผิวพรรณ ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ ฟื้นฟูสภาพผิวที่ถูกทำลายช่วยในการไหลเวียนของโลหิตบริเวณผิวหนัง ช่วยทำให้เซลล์ผิวหนังกระชับ แข็งแรง ทำให้ผิวพรรณดูสดใส สวยงาม มีชีวิตชีวา อาหารสุขภาพที่มีคุณประโยชน์สำหรับความงามมีหลายชนิด อาทิเช่น

 

คอลลาเจน
            คอลลาเจน (Collagen) เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่อยู่ใต้ชั้นผิวหนัง มีส่วนสำคัญทำให้ผิวพรรณมีสุขภาพดี ช่วยสร้างความตึงกระชับให้กับผิว (อ้างอิงที่ 1)

เมล็ดองุ่น

สารสกัดจากเมล็ดองุ่น
            สารสกัดจากเมล็ดองุ่น เป็นสารประเภทไบโดฟลานอยด์ (Bioflavonoid) มีสารที่สำคัญหลายตัว เป็นกลุ่มของโปรแอนโธไซยานิดิน (Proanthocyani-din) หรือมีอีกชื่อว่า (PCO: Procyanidolic Oilgomers) มีประสิทธิภาพสูงในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยทำให้ชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ช่วยฟื้นฟูสภาพผิวจากภายใน และป้องกันการทำลายผิวจากอนุมูลอิสระ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยในประเทศญี่ปุ่น พบว่าสารสกัดจากเมล็ดองุ่นช่วยรักษาฝ้าได้จริง (อ้างอิงที่ 2,3)

 

ไลโคพีน
            เป็นสารแคโรทีนอยด์ส่วนใหญ่ที่พบได้ในมะเขือเทศ มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยป้องกันการทำลายผิวจากแสงยูวี และแสงแดดได้ ด้วยกลไกการต้านอนุมูลอิสระ การต้านการอักเสบ และกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (อ้างอิงที่ 4-5 )

 

กรดอัลฟา-ไลโปอิก
            เป็นโคเอนไซม์ที่สำคัญในวงจรการเผาผลาญอาหาร และเป็นสารต่อต่านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ ยังมีงานวิจัยเรื่องช่วยบำรุงเส้นประสาทในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานอีกด้วย (อ้างอิงที่ 6)

 

สารสกัดจากยีสต์
          มี Beta-glucan ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันของผิวต่อเชื้อโรค มลภาวะ และชะลอการเสื่อมของเซลล์ ช่วยฟื้นฟูสภาพผิวที่ถูกทำลาย นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสรางคอลลาเจนของเผิวหนัง (อ้างอิงที่ 7 )

 

ชาเขียว

สารสกัดจากชาเขียว
          มี Polyphenoi ซึ่งเป็นสารตานอนุมูลอิสระ ชะลอการแก่ของทุกเซลล์ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย ช่วยลดความเสี่ยงของผิวต่อการเกิดมะเร็ง และอาจลดความเสี่ยงของมะเร็งอีกหลายชนิด เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะอาหาร (อ้างอิงที่ 8,9)

 

สารสกัดจากบิลเบอร์รี่
          มีสารในกลุ่มแอนโธไซยานิน (Anthocyanins) คล้ายกับสารสกัดจากเมล็ดองุ่นเช่นกัน คือมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ชะลอการเสื่อมของเซลล์ และลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง (อ้างอิงที่ 10)

 

โคเอนไซม์-คิวเทน
          เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีชื่อเสียง และมีงานวิจัยตลอดจนมีการนำมาทำเป็นอาหารเสริมทั่วโลก (อ้างอิงที่ 11)

 

แอล-กลูตาไธโอน
          กลูตาไธโอนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการทำให้ผิวดูกระจางใสขึ้น ด้วยการลดการสร้างเม็ดสีที่เป็นสีดำ ในกระบวนการสร้างเม็ดสีเมลานิน (อ้างอิงที่ 12-13)

 

ถั่วเหลือง

โปรตีนสกัดจากถั่วเหลือง
          ในถั่วเหลืองมีสารจีเนสทีน ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นฮอร์โมนจากพืช มีประโยชน์ในสตรีหมดประจำเดือน ยังมีรายงานวามีประโยชน์ในโรคหัวใจ โรคกระดูกบาง (อ้างอิงที่ 14 )

 

วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามิน ซี สังกะสี และซีลีเนียม
          วิตามินบี 1 ช่วยให้ร่างกายได้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต และมีส่วนช่วยในการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ วิตามินบี 2 ช่วยให้ร่างกายได้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมัน วิตามินซี มีส่วนช่วยในกระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระ รวมถึงมีส่วนช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อ คอลลาเจน และเนื้อเยื่อของเอ็นกระดูกอ่อน ซีลีเนียมมีส่วนช่วยในกระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระ ส่วนสังกะสีช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย (อ้างอิงที่ 15)

 

 

สั่งซื้อออนไลน์ หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Fanpage : WeLoveGiffarine
Email : mai-mee-jai@hotmail.com
โทร. 090-0491594 /Line : @welove.giffarine

รับสมัครตัวแทนทั่วประเทศ 

 

เอกสารอ้างอิง
1. Collagen-like peptide exhibits a remarkable antiwrinkle effect on the skin when topically applied: in vivo study. Int J Tissue React. 2004;26(3-4): 105-11
2. Oral intake of proanthocyanidin-rich extract from grape seed improves chloasma. Phytother Res. 2004 Nov;18(11): 895-9
3. Polyphenolics in grape seeds-biochemistry and functionality. J Med Food. 2003 Winter;6(4):291-9
4. Lycopene-rich products and dietary photoprotection. Photochem Photobiol Sci. 2006 Feb;5(2):238-42. Epub 2005 Aug 12
5. Phytochemicals as protectors against ultraviolet radiation: versatility of effects and mechanisms. Planta Med.2008 Oct;74(13)1548-59, Epub 2008 Aug 11
6. Effects of alpha-lipoic adid on microcirculation in patients with peripheral diabetic neuropathy, Exp Clin Endocrinol Diabetes. 2000;108(3):168-74
7. Effectiveness of beta-glucan collagen for treatment of partial-thickness burns in children. J Pediatr Surg.2001 Jan;36(1):113-8
8. Inhibition of carcinogenesis by tea. Annu Rev Pharmacol Toxicol. 2002;42:25-54

 

9. Effectiveness of green tea on weight reduction in obese Thais: A randomized, controlled trial. Physiol Behav.2008 Feb 27;93(3):486-91. Epub 2007 Oct 18
10. Anti-angiogenic, antioxidant, and anti-carcinogenic properties of a novel anthocyanin-rich berry extract formulal Biochemistry (Mosd).2004 Jan;69(1):75-80, 1 p preceding 75

11. Bioenergetic and antioxidant properties of coenzyme Q10: recent developments. Mol Biotechnol.2007 Sep;37(1):31-7
12. Glutathione as a depigmenting agent: an overview. Int J Cosmet Sci.2005 Jun;27(3):147-53
13. Glutathione depletion increases tyrosinase activity in human melanoma cells. J Invest Dermatol. 1993 Dec;101(6):871-4
14. Soy for the treatment of perimenopausal symptoms–a systematic review. Maturitas. 2004 Jan 20;47(1):1-9
15. ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่องการแสดงข้อความกล่าวอ้างเกี่ยวกับ หน้าที่ของสารอาหาร. คัดจากราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่น 125 ตอนพิเศษ 136 ง ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2551