เรื่องน่ารู้ของเครื่องดื่มมอลต์ และสารอาหารที่เสริมเพื่อประโยชน์ต่อการเรียนรู้

มอล์ต

เรื่องน่ารู้ของ เครื่องดื่มมอลต์ และสารอาหารที่เสริมเพื่อประโยชน์ต่อการเรียนรู้

 

          มอลต์ เป็นเครื่องดื่มทำมาจากข้าวบาร์เลย์ที่ไม่ผ่านการขัดสีอุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ เครื่องดื่มมอลต์ถูกพัฒนาคิดค้นขึ้นมาเมื่อร้อยกว่าปีในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อต้องการให้เป็นแหล่งคุณค่าทางโภชนาการ

          ในมอลต์มีอยู่อย่างครบถ้วนด้วยสารอาหารทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน รวมไปถึงวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย นอกจากนั้นยังย่อยและดูดซึมไปใช้ได้ง่าย

          ในยุโรปมอลต์ได้รับการยอมรับว่าเป็นแหล่งพลังงานธรรมชาติที่ร่างกายสามารถนำ ไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพโดยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย จึงได้นำมาผลิตเครื่องดื่มสำหรับคนที่ชอบออกกำลังกาย ในประเทศญี่ปุ่นมอลต์ยังได้รับความนิยมนำไปผสมในขนมประเภทเบเกอรี่ และสามารถผสมเป็นมอลต์มิลค์เชคกันอย่างแพร่หลาย (อ้างอิงที่ 1)

 

เรื่องน่ารู้ของเครื่องดื่มมอลต์

 

        ปัจจุบันมอลต์ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของทุกคนทั่วทุกมุมโลก ในสหรัฐอเมริกา มอลต์ได้ถูกนำมาสกัดและผสมเป็นเครื่องดื่มดับกระหาย (Ready To Drink) แทนเครื่องดื่มประเภทอัดลม ทำให้ดื่มได้บ่อยและสะดวกยิ่งขึ้น นอกจากจะได้ประโยชน์จากมอลต์แล้ว ยังสามารถเป็นเครื่องดื่มดับกระหายได้

          ปัจจุบันเครืองดื่มเพื่อสุขภาพอย่างมอลต์ได้ถูกพัฒนาจนกลายเป็นเครื่องดื่ม ที่สะดวกทันสมัยมากขึ้น ในรูปแลบบ 3 in 1 และได้มีการพัฒนาสูตรเฉพาะที่มีประโยชน์ในด้านการเรียนรู้ด้วยการเสริมสาร อาหาร น้ำมันปลา โคลีน วิตามินบี 6 และ วิตามินบี12 เพื่อช่วยในด้านการทำงานของระบบประสาทและสมอง อันเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ สติปัญญานอกจากนี้ยังเสริมสารอาหารลูทีน ซึ่งช่วยบำรุงจอตา และช่วยปกป้องสายตาจากแสงสีฟ้าที่มีอยู่ในแสงแดด แสงไฟนีออนแสงจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่สัมผัสและอยู่รอบมนุษย์ตลอดเวลาแสงสี ฟ้าในปริมาณสูงอาจจะเป็นอันตรายต่อจอประสาทตา

 

 

สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อการอ่าน การศึกษา และการเรียนรู้ มีดังนี้

ลูทีน (Lutein) ช่วยปกป้องสายตาจาก Blue Light โดยทำหน้าที่ช่วยกรองและดูดซับแสงสีฟ้าที่เป็นอันตรายต่อเซลล์รับแสง (อ้างอิงที่ 2.3)

น้ำมันปลา (Fish Oil) ให้ DHA ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนาของสมอง (อ้างอิงที่ 4)

โคลีน (Choline) โคลีนเป็นสารตั้งต้นหลักในการสังเคราะห์สารสื่อประสาทที่มีชื่อว่า อะเซททิลโคลีน (Acetylcholine) ซึ่ง Acetylcholine นี้เป็นสารสื่อประสาทสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความจำ การควบคุมกล้ามเนื้อ และหน้าที่อื่นๆอีกหลายอย่าง (อ้างอิงที่ 5) ดังนั้นโคลีนจึงมีผลต่อขบวนการส่งกระแสประสาทที่เกี่ยวข้องกับความจำและการ รับรู้เรียกได้ว่ามีบทบาทในพัฒนาการด้านการเรียนรู้ โดยเฉพาะระบบความจำ (อ้างอิงที่ 6) รวมถึงมีการศึกษาในการใช้เพื่อป้องกันและรักษาโรคความจำเสื่อม (Alzheimer’s disease) ด้วย (อ้างอิงที่ 7)

วิตามินบี 6 (Vitamin B6) หรือ ไพริดอกซีน ไฮโดรคลอไรด์ (pyridoxine Hydrochloride) มีส่วนช่วยสร้างสารที่จำเป็นในการทำงานของระบบประสาท (อ้างอิงที่ 8)

วิตามินบี 12 (Vitamin B12) มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบประสาทและสมอง (อ้างอิงที่ 8)

เอกสารอ้างอิง

1. ข่าวประชาสัมพันธ์ ออนไลน์, นักโภชนาการเผย เทรนด์รักสุขภาพมาแรงหันมานิยมเครื่องดื่มจากคุณค่าธรรมชาติ, วันที่ 26 มิถุนายน 2551 http://www.thaipr.net/nc/readnews.aspx?newsid=CDE50E1424B573D10DE9053513BC39B0

2. Macular pigments lutein and zeaxanthin as blue light filters studied in liposomes. Arch Biochem Biophys. 2001 Jul 15;391(2):160-4

3. Lutein and eye health-current state of discussion. Med MonatsschrPharm. 2008 Aug:31(8):299-308.

4. The role of dietary n-6 and n-3 fatty acids in the developing brain. Dev Neurosci. 2000 Sep-Dec:22Z5-6X:474-80

5. The National Academies Press , Dietary Reference Intakes for Thiamin,Riboflavin, Niacin, Vitamin B6, Folate, Vitamin B 12, Pantothenic acid, Biotin and Choline. 12 Choline, pages 390-422.

6. Verbal and visual memory improve after choline supplementation in long-term total parenteral nutrition : a pilot study. JPEN J Parenter Enteral Nutr. 2001 Jan-Feb:25(1):30-5

7.Cognitive improvement in mile to moderate Alzheimer’s dementia after treatment with the acetylcholine precursor choline alfoscerate: a multicenter, double-bline, randomized, placebo-controlled trail. Clin Ther. 2003 Jan;25(1):178-93

8. ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเรื่องการแสดงข้อความกล่าวอ้างเกี่ยวกับ หน้าที่ของสารอาหาร